45
และลดอุปสรรคในการทำธุรกิจของสมาชิก โดยเทียบเคียงกับวิธีปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะกำกับดูแล
เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ฯโดยรวม และความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน และให้สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกำกับดูแลเรื่องที่เกี่ยวกับ
วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินธุรกิจ (business practice)
• การคุ้
มครองทรั
พย์
สิ
นของผู้
ลงทุ
ในปี 2555 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสมาชิก ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives
Investor Protection Fund: DIPF) จากเดิมที่มีเฉพาะกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ (Securities Investor Protection Fund: SIPF)
ซึ่งจะมีขนาดกองทุนในช่วงเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท โดยสมทบจากตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 50 ล้านบาท และสมาชิกไม่น้อยกว่า
50 ล้านบาท เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์ของข้อบังคับกองทุน โดยให้ความคุ้มครองต่อรายผู้ลงทุนไม่เกินความเสียหาย
หรือไม่เกิน 1 ล้านบาท ในกรณีสมาชิกกองทุนล้มละลาย หรือสมาชิกกองทุนมีข้อพิพาทกับผู้ลงทุนที่เกี่ยวเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า และอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาชี้ขาดให้สมาชิกกองทุนชดใช้เงินหรือทรัพย์สินแก่ผู้ลงทุนแต่สมาชิกกองทุนไม่ปฏิบัติตาม
สำหรับกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ (SIPF) ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ เพื่อให้กองทุนดังกล่าวขยายการรับสมาชิกใหม่
ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และปรับปรุงระเบียบการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ได้แก่ การปรับการรับ
สมาชิกใหม่ให้สอดคล้องกับการรับสมาชิกใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ การกำหนดหน้าที่ให้อนุกรรมการกองทุนในการสนับสนุน
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการสร้างความมั่นใจต่อผู้ลงทุน และการปรับแก้เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอรับการชดเชยจากกองทุนไม่ให้เกิดภาระ
กับผู้ลงทุนจนเกินควร เป็นต้น
งานพั
ฒนาตลาดทุ
น: มุ่
งยกระดั
บคุ
ณภาพตลาดทุ
นระยะยาว
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมุ่งสานต่อความพร้อมของตลาดทุนในด้านต่างๆ โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ตลอดจนสมาคมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ร่วมตลาดทุนในทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งบริษัทจดทะเบียน
บริษัทหลักทรัพย์ บุคลากร และผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุน ตลอดจนผู้ลงทุนและผู้มีเงินออม รวมถึงการปลูกฝังความรู้ด้านการออม
และการบริหารเงินให้แก่เยาวชนไทย ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาตลาดทุนและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต
เพิ่มพลังแก่ธุรกิจ: พัฒนาคุณภาพบริษัทจดทะเบียนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี ด้านนักลงทุนสัมพันธ์ และด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนามาตรฐานแนวปฏิบัติการให้ความรู้
และกระตุ้นให้นำมาตรฐานและแนวปฏิบัติไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมเพื่อยกระดับมาตรฐานบริษัทจดทะเบียนไปสู่มาตรฐาน
ESG (environment, society and governance) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้วยความตระหนักต่อด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
พัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
พัฒนาการสำคัญในปี 2555 นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุง
หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน
ฉบับปี 2549
ให้สอดคล้องกับ ASEAN CG Scorecard ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินและจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศกลุ่ม
อาเซียน เพื่อให้หลักการมีความทันสมัยและสอดคล้องต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงในตลาดทุนและสังคม รวมถึงเป็นการยกระดับมาตรฐาน
และการปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนไทยให้สูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การแข่งขัน
เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริษัทจดทะเบียนไทยสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาค ก้าวสู่ ASEAN Economic Community (AEC) ที่เกิดขึ้นในปี 2558
1...,37,38,39,40,41,42,43,44,45,46 48,49,50,51,52,53,54,55,56,57,...156