177
งบรายได้และค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จของเงินกองทุนคุ้มครอง
ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์สำ
�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.
2557 และ พ.ศ. 2556 ได้แสดงรายละเอียดไว้ในหมายเหตุ
ประกอบงบการเงินข้อ 25 “ผลการดำ
�เนินงานของเงินกองทุน”
เงินกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในปี พ.ศ. 2555 คณะกรรมการบริษัท ตลาดสัญญาซื้อ
ขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำ
�กัด (มหาชน) (กิจการย่อย)
ได้อนุมัติให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า (Derivatives Investor Protection Fund: DIPF)
(“กองทุน”) โดยมีเงินทุนประเดิมจากบริษัทจำ
�นวน 50 ล้านบาท
กองทุนได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในสัญญาซื้อ
ขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
กำ
�หนด ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่จะได้รับความคุ้มครองต้องเป็นลูกค้า
ของสมาชิกกองทุนโดยเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
นิติบุคคลที่จัดตั้งในประเทศไทย ซึ่งมิใช่ผู้ลงทุนสถาบันตาม
พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ทั้งนี้
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็น
สมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเข้าเป็นสมาชิก
กองทุนจำ
�นวน 42 ราย (พ.ศ. 2556: 41 ราย)
ทรัพย์สินของกองทุนประกอบด้วย เงินทุนประเดิมของ
บริษัท เงินค่าเข้าเป็นสมาชิกและเงินสมทบที่เรียกเก็บจาก
สมาชิกกองทุน ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่ได้จากเงินและ
ทรัพย์สินของกองทุน ภายหลังหักค่าใช้จ่ายเพื่อการดำ
�เนิน
งานของกองทุน ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มจัดตั้งกองทุนจะมีทรัพย์สิน
จำ
�นวนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินทุนประเดิม
จากบริษัทจำ
�นวน 50 ล้านบาท และเงินค่าแรกเข้าและเงิน
สมทบจากสมาชิกกองทุนในส่วนที่เหลือจนกว่าจะครบ 100
ล้านบาท โดยบริษัทอาจเรียกเก็บเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นจำ
�เป็น
และสมควร
กองทุนจะคุ้มครองทรัพย์สินของผู้ลงทุนที่อยู่ในความดูแล
ของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกกองทุน หากผู้ลงทุนไม่ได้
รับคืนทรัพย์สินดังกล่าว กองทุนจะชดเชยความเสียหายแก่ผู้
ลงทุนตามที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท
ต่อสมาชิกกองทุน 1 แห่ง ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
1) ในกรณีที่บริษัทที่เป็นสมาชิกกองทุนถูกศาลสั่งพิทักษ์
ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายล้มละลาย หรือ
2) ในกรณีที่บริษัทที่เป็นสมาชิกกองทุนกับผู้ลงทุนมีข้อ
พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด
หลักทรัพย์ฯ และอนุญาโตตุลาการได้มีคำ
�ชี้ขาดให้บริษัทที่เป็น
สมาชิกกองทุนรายนั้นคืนทรัพย์สินแก่ผู้ลงทุน แต่บริษัทที่เป็น
สมาชิกกองทุนรายดังกล่าวไม่ปฏิบัติตาม
ทั้งนี้ การคุ้มครองจะไม่รวมถึงผลขาดทุนที่เกิดจากการซื้อ
ขายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจลงทุนด้วย
ตนเองหรือไม่ก็ตาม