128
รายงานประจ�
ำปี
2555
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หน่วยลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปเป็นการลงทุนในกองทุนเปิดประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่เน้นการลงทุน
ในหุ้นทุนของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 19 กองทุน (พ.ศ. 2554 : 21 กองทุน) และกองทุนรวมตราสารหนี้จำนวน 1 กองทุน (พ.ศ. 2554 : 1 กองทุน)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนในกองทุนรวมปิดประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน
จำนวน 9 กองทุน (พ.ศ. 2554 : 9 กองทุน) กองทุนดังกล่าวจัดตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ รับโอนอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือสิทธิ
การเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้หน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้จดทะเบียน
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและสามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นการลงทุนในกองทุนเปิดจำนวน 9 กองทุน (พ.ศ. 2554
: 7 กองทุน) ประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Feeder Fund) ที่เน้นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดไถ่ถอนภายในระยะเวลาเกินกว่า
1 ปี ถึง 9 ปี มีอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วระหว่างร้อยละ 3.00 - 5.19 ต่อปี (พ.ศ. 2554 : ระหว่างร้อยละ 3.00 - 5.00 ต่อปี) และมีอัตราผลตอบแทน
ตามราคาตลาดระหว่างร้อยละ 3.02 - 4.93 ต่อปี (พ.ศ. 2554 : ระหว่างร้อยละ 3.09 - 5.08 ต่อปี)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเฉพาะกิจเป็นการร่วมลงทุนในกองทุนเปิดจำนวน 3 กองทุนร่วมทุน (พ.ศ. 2554
: 3 กองทุนร่วมทุน) โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวได้บันทึกมูลค่าการลงทุนในราคาทุน ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เนื่องจากมีข้อผูกพัน
ที่จะไม่ขายคืนภายใน 5 ปีแรก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) ปี พ.ศ. 2548 ลงทุนในกองทุนรวมที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิทางภาคใต้
โดยกองทุนจะเน้นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการท่องเที่ยว และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิใน 6 จังหวัดภาคใต้
โดยจะเปิดให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบอัตโนมัติตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป (ปี พ.ศ. 2554) หรือเว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการลงทุน หากจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนระยะเวลาที่กำหนด ส่วนที่มีกำหนดรับซื้อคืนในปี พ.ศ. 2554 แสดงไว้ใน
เงินลงทุนชั่วคราว (หมายเหตุ 8)
2) ปี พ.ศ. 2550 ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุนสถาบันที่ต้องการลงทุนส่วนใหญ่
ในธุรกิจหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน หรือพลังงานทดแทน หรือธุรกิจหรือกิจการที่มีส่วนในการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ
ด้านพลังงาน โดยกองทุนรวมเฉพาะกิจนี้เป็นกองทุนประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยจะเปิดให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบ
อัตโนมัติตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป (ปี พ.ศ. 2556) เมื่อกองทุนขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุน และมิได้นำเงินมาลงทุนต่อ
3) ปี พ.ศ. 2551 ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุนสถาบันที่ต้องการลงทุนในธุรกิจ
และอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโต และเป็นการลงทุนระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเปิดให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบ
อัตโนมัติตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป (ปี พ.ศ. 2555)
การลงทุนในกองทุนรวมเฉพาะกิจในข้อ 2) และข้อ 3) มีเงื่อนไขผูกพันการจองซื้อหากกองทุนมีการเพิ่มหน่วยลงทุนจนกระทั่งสิ้นสุดสัญญา
(หมายเหตุ 30)
รายการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนระยะยาวสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554 มีดังนี้
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิ
นรวม
เฉพาะตลาดหลั
กทรั
พย์
พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
ยอดคงเหลือต้นปี
5,329,372 8,295,915 5,308,512 8,199,677
ลงทุนเพิ่ม
1,769,618 1,975,736 1,728,418 1,975,716
จำหน่ายเงินลงทุน
(1,600,360) (2,883,149) (1,600,360) (1,588,673)
จัดประเภทเป็นเงินลงทุนระยะชั่วคราว
(310,017) (1,022,475)
(297,007)
(947,207)
ปรับปรุง
2,879,147 (677,274)
2,879,736 (1,972,131)
กำไร(ขาดทุน)ที่ยังไม่เกิดขึ้นจากหลักทรัพย์เผื่อขาย
247,720 (359,381)
247,086 (358,870)
หัก ค่าเผื่อการด้อยค่า
(955)
-
(955)
-
ยอดคงเหลือปลายปี
8,314,525 5,329,372 8,265,430 5,308,512
1...,120,121,122,123,124,125,126,127,128,129 131,132,133,134,135,136,137,138,139,140,...156