50
รายงานประจ�
ำปี
2555
ทั้งนี้ TSI ได้พัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวกับความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นในการ
ปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ด้วย
นอกจากนี้ ยังได้
พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรทดสอบใบอนุญาต
ให้สอดคล้องกับโครงสร้างผู้ประกอบวิชาชีพใหม่ของสำนักงาน ก.ล.ต.
ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นมา ซึ่งตามโครงสร้างใบอนุญาตใหม่ได้เพิ่มประเภทของผู้ทำหน้าที่แนะนำการลงทุน จากเดิม
ที่มี 6 ประเภท ไปเป็น 10 ประเภท ตามขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่สามารถให้คำแนะนำที่สำคัญ เช่น เพิ่มประเภทผู้แนะนำการลงทุนด้านกองทุน
อนุพันธ์ และได้กำหนดกรอบเนื้อหาความรู้ที่ผู้แนะนำการลงทุนต้องมีออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความรู้พื้นฐาน 2) กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและ
การให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม 3) ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การลงทุน และ 4) กฎระเบียบและมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับผลิตภัณฑ์
การลงทุน ดังนั้น TSI จึงมีภารกิจที่ต้องปรับปรุงหลักสูตรทดสอบให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างใบอนุญาตใหม่ และพัฒนาให้มีหลักสูตร
ทดสอบรวม 20 หลักสูตรเพื่อรองรับความต้องการสอบสำหรับทุกกรณี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2555 เป็นต้นมา TSI ได้
เพิ่มบทบาทหน้าที่ในการรับรองสถาบันฝึกอบรมและการอนุมัติหลักสูตร
เพื่อต่ออายุใบอนุญาต (refresher course)
โดยได้รับโอนงานจากสำนักงาน ก.ล.ต. มาอยู่ในความดูแล  ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นบทบาทก้าวสำคัญ
ในการดูแลงานด้าน “Continuing Professional Education (CPE)” เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพบุคลากรแบบต่อเนื่อง เนื่องจากการดูแลมาตรฐาน
หลักสูตรและมาตรฐานการดำเนินงานของสถาบันฝึกอบรมถือเป็นกลไกสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพในระยะยาว
เพิ่มขีดความสามารถตลาดหลักทรัพย์ฯ: ส่งเสริมคุณภาพงานวิจัย ยกระดับตลาดทุนไทย
สร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาตลาดทุน
ในปี 2555 สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน มุ่งเน้นงานวิจัยที่สนับสนุน
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ร่วมตลาดที่เกี่ยวข้อง ตลอด
จนศึกษาถึงแนวทางการลดอุปสรรคสำคัญต่างๆ ในระบบตลาดทุนไทย
ให้สามารถแข่งขันในเวทีตลาดทุนโลกได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการผลิตงาน
ศึกษาที่สร้างความตระหนักถึงสถานการณ์และการเตรียมพร้อมในการ
ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประชากรไทย โดยจัดทำงานวิจัย
ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมตลาดและการพัฒนาตลาดทุนในวงกว้าง อาทิ
1) แนวทางการสร้างความสมดุลของโครงสร้างบริษัทจดทะเบียนในตลาด
หุ้นไทย 2) โอกาสการขยายตลาดในต่างจังหวัดและกลยุทธ์ของบริษัทจดทะเบียนไทย 3) คอขวด (bottleneck) ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโต
ของตลาดทุนไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า 4) การเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณอายุของกลุ่มแรงงานในระบบช่วงอายุ
40- 60 ปี และ 5) ทำอย่างไรให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตอบโจทย์การออมระยะยาวของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มี Capital Market Research Forum เป็นประจำทุกเดือนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัย และ
ผลการศึกษาด้านตลาดทุนแก่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน ซึ่งได้รับเกียรติจากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ
ในตลาดทุนไทย และหน่วยงานระหว่างประเทศ ช่วยสนับสนุนการผลิตและการเผยแพร่งานศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นโอกาสแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดทุนไทย
1...,42,43,44,45,46,47,48,49,50,51 53,54,55,56,57,58,59,60,61,62,...156