89
หนี้จะลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ อาทิ พันธบัตร เงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน และตราสารหนี้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความ
น่าเชื่อถือในระดับ A ขึ้นไปหรือเทียบเท่า เป็นต้น
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการติดตามสถานะความเสี่ยงจากการลงทุนและรายงานต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ และ
คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้แน่ใจว่ามูลค่าความเสี่ยงอยู่ภายในระดับที่กำหนดไว้
ความเสี่ยงจากการที่สมาชิกสำนักหักบัญชีไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพัน
ด้วยภารกิจของบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด (Thailand Clearing House Company Limited: TCH) ในการเป็น
ศูนย์กลางการชำระราคา ซึ่งหมายถึงการทำหน้าที่เป็นคู่สัญญา (Central Counterparty: CCP) โดยตรงกับสมาชิกสำนักหักบัญชี (สมาชิก)
ทุกรายและรับประกันการชำระราคาและส่งมอบในทุกๆ รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
TCH จะเป็นผู้ซื้อให้กับสมาชิกผู้ขายและเป็นผู้ขายให้กับสมาชิกผู้ซื้อ กลไกนี้เรียกว่ากระบวนการแทนที่เป็นคู่สัญญา (Novation Process)
การทำหน้าที่ดังกล่าวส่งผลให้ TCH มีความเสี่ยงจากการที่สมาชิกอาจไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันจากการซื้อขายหลักทรัพย์หรือ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ ดังนั้น TCH จึงต้องพัฒนามาตรการในการบริหารจัดการ ติดตามและควบคุมความเสี่ยงของสมาชิกเพื่อประกัน
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างพอเพียงและเหมาะสม
ปัจจุบัน TCH มีมาตรการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญเพื่อลดความเสี่ยงที่สมาชิกจะไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพัน (Counterparty Risk)
ได้แก่ การกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติของสมาชิกเบื้องต้น เพื่อกลั่นกรองเฉพาะสมาชิกที่มีความเข้มแข็งทางการเงินที่จะแบกรับความเสี่ยง
ของลูกค้าของสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง โดยผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกต้องมีความเข้มแข็งทางการเงินที่พร้อมจะรองรับความเสี่ยงจากการซื้อขาย
มีนโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยง มีความพร้อมทั้งในระบบการปฏิบัติงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งหลังจากรับ
เข้าเป็นสมาชิก TCH ยังมีการติดตามฐานะและสภาพคล่องทางการเงินของสมาชิก ดูแลพฤติกรรมการซื้อขายและจำกัดธุรกรรมการชำระ
ราคาสะสมในตราสารทุนและตราสารหนี้ให้เหมาะสมกับฐานะทางการเงินของสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกมีค่าความเสี่ยงของตราสารทุนและ
ตราสารหนี้เกินกว่าระดับที่กำหนด TCH จะเรียกให้สมาชิกวางหลักประกัน นอกจากนี้ TCH ยังได้ทำการประเมินความเสียหายสูงสุดจาก
การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายใต้เหตุการณ์วิกฤต (stress test) และการกำหนดให้สมาชิกวางหลัก
ประกันที่สอดคล้องกับความเสี่ยงในธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารทางการเงินแต่ละประเภท
รวมทั้ง TCH ได้จัดตั้งกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) สำหรับแต่ละตลาด เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการบรรเทาความเสีย
หายของระบบชำระหนี้ของสำนักหักบัญชี โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 เงินกองทุนสำหรับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามี
มูลค่าประมาณ 1,084 ล้านบาท และ 507 ล้านบาท ตามลำดับ อีกทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สำรองเงินกองทุน (Reserve Fund) ไว้จำนวน
2,000 ล้านบาท สำหรับธุรกรรมหลักทรัพย์ และจำนวน 300 ล้านบาท สำหรับธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
ในระบบชำระหนี้ของสำนักหักบัญชีในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย
นอกจากนี้ เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง (liquidity risk) TCH ได้จัดเตรียมวงเงินเสริมสภาพคล่องกับธนาคาร
พาณิชย์ที่ทำหน้าที่เป็น Settlement Bank โดยมีการทบทวนความเพียงพออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในปี 2555 TCH ได้ขอเพิ่มวงเงินเสริมสภาพ
คล่องสำหรับการทำธุรกรรมทางด้านหลักทรัพย์จาก Settlement Bank ทั้ง 4 แห่ง รวมเป็นจำนวน 3,000 ล้านบาท
เพื่อรองรับธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นมาก โดยวงเงินเสริมสภาพคล่องสำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้ายังคงมีจำนวน 400 ล้านบาท
นอกเหนือจากการทบทวนและพัฒนามาตรการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้ว่าจ้าง บริษัท
Oliver Wyman ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านงานปฏิบัติการชั้นนำ เพื่อวางแผนในการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้านการซื้อขายหลัก
ทรัพย์ รวมทั้งงานชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ งานรับฝากหลักทรัพย์ และงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ รวมทั้งงานบริหารความเสี่ยง
ซึ่งถือเป็นงานหลักที่สำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผลการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารความเสี่ยงของสำนักหักบัญชี พบว่า
TCH ดำเนินการบริหารความเสี่ยงโดยรวมได้ตามมาตรฐานสากล ทั้งในเรื่องของการกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงก่อนการผิดนัด
และหลังการผิดนัด
1...,81,82,83,84,85,86,87,88,89,90 92,93,94,95,96,97,98,99,100,101,...156