40
รายงานประจ�
ำปี
2555
ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในเครือข่าย SWIFT network ให้สามารถรับข่าวการจ่ายสิทธิประโยชน์ในลักษณะ real time ในรูปแบบข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน
ได้เช่นเดียวกับสมาชิกกลุ่มคัสโตเดียน โดยพร้อมให้สมาชิกที่สนใจใช้บริการทดสอบได้ต้นปี 2556
• การแต่
งตั้
งตั
วแทนผู้
รั
บฝากทรั
พย์
สิ
น: global custodian เพื่
อถื
อครองหลั
กทรั
พย์
ต่
างประเทศแทนนั
กลงทุ
สืบเนื่องจากแผนงานการสรรหาและแต่งตั้งตัวแทนผู้รับฝากทรัพย์สิน (global custodian) เพื่อเป็นต้วแทนศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ
ในการเก็บรักษาหลักทรัพย์และถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศแทนผู้ลงทุน โดยครอบคลุมตลาดการเงินหลักทั่วโลก ได้แก่ อเมริกา ยุโรป
ออสเตรเลีย และเอเชีย รวมทั้งสิ้น 27 ประเทศ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงงานส่งมอบและชำระ
ราคา (clearing & settlement) กับตลาดต่างประเทศและสามารถรองรับธุรกรรมของสมาชิกศูนย์รับฝากที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศใน
ปัจจุบัน รวมถึงรองรับธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น หลักทรัพย์ประเภท dual listing หรือการ
เปิดรับฝากหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้ การดำเนินการตามโครงการนี้เป็นการวางโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) โดยมุ่งเน้นเป็นทางเลือกในการดำเนินธุรกิจในลักษณะ
รวมศูนย์เพื่อช่วยให้สมาชิกมีต้นทุนการดำเนินการต่ำและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ ผู้ลงทุนไทยในระยะยาว โดยในปี 2555 ศูนย์รับ
ฝากหลักทรัพย์ฯ ได้จัดจ้างตัวแทนผู้รับฝากทรัพย์สิน (global custodian) ซึ่งพร้อมให้บริการในปี 2556
4) การเพิ่มขีดความสามารถของตลาดหลักทรัพย์ฯ: Strengthening SET’s capabilities
ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งมั่นสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงเทียบเคียงได้กับตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำ
ของโลก และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยมีแผนงานที่สำคัญ 4 ด้าน คือ
1) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
2) การพัฒนากระบวนการด้านการปฏิบัติการ (operation) ให้มีคุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง ความผิดพลาดต่ำ ต้นทุนต่ำ และรองรับธุรกรรม
ข้ามประเทศเพื่อเชื่อมโยงกับตลาดทุนต่างประเทศ
โดยจัดทำแผนแม่บทด้านปฏิบัติการ มุ่งทำให้ทุกกระบวนการเป็น straight through processing
(STP)
3)
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (enterprise risk management) และสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์
และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
และ
4) การปรับปรุงกฎเกณฑ์และกระบวนการด้านกำกับดูแล
ให้เกิดสมดุลระหว่างการกำกับดูแลตลาดกับโอกาส
ทางธุรกิจ
เพิ่มขีดความสามารถระบบไอที ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทันสมัยระดับมาตรฐานสากล
ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริหารงานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตาม
“แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (IT Master Plan)
ตามกรอบเวลาดำเนินงาน 5 ปี (ปี 2553-ปี 2557) ซึ่งเป็นแผนงานสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของระบบซื้อขายและระบบบริการหลังการ
ซื้อขาย โดยจัดหาระบบงานที่ได้ระดับมาตรฐานสากล พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย รองรับการเชื่อมต่อธุรกรรมระหว่าง
ประเทศและการขยายตัวทางธุรกิจที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และยึดถือแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการบริหาร
จัดการและควบคุมดูแลตามมาตรฐานสากล (IT governance) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมตลาดทุนโดยรวม
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมุ่งยกระดับการปฎิบัติงานของพนักงานด้าน IT ให้เป็นตามมาตรฐานสากลในระดับ
Global Best Practice
ทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (ISO 27001) ซึ่งจะช่วยป้องกันระบบข้อมูลสารสนเทศซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ลดความเสี่ยง
ต่อภัยคุกคามต่างๆ ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมาตรฐานด้านการบริหารบริการ IT (ISO 20000) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
และปรับปรุงการให้บริการ ลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้แนวทางการปฏิบัติ
งานตามหลักธรรมาภิบาลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT governance) ตามมาตรฐานสากล ทั้งการพัฒนา application การให้บริการ
1...,32,33,34,35,36,37,38,39,40,41 43,44,45,46,47,48,49,50,51,52,...156