148
รายงานประจ�
ำปี
2555
31.1.2 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน
ในปี พ.ศ. 2552 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด “แฟมมิลี่ โนฮาว” โดย
การเข้าร่วมทุนกับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งจะถือหุ้นในแฟมมิลี่ โนฮาว ในอัตราร้อยละ 49.99 ของทุนจดทะเบียน โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือหุ้นบุริมสิทธิ
จำนวน 2,500,000 หุ้น และบริษัทดังกล่าวถือหุ้นสามัญจำนวน 2,500,000 หุ้น ในช่วงระยะเวลาบัญชีระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หุ้นบุริมสิทธิจะมีสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญจากผลประกอบการของแฟมมิลี่ โนฮาว โดยได้รับในอัตราร้อยละ 10
ของกำไรสุทธิของแฟมมิลี่ โนฮาวก่อนหักทุนสำรองตามกฎหมาย และได้รับเงินปันผลจากกำไรสุทธิส่วนที่เหลือตามสัดส่วนการถือหุ้นในแฟมมิลี่
โนฮาว และเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หุ้นทุกหุ้นจะมีสิทธิ หน้าที่ และสถานะเท่าเทียมกันทุกประการ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้บันทึกรายได้เงินปันผลค้างรับในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิของ
แฟมมิลี่ โนฮาว สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นจำนวนเงิน 5.87 ล้านบาท (พ.ศ. 2554 : 4.44 ล้านบาท)
31.2 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
31.2.1 ตลาดหลักทรัพย์ฯ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีภาระเกี่ยวกับหนังสือค้ำประกันกับธนาคารเป็นจำนวนเงินรวม
4.40 ล้านบาท (พ.ศ. 2554 : 4.40 ล้านบาท) เพื่อค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าในการดำเนินธุรกิจตามปกติ ซึ่งผู้บริหารคาดว่าจะไม่มีหนี้สินที่มีภาระสำคัญ
เกิดขึ้น
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ออกหนังสือรับทราบภาระหนี้สิน (Letter of Comfort) กับธนาคารเกี่ยวกับวงเงินเบิกเกินบัญชีที่ให้
กับบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด “สำนักหักบัญชี” ซึ่งเป็นกิจการย่อยแห่งหนึ่ง ในวงเงิน 2,400 ล้านบาท (พ.ศ. 2554 : 2,400 ล้านบาท)
เพื่อรองรับงานชำระราคาหลักทรัพย์ตราสารทุนและตราสารอนุพันธ์ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ รับรองว่าจะดำรงสัดส่วนการถือหุ้นในสำนักหักบัญชีใน
อัตราร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน จนกระทั่งวันสิ้นสุดของระยะเวลาการให้สินเชื่อ นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังต้องให้การสนับสนุนการ
ดำเนินงานของสำนักหักบัญชีเพื่อให้สำนักหักบัญชีมีความสามารถในการชำระหนี้แก่ธนาคาร ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สำนักหักบัญชี
ยังไม่มีการเบิกใช้วงเงินดังกล่าว
31.2.2 กิจการย่อย
ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 กิจการย่อยแห่งหนึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับบุคคลและนิติบุคคลอื่นในคดีละเมิดเรียกทรัพย์สิน
คืนและค่าเสียหายที่เกี่ยวเนื่องกับการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญ โดยถูกเรียกร้องให้ร่วมกันชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินรวม 223 ล้านบาท โดย
ในปี พ.ศ. 2554 ศาลแพ่งได้พิจารณายกฟ้องจำเลยที่เป็นกิจการย่อย ทั้งนี้ ผลของคดียังไม่สิ้นสุด เนื่องจากฝ่ายโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้บริหารของกิจการย่อยดังกล่าวได้ประเมินสถานะในปัจจุบันของคดีและคาดว่าจะไม่เกิดผล
เสียหายอย่างเป็นสาระสำคัญจากเรื่องดังกล่าว ดังนั้น กิจการย่อยดังกล่าวจึงไม่ได้บันทึกค่าเสียหายดังกล่าวในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุด
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
กลุ่มกิจการยังมีคดีความตามกฎหมายที่คงค้างอยู่กับบุคคลภายนอกจากการดำเนินงานตามปกติของกลุ่มกิจการ ซึ่งตาม
ความเห็นของผู้บริหารประกอบกับข้อเท็จจริงในขณะนี้ คาดว่าผลของคดีความดังกล่าวจะไม่เกิดผลเสียหายอย่างเป็นสาระสำคัญ
32. ขาดทุ
นจากการตั
ดจ�
ำหน่
ายสิ
นทรั
พย์
ที่
เสี
ยหายจากเหตุ
เพลิ
งไหม้
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ อาคารสำนักงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์
การชุมนุมทางการเมือง และทำให้อาคารสำนักงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ และอุปกรณ์สำนักงานบางส่วนได้รับความเสียหาย
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มกิจการได้รับรู้มูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินตามมูลค่าทางบัญชี จำนวน 22.9 ล้านบาท และ
22.1 ล้านบาท ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามลำดับ
กลุ่มกิจการได้ทำประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินแบบประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด โดยมีความคุ้มครองทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ทั้งสิ่งปลูกสร้าง
และอุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัย (หมายเหตุ 31.1) โดยกลุ่มกิจการ
ยังไม่ได้รับรู้ค่าชดเชยดังกล่าวในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
1...,140,141,142,143,144,145,146,147,148,149 151,152,153,154,155,156