55
4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ (Develop new products and service platforms)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนที่จะส่งเสริมการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆ เช่น direct market
access (DMA) และ program trading โดยจะปรับปรุงกฎเกณฑ์ กระบวนการ และระบบการบริหารความเสี่ยง รวมถึงให้บริการระบบ
บริหารจัดการความเร็วของการส่งคำสั่งซื้อขาย (latency management) โดยมีเป้าหมายให้มูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน DMA และ/หรือ
program trading เพิ่มเป็น 10% จาก 7% ของมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขยายธุรกิจด้านตราสารหนี้ โดยให้บริการนายทะเบียนพันธบัตรออมทรัพย์แก่สำนักงานบริหาร
หนี้สาธารณะ และพัฒนาธุรกิจการบริหารหลักประกัน (collateral management)
5.
การยกระดับระบบการทำงานหลักเพื่อส่งเสริมการเติบโตในระยะยาว (Upgrade infrastructure for growth)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งมั่นสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงเทียบเคียงได้กับตลาดหลักทรัพย์
ชั้นนำในภูมิภาค โดยจะดำเนินการต่อเนื่องตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (IT Master Plan) ที่เปลี่ยนระบบซื้อขาย
หลักทรัพย์ใหม่แล้วเสร็จในปี 2555 และแผนแม่บทงานปฏิบัติการ (Operations Master Plan) ที่จัดทำแผนแล้วเสร็จในปี 2555 ทั้งนี้ แผนงาน
สำคัญสำหรับปี 2556 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาระบบซื้อขายและระบบชำระราคาตราสารอนุพันธ์ และระบบชำระราคาตราสารทุน
รวมถึงการยกระดับระบบซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ลงทุนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (2) การร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน
เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงระบบหลังการซื้อขายหลักทรัพย์อาเซียน ต่อจาก ASEAN Trading Link ที่เริ่มให้บริการแล้วเมื่อตุลาคม 2555
และ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (enterprise risk management) และของสำนักหักบัญชี
การพั
ฒนาตลาดทุ
นระยะยาว
ในปี 2556 งานด้านพัฒนาตลาดทุนระยะยาวของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมุ่งพัฒนาขีดความสามารถของผู้ร่วมตลาดทุนในทุกกลุ่ม
อย่างต่อเนื่อง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพัฒนาบริษัทจดทะเบียนเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะ (1) การส่งเสริมให้สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate
Social Responsibility Institute : CSRI) เป็นสถาบันหลักด้าน CSR ของบริษัทจดทะเบียน (2) การเตรียมความพร้อมด้านการเปิดเผย
ข้อมูล ESG (Environmental, Social, and Governance) ให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ใน invited list ของ Dow Jones Sustainability
Index (DJSI) เพื่อให้สามารถพัฒนาเป็นหลักทรัพย์ใน DJSI (3) การให้ความรู้ด้านการประเมิน ASEAN CG Scorecard
แก่บริษัทจดทะเบียนเป้าหมายในกลุ่ม SET100 เพื่อเพิ่มศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนไทยให้เป็นหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนในมุมมอง
ของผู้ลงทุนต่างประเทศ และเตรียมความพร้อมของบริษัทจดทะเบียนไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ (4) การพัฒนาความสามารถ
ด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (investor relations) ให้แก่บริษัทจดทะเบียน
ในด้านการยกระดับความรู้ความสามารถด้านการเงินและการลงทุนให้แก่ประชาชน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพัฒนาความรู้ด้านการ
วางแผนทางการเงินและการลงทุนเพื่อขยายฐานผู้ลงทุนที่มีเงินออมในจังหวัดที่เป็นหัวเมืองในแต่ละภูมิภาค 15,000 คน พัฒนาทักษะการ
ลงทุนเชิงลึกให้แก่ผู้ลงทุน 2,300 คน ตลอดจนพัฒนาความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางการเงินแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
ผ่านโครงการสำคัญ เช่น โครงการ Young Financial Star (YFS) 4,000 คน และโครงการเพิ่มศักยภาพครูผู้สอนหลักสูตรเงินทอง
ของมีค่า 1,000 คน เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุนนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยกระดับมาตรฐานความรู้และเนื้อหาหลักสูตรใบอนุญาตผู้ประกอบ
วิชาชีพ ตลอดจนดูแลมาตรฐานการจัดสอบและจัดอบรมของผู้ให้บริการ นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพัฒนาทักษะความรู้
ให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในตลาดทุน 3,100 คน
สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน จะสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ให้มีความครบถ้วน มีพลวัต สอดคล้องกับสถานการณ์
รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ร่วมตลาดและสถาบันการศึกษาร่วมกันสร้างองค์ความรู้ด้านตลาดทุนที่จะมีผลต่อการพัฒนาตลาดทุนในระยะยาว