Group 16158
Group 16157

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ศูนย์กลางการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์

ศูนย์กลางการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์

บริการต่างๆ ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ประเภทสมาชิก
สมาชิกสามัญ (General Clearing Member) ได้แก่ สมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากสำนัก
หักบัญชีให้ใช้บริการตามที่สำนักหักบัญชีจัดให้มีขึ้น เพื่อบัญชีของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของลูกค้าของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของสมาชิกรายอื่นที่สมาชิกทำหน้าที่ชำระหนี้แทน
สมาชิกสามัญ (General Clearing Member) ได้แก่ สมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากสำนัก
หักบัญชีให้ใช้บริการตามที่สำนักหักบัญชีจัดให้มีขึ้น เพื่อบัญชีของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของลูกค้าของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของสมาชิกรายอื่นที่สมาชิกทำหน้าที่ชำระหนี้แทน
คุณสมบัติของสมาชิก
Group 7868ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ประกาศกำหนด
Group 7868เป็นสมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อมูลเพิ่มเติม
Group 7868มีเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง (Risk Management Officer) ที่ไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน หรือเจ้าหน้าที่รับอนุญาต
Group 7868มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
Group 7868มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
Group 7868ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ และ/หรืออัตรา ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ เสี่ยงตามที่ ก.ล.ต. กำหนด ข้อมูลเพิ่มเติม
Group 7868มีระบบตรวจสอบและควบคุมฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิก และลูกค้าของสมาชิก
Group 7868มีระบบตรวจสอบและควบคุมการวาง หลักประกัน (Margin)
สิทธิของสมาชิก
สมาชิกสามัญของสำนักหักบัญชีมีสิทธิที่จะทำการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในระบบของสำนักหักบัญชี เพื่อบัญชีของสมาชิก หรือเพื่อบัญชีของลูกค้าของสมาชิก หรือเพื่อบัญชีของสมาชิกรายอื่นที่สมาชิกทำหน้าที่ชำระหนี้แทน รวมทั้งรับบริการอื่นใดที่สำนักหักบัญชีจัดให้มีขึ้น โดยสำนักหักบัญชีอาจจำกัดสิทธิของสมาชิกเฉพาะสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า ที่มีสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่สำนักหักบัญชีพิจารณาอนุญาตเป็นรายกรณี สิทธิโอนไม่ได้ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากสำนักหักบัญชี
ค่าธรรมเนียมสมาชิก
รายการค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
  • สมาชิกสามัญใช้บริการชำระหนี้ทุกสินค้าอ้างอิง : 3,000,000 บาท
  • สมาชิกสามัญใช้บริการชำระหนี้ตามประเภทสินค้าอ้างอิง : 1,000,000 บาท ต่อสินค้าอ้างอิง 
ค่าธรรมเนียมรายปี300,000 บาท
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของสำนักหักบัญชีดูรายละเอียด คลิกที่นี่
เอกสารสมัครเป็นสมาชิก
ใบสมัครสมาชิก

withicon

withicon

img_tch_02

ขั้นตอนการรับสมัครสมาชิก

Group 15404ผู้สมัครยื่นคำขอเป็นสมาชิกพร้อมเอกสารและหลักฐานการสมัคร
Group 15404 (1)สำนักหักบัญชีพิจารณาแบบคำขอและประเมินคุณสมบัติของผู้สมัคร
Group 15404 (2)ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมและทดสอบการใช้ระบบงานของสำนักหักบัญชี
Group 15404 (3)สำนักหักบัญชีจะแจ้งผลการพิจารณาคุณสมบัติให้ผู้สมัครทราบ

Group 15404 (4)สำนักหักบัญชีแจ้งกำหนดวันเริ่มสมาชิกภาพให้ผู้สมัครทราบ (เมื่อผู้สมัครปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์และมีคุณสมบัติครบถ้วน)

Group 15404 (5) ผู้สมัครที่ได้รับอนุมัติเป็นสมาชิก นำส่งเอกสารและหลักฐานตามหลักเกณฑ์ที่สำนักหักบัญชีกำหนด และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและวางทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง (Securities Depository) และทรัพย์สินสมทบกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) ตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด

Group 15404 (6) เริ่มประกอบธุรกิจการเป็นสมาชิกสำนักหักบัญชี

รายชื่อสมาชิกสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

รายชื่อสมาชิก

กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการชำระหนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
info_ derivatives

สำนักหักบัญชี เป็นศูนย์กลางการชำระราคา โดยสำนักหักบัญชีจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญา (Central Counterparty: CCP) ทันทีที่คำสั่งซื้อขายได้รับการจับคู่ในระบบซื้อขาย และรับประกันการชำระราคาในทุกๆ รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX)

การเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสำนักหักบัญชีกับสมาชิกจะสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกปิดฐานะสัญญา หรือเมื่อสัญญาหมดอายุแล้ว กำหนดให้ส่งมอบหรือชำระราคาเป็นเงินสด (Final Cash Settlement) หรือเมื่อสำนักหักบัญชีจับคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กำหนดให้ส่งมอบสินค้า (Physical Delivery)

การเปิดบัญชี

สำนักหักบัญชีกำหนดให้สมาชิกแยกบัญชีจัดเก็บฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และบัญชีหลักประกัน ของสมาชิกออกจากบัญชีของลูกค้าของสมาชิก และไม่หักกลบฐานะสัญญาและ หลักประกันข้ามลูกค้าต่างรายกัน ตามประเภทและลักษณะของผู้ลงทุนดังนี้

Group 16341กรณีเป็นบัญชีของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (End Beneficial Owner) ให้เปิดบัญชีจัดเก็บฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบสุทธิ (Net position) และคำนวณหลักประกันแบบสุทธิ (Net Margin)
Group 16341กรณีเป็นบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (Omnibus A/C) หรือไม่ใช่ผู้รับ ผลประโยชน์ที่แท้จริง (End Beneficial owner) ให้เปิดบัญชีจัดเก็บฐานะ สัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าแบบรวม (Gross Position) และคำนวณ หลักประกันแบบรวม (Gross Margin)

นอกจากนี้ หากไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่าลูกค้าเจ้าของบัญชีเป็นผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ให้สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าของบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (Omnibus Account)

ทรัพย์สินสำหรับการชำระราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

สำนักหักบัญชีจะรับและบันทึกรายการซื้อขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จากระบบซื้อขายทันทีที่รายการซื้อขายได้รับการจับคู่ และจะประมวลผลภาระผูกพันของสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท ทั้งที่ชำระราคาเป็นเงินสด และที่มีการส่งมอบสินค้าอ้างอิง โดยภาระผูกพันที่เกิดขึ้นสมาชิกจะต้องชำระราคาด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้

ประเภทของหลักประกันหรือภาระผูกพันประเภทของทรัพย์สิน
มูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ หรือหลักประกันส่วนเพิ่มเงินสด หรือหลักประกันประเภทอื่นตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด เช่น หลักทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
Mark-to-Market หรือกำไรขาดทุนจากการซื้อขายและถือครองฐานะสัญญาเงินสดเท่านั้น
มูลค่าการซื้อขายออปชั่น (Premium Amount)เงินสดเท่านั้น
มูลค่าการใช้สิทธิ (Exercise / Assign Amount)เงินสดเท่านั้น

การคำนวณฐานะสัญญาเพื่อเรียกเก็บหลักประกัน

สำนักหักบัญชีจะประมวลผลฐานะสัญญา เพื่อคำนวณมูลค่าหลักประกันและภาระผูกพันเป็นประจำทุกสิ้นวันตามแนวทางที่กำหนด คือ ณ สิ้นวัน สำนักหักบัญชีจะนำฐานะสัญญาคงค้าง ณ สิ้นวันทำการก่อนหน้า มาประมวลผลรวมกับรายการซื้อขายในช่วงกลางคืนของวันก่อนหน้า (Night session ของวันที่ T - 1) รวมกับรายการซื้อขาย ระหว่างวันของวันทำการปัจจุบัน (Day session ได้แก่ ช่วง Morning และ Afternoon session ของวันที่ T)

สำนักหักบัญชีจะนำส่งรายงานมูลค่าหลักประกันและภาระผูกพันให้สมาชิกทราบ โดยสมาชิกจะต้องชำระราคาตามมูลค่าที่ได้รับแจ้งในวันทำการถัดไป (Settlement T+1)

info_tch02

นอกจากนี้ สำนักหักบัญชีอาจเรียกหลักประกันระหว่างวันจากสมาชิก ในกรณีที่สภาวะตลาดหรือราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความผันผวน ปัจจุบันสำนักหักบัญชีจะคำนวณมูลค่าหลักประกันระหว่างวันเป็นประจำทุกชั่วโมง โดยสมาชิกจะต้องวางหลักประกันระหว่างวัน ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับแจ้งจากสำนักหักบัญชี ทั้งนี้ เวลาในการเรียกเก็บหลักประกันระหว่างวันเป็นไปตามกำหนดเวลาปฏิบัติงานของสำนักหักบัญชี

รูปแบบการชำระราคา

การชำระราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มี 2 รูปแบบ ได้แก่ การชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) กับ การส่งมอบสินค้า (Physical Delivery)

Group 15527     การชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement)

ในกรณีที่สมาชิกประสงค์จะวางหลักประกันหรือชำระราคาเป็นเงินสด สมาชิกต้องดำรงเงินสดในบัญชีของสมาชิกเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนชำระหนี้ที่สำนักหักบัญชีแต่งตั้ง (Settlement Bank) หักโอนเงินเข้าบัญชีของสำนักหักบัญชี หรือสมาชิกโอนเงินสดเข้าบัญชีของสำนักหักบัญชีให้ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องชำระและภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด

info_tch03
ปัจจุบัน สำนักหักบัญชีแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนชำระหนี้สำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนี้
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) 
Group 16258     การส่งมอบสินค้า (Physical Delivery)
สำนักหักบัญชีเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการส่งมอบรับมอบสินค้า (Physical Delivery) เพื่อให้การส่งมอบรับมอบสินค้าของสมาชิกที่ได้รับการจับคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยสมาชิกผู้มีฐานะซื้อจะมีภาระผูกพันตามสัญญาในการส่งมอบสินค้า รวมถึงการชำระราคากับสมาชิกผู้มีฐานะขายที่ได้รับการจับคู่ สมาชิกมีหน้าที่ดูแลให้ลูกค้าผู้ซื้อและลูกค้าผู้ขายปฏิบัติตามภาระผูกพันที่เกิดขึ้นตามสัญญาที่ได้รับการจับคู่ในการส่งมอบสินค้า 

ปัจจุบัน สินค้าที่สามารถส่งมอบได้ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3 Futures)  สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 เพื่อการส่งมอบสินค้า (RSS3D Futures) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นทองคำ (Gold-D Futures) โดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้า ดังนี้
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าProduct
logo_tch01image 1948image 1949
1.ตัวแทนการส่งมอบสินค้า (Delivery Agent): 
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการฝาก การถอน และ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
withicon2 Not applicable
 
2.ผู้รับฝากทรัพย์สิน (Vault Operator): 
ให้บริการรับฝากและเก็บรักษาสินค้าที่นำเข้าฝากและถอนสินค้าที่ฝากผ่านตัว
แทนการส่งมอบสินค้าที่ได้รับมอบหมายจากสมาชิก
บริษัทรักษาความปลอดภัย บริงส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Brink’s Security (Thailand) Limited) Not applicable 
3.ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (Surveyor) :
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าตามที่ กำหนดใน Contract Specification และตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด กรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าที่มีการส่งมอบหรือรับมอบ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่อง ประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) : GIT
(The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization) : GIT)
บริษัท เอส จี เอส  (ประเทศไทย) จำกัด : SGS
(S.G.S. (Thailand) Limited)

 
4. ตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง (Certified Brand) หรือ ผู้ผลิตสินค้ามาตรฐาน (Approved Manufacturer List):
กำหนดตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง หรือผู้ผลิตสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนดใน Contract Specification ให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ 
withicon3withicon4
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าProduct
logo_tch01image 1948image 1949
1.ตัวแทนการส่งมอบสินค้า (Delivery Agent): 
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการฝาก การถอน และ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
withicon2 Not applicable
 
2.ผู้รับฝากทรัพย์สิน (Vault Operator): 
ให้บริการรับฝากและเก็บรักษาสินค้าที่นำเข้าฝากและถอนสินค้าที่ฝากผ่านตัว
แทนการส่งมอบสินค้าที่ได้รับมอบหมายจากสมาชิก
บริษัทรักษาความปลอดภัย บริงส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Brink’s Security (Thailand) Limited) Not applicable 
3.ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (Surveyor) :
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าตามที่ กำหนดใน Contract Specification และตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด กรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าที่มีการส่งมอบหรือรับมอบ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่อง ประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) : GIT
(The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization) : GIT)
บริษัท เอส จี เอส  (ประเทศไทย) จำกัด : SGS
(S.G.S. (Thailand) Limited)

 
4. ตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง (Certified Brand) หรือ ผู้ผลิตสินค้ามาตรฐาน (Approved Manufacturer List):
กำหนดตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง หรือผู้ผลิตสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนดใน Contract Specification ให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ 
withicon3withicon4

กระบวนการส่งมอบรับมอบสินค้า 

Group 16323

หมายเหตุ : * สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขายที่ได้รับการจับคู่อาจตกลงร่วมกันที่จะส่งมอบโดยทางเลือกอื่นได้ (Alternative Delivery Procedure: ADP)

การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่มีการส่งมอบหรือรับมอบ

หากผู้รับมอบสินค้าต้องการตรวจสอบคุณภาพสินค้า ให้ติดต่อกับผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า ตามรายชื่อที่สำนักหักบัญชีกำหนด เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ น้ำหนักสินค้า โดยผู้ส่งมอบมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ตลอดจนค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากคุณภาพสินค้าไม่เป็นไปตามที่กำหนดใน Contract Specification

การผิดนัดส่งมอบสินค้า

เมื่อมีการผิดนัดส่งมอบสินค้า เช่น ไม่ส่งคำบอกกล่าวรายละเอียดของการส่งมอบสินค้า ไม่ชำระราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องหรือชำระไม่ครบถ้วน ไม่ส่งมอบสินค้าหรือส่งมอบสินค้าไม่ครบถ้วนตามรายละเอียดที่กำหนดตามคำบอกกล่าวรายละเอียดของการส่งมอบสินค้า หรือคุณภาพของสินค้าไม่เป็นไปตามที่กำหนดใน Contract Specification สมาชิกฝ่าย ที่ไม่ผิดนัดส่งมอบสินค้ามีหน้าที่แจ้งให้สำนักหักบัญชีทราบภายในวันทำการถัดจากวันที่เกิดการผิดนัดส่งมอบสินค้า โดยสำนักหักบัญชีจะประสานงานกับสมาชิกคู่กรณีเพื่อหาข้อยุติ ของการผิดนัดส่งมอบสินค้าร่วมกัน

รายละเอียดกระบวนการส่งมอบรับมอบสินค้า

รายละเอียดกระบวนการส่งมอบรับมอบสินค้า

กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

ตารางเวลาปฏิบัติงาน
ธุรกรรมเวลา
1. การ Download ข้อมูล Risk Parameter File,  Position Ledger, Trade Listing และ อื่นๆ
1.1 การ Download Risk Parameter File จากระบบ SET CLEAR และ SET Portal
  • Preliminary Intra-day Margin รอบที่ 1-3
7:00 น., 8:10 น., 9:10 น. ตามลำดับ
  • Official Intra-day Margin รอบที่ 1-4
10:10 น., 11:10 น., 12:10 น., 13:10 น. ตามลำดับ
  • Preliminary Intra-day Margin รอบที่ 4-7
14:10 น., 15:10 น., 16:10 น., 17:10 น. ตามลำดับ
  • Official End of Day Margin
18:05 น.
  • Pre-night
18:15 น.
1.2 การ Download ข้อมูล Position Ledger และ Trade Listing File จากระบบ SET Portal
  • Position Ledger และ Trade Listing File รอบที่ 1-5
12:40 น., 17:10 น., 17:55 น., 19:25 น., 03:15 น. ตามลำดับ
1.3 การ Download ข้อมูล Margin Requirement และ Fee File จากระบบ SET Portal
  • Margin Requirement File (ข้อมูลการคำนวณมูลค่าหลักประกัน) รอบ End of Day
  • Collateral Detail File (ข้อมูลหลักทรัพย์ที่วางเป็นหลักประกันกับสำนักหักบัญชี)
  • Trade Registration Fee File, Clearing House Service Fee File และ Additional Discount Fee ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน
  • Physical Depository Fee File  (ข้อมูลค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการวางหลักทรัพย์เป็นหลักประกัน) ณ วันทำการถัดจากวันทำการสุดท้ายของเดือน
21:00 น.
1.4 การแสดงผล Settlement Price ผ่านระบบ SET CLEAR
  • Daily Settlement Price และ Final Settlement Price
17:45 น. (สำหรับ Final Settlment Price ของ Silver Online Futures เวลา 19:45 น.)
1.5 การแสดงผล Exchange Rate ของเงินสดสกุลต่างประเทศ ผ่านระบบ SET CLEAR
  • Exchange Rate ของเงินสดสกุลต่างประเทศที่ใช้ในการคำนวณการชำระหนี้สำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการซื้อขายในเงินสกุลต่างประเทศ
15:40 น.
  • Exchange Rate ของเงินสดสกุลต่างประเทศที่ใช้ประเมินมูลค่าหลักประกัน
18:15 น.
2. การประมวลผล Margin Requirement, การชำระหนี้และการวางหลักประกัน และการแสดงผลการคำนวณค่าธรรมเนียม
2.1 การประมวลผล Margin Requirement
  • End of Day (End of Day Settlement)
19:00 น. 
  • Official Intra-day รอบที่ 1-4 (Intra-day #1-4 Settlement)
9:55 น., 10:55 น., 11:55 น., 12:55 น. ตามลำดับ
2.2  การชำระหนี้และการวางหลักประกัน
  • End of Day (End of Day Settlement)
9:00 น.
  • Official Intra-day รอบที่ 1-4 (Intra-day #1-4 Settlement)
12:00 น., 13:00 น., 14:00 น., 15:00 น. ตามลำดับ
2.3 การแสดงผลการคำนวณมูลค่าหลักประกัน / ค่าธรรมเนียมผ่านระบบ SET CLEAR
  • Margin Requirement, Mark to market ของ Futures และมูลค่าซื้อ/ขาย Options (Premium)
  • ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย และค่าธรรมเนียมการชำระหนี้
  • ค่าธรรมเนียมการล้างฐานะ ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิ และค่าธรรมเนียมการส่งมอบสินค้า (สำหรับวันสุดท้ายของการซื้อขาย)
ภายใน 20:00 น.
3. การแจ้งความประสงค์ฝาก/ถอนหลักประกัน และทำรายการวางหลักประกันผ่านระบบ SET CLEAR
3.1 การฝากหลักประกัน
3.1.1 หลักประกันประเภทเงินสดสกุลต่างประเทศ (Foreign Currency)
  • ทำรายการฝากหลักประกันสำหรับรอบ End of Day
ภายใน 8:30 น.
  • ทำรายการฝากหลักประกันสำหรับรอบ Intra-day Margin Call รอบที่ 1-4
ภายใน 11:30 น., ภายใน 12:30 น., ภายใน 13:30 น., ภายใน 14:30 น. ตามลำดับ
3.1.2 หลักประกันประเภทหลักทรัพย์ (Securities and Bond)
  • ทำรายการฝากหลักประกันประเภทหลักทรัพย์ (Securities and Bond)
7:00 น. - 19:00 น.
(ไม่สามารถทำรายการได้ในช่วงเวลา 13:25 น. – 14:15 น. และเวลา 15:10 น. – 16:15 น. โดยสมาชิกต้องทำรายการและอนุมัติรายการภายในเวลา 13:25 น. และภายในเวลา 15:10 น. ของวันที่ทำรายการ ทั้งนี้ หากมีรายการคงค้างรอการอนุมัติภายหลังเวลาดังกล่าว สำนักหักบัญชีจะทำการยกเลิกรายการที่คงค้างนั้นและสมาชิกสามารถทำรายการใหม่ได้ภายในเวลาทำการปกติของสำนักหักบัญชี
3.2 การถอนหลักประกัน (Excess Margin) 
3.2.1 หลักประกันประเภทเงินสดสกุลบาท และเงินสดสกุลต่างประเทศ 
  • ทำรายการถอนหลักประกันส่วนเกิน รอบที่ 1
ภายใน 10:00 น. (ได้รับเงิน 10:30 น.)
  • ทำรายการถอนหลักประกันส่วนเกิน รอบที่ 2
ภายใน 12:00 น. (ได้รับเงิน 13:15 น.)
3.2.2 หลักประกันประเภทหลักทรัพย์ (Securities and Bond)
  • ทำรายการถอนหลักประกันประเภทหลักทรัพย์ (Securities and Bond)
7:00 น. - 19:00 น.
(ไม่สามารถทำรายการได้ในช่วงเวลา 13:25 น. – 14:15 น. และเวลา 15:10 น. – 16:15 น. โดยสมาชิกต้องทำรายการและอนุมัติรายการภายในเวลา 13:25 น. และภายในเวลา 15:10 น. ของวันที่ทำรายการ ทั้งนี้ หากมีรายการคงค้างรอการอนุมัติภายหลังเวลาดังกล่าว สำนักหักบัญชีจะทำการยกเลิกรายการที่คงค้างนั้นและสมาชิกสามารถทำรายการใหม่ได้ภายในเวลาทำการปกติของสำนักหักบัญชี
3.2.3 หลักประกันที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้า
  • ทำรายการถอนหลักประกันที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้า
ภายใน 12:00 น. (ได้รับเงิน 14:15 น.)
4. การทำรายการหลังการซื้อขาย (Post Trade Transaction) ผ่านระบบ SET CLEAR 
  • การแก้ไขรายการซื้อขาย (Trade Amendment)
  • การโอนหรือรับโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Position transfer)
  • การโอนหรือรับโอนรายการซื้อขาย (Give-up/Take-up)
  • การหักกลบหรือยกเลิกการหักกลบฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Match out / Undo Match out)
7.00 น. - 19.00 น.
  • สำหรับสินค้าที่เปิดการซื้อขายในช่วงเวลากลางคืน (Night session) สามารถทำรายการเพิ่มเติมได้ในช่วง 19.30 น. - 03.00 น.
  • สำหรับสินค้า Gold-D Futures ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย (Last Trading Day) ต้องทำรายการภายใน 16:30 น.
5. การใช้สิทธิ Options ผ่านระบบ SET CLEAR 
5.1 การส่งคำขอใช้สิทธิหรือปฎิเสธการใช้สิทธิ Options
  • ทำรายการขอใช้สิทธิ Options (Exercise Notification)
  • ทำรายการขอปฏิเสธการใช้สิทธิ Options (Exercise Exclusion)
ภายใน 19:00 น.
5.2 การตรวจสอบผลการใช้สิทธิ Options
  • ตรวจสอบผลการใช้สิทธิ (Exercise) ผลการสุ่มเลือกผู้ขาย Options (Assign) สำหรับวันสุดท้ายของการซื้อขาย Options
ภายใน 20:00 น.
6. ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบ / รับมอบสินค้าอ้างอิง (Physical Delivery) 
6.1 GOLD-D Futures (ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99%) 
6.1.1 การฝากและถอนทองคำแท่ง
  • การฝาก: รับแจ้งความประสงค์จากลูกค้า จากนั้นติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้า เพื่อแจ้งความประสงค์และรายละเอียดของการฝากทองคำแท่ง จากนั้นให้ลูกค้าติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้าเพื่อดำเนินการตามกระบวนการฝากที่กำหนด
ภายใน 10:30 น.
  • การถอน: รับแจ้งความประสงค์จากลูกค้า จากนั้นติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้า เพื่อแจ้งความประสงค์และรายละเอียดของการถอนทองคำ
ภายใน 11:30 น.
  • ตรวจสอบรายการฝาก/ถอนทองคำแท่งที่ตัวแทนส่งมอบสินค้าบันทึกในระบบ SET CLEAR หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องให้ติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้าเพื่อแก้ไขทันที
ภายใน 14:00 น.
  • เรียกดูข้อมูลของรายการฝากทองคำแท่งที่ได้ดำเนินการผ่านระบบ SET CLEAR
ภายใน 16:00 น.
6.1.2 การส่งมอบทองคำแท่ง ผ่านร ะบบ SET CLEAR
  • แจ้งความประสงค์ในการส่งมอบสินค้า (Tender Notification Request)
16:00 – 16:30 น.
  • ตรวจสอบผลการจับคู่การส่งมอบรับมอบสินค้า
17:10 น.
  • แจ้งคำบอกกล่าวรายละเอียดของการส่งมอบสินค้า (Delivery Instruction)
  • แจ้งความประสงค์การส่งมอบสินค้าโดยทางเลือกอื่น (Alternative Delivery Procedure: ADP)
ภายใน 19:00 น.
  • ตรวจสอบมูลค่าสำหรับการส่งมอบสินค้า (Delivery Amount)
ภายใน 20:00 น.
6.2. RSS3 / RSS3D Futures (ยางแผ่นรมควันชั้น 3)
  • แจ้งความประสงค์ในการส่งมอบสินค้า (Tender Notification Request)
  • แจ้งคำบอกกล่าวรายละเอียดของการส่งมอบสินค้า (Delivery Instruction)
  • แจ้งผลการส่งมอบสินค้า (Delivery Report)
  • แจ้งความประสงค์การส่งมอบสินค้าโดยทางเลือกอื่น (Alternative Delivery Procedure: ADP)
ภายใน 19:00 น.
  • ตรวจสอบผลการจับคู่การส่งมอบรับมอบสินค้า
  • ตรวจสอบมูลค่าสำหรับการส่งมอบสินค้า (Delivery Amount)
ภายใน 20:00 น.
6.3 การวางหลักประกันและการชำระค่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบ ผ่านระบบ SET CLEAR
  • วางทรัพย์สินเพื่อการส่งมอบสินค้า (Delivery Deposit)
  • ชำระมูลค่าสำหรับการส่งมอบสินค้า (Delivery Amount)
11:00 น.
  • รับเงินมูลค่าสำหรับการส่งมอบสินค้า (Delivery Amount)
  • รับทรัพย์สินเพื่อการส่งมอบสินค้า (Delivery Deposit) สำหรับยางแผ่นรมควันชั้น 3
14:15 น.

สำนักหักบัญชีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการชำระราคาโดยจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญา 
(Central Counterparty: CCP) ให้แก่สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขาย 

สำนักหักบัญชีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการชำระราคา
โดยจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญา 

(Central Counterparty: CCP)
ให้แก่สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขาย 

การเป็นคู่สัญญากลางดังกล่าวทำให้สำนักหักบัญชีต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง สำนักหักบัญชีจึงมีการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงในด้านต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมตลาดทุกฝ่าย

หลักการเรียกเก็บหลักประกัน (Margining Principle)
1. สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกันจากผู้ที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามความเสี่ยงของประเภทสินค้า ดังนี้
  • ฟิวเจอร์ส (Futures) สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกันจากผู้ที่มีฐานะสัญญาตลอดอายุของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สนั้น โดยจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส (Long position) และผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส (Short position) ในทุกๆ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส เนื่องจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตราบเท่าที่ยังไม่ปิดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส (Close out) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สนั้นยังไม่หมดอายุ
  • ออปชั่น (Options) สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกันจากผู้ขายสัญญาซื้อขายออปชั่น (Short position) ตลอดอายุของสัญญาซื้อขายออปชั่นนั้น เนื่องจากผู้ขายมีภาระผูกพันที่ต้องปฏิบัติตาม หากผู้ซื้อสัญญาซื้อขายออปชั่น (Long posiiton) ใช้สิทธิ
2. สำนักหักบัญชีจะคำนวณและเรียกเก็บหลักประกันโดยไม่นำฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สในบัญชีสมาชิก (House Account) และบัญชีลูกค้าสมาชิก (Client Account) มาหักกลบกัน และไม่ นำฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าของสมาชิกแต่ละราย (Individual Client Account) มาหักกลบกันด้วยเช่นเดียวกัน ยกเว้นเป็นฐานะของลูกค้ารายเดียวกัน
3. สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกัน บันทึกบัญชีหลักประกัน แยกจากกัน ระหว่างหลักประกันของสมาชิกและหลักประกันของลูกค้าของสมาชิก
4. สำนักหักบัญชีกำหนดให้สมาชิกเรียกหลักประกันจากลูกค้าของสมาชิกไม่น้อยกว่าหลักประกันที่สำนักหักบัญชีเรียกเก็บจากสมาชิก

ชนิดหลักประกัน (Types of Margin) 
1. หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin)
1.1 หลักประกันรักษาสภาพของสัญญาซื้อขายแต่ละเดือน (Maintenance Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อหนึ่งสัญญาซื้อขาย ที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99
วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณค่าความผันผวนด้วยวิธี Exponentially Weighted Moving Average โดยใช้ค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) และค่าความผันผวนขั้นต่ำตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด ซึ่งจะทำการประมวลผลจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ/หรือราคาสินค้าอ้างอิง ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง (Lookback Period) อย่างน้อย 250 วันทำการ
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


1.2 หลักประกันรักษาสภาพก่อนระยะเวลาส่งมอบสินค้า (Spot Month Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับมูลค่าความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในเดือนสุดท้ายของการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กำหนดให้ส่งมอบสินค้าที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99
วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณค่าความผันผวนด้วยวิธี Exponentially Weighted Moving Average โดยใช้ค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) และค่าความผันผวนขั้นต่ำตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด ซึ่งจะทำการประมวลผลจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ/หรือราคาสินค้าอ้างอิง ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง (Lookback Period) อย่างน้อย 250 วันทำการ
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


1.3 หลักประกันรักษาสภาพของค่าความเสี่ยงระหว่างเดือน (Inter-month Spread Maintenance Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับมูลค่าความเสียหายสูงสุดจากการความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จากการถือครองสัญญาที่มีความเสี่ยงตรงข้ามกัน ในสัญญาที่หมดอายุต่างเดือนกัน (Calendar Spread) ที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99
วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณค่าความผันผวนด้วยวิธี Exponentially Weighted Moving Average โดยใช้ค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) และค่าความผันผวนขั้นต่ำตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด ซึ่งจะทำการประมวลผลจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ/หรือราคาสินค้าอ้างอิง ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง (Lookback Period) อย่างน้อย 250 วันทำการ
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


1.4 ส่วนลดค่าความเสี่ยงระหว่างสินค้าอ้างอิง (Inter-commodity Spread Credit)
วัตถุประสงค์
เพื่อคำนึงถึงความเสี่ยงที่สามารถหักกลบกันได้หากสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงมีความสัมพันธ์กัน
วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณข้อมูลความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินค้าอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความสัมพันธ์กันในรอบระยะเวลา 20 วัน 60 วัน 120 วัน หรืออย่างน้อย 250 วันทำการย้อนหลัง ซึ่งสอดคล้องกับค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) โดยใช้วิธี Exponentially Weighted Moving Average ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกันในทุกช่วงเวลา และมีนัยทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99 และใช้ค่าที่ต่ำที่สุด
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัด จากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


2. หลักประกันผันแปร (Variation Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อปรับฐานะของบัญชีหลักประกันให้สะท้อนราคาที่แท้จริงที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน โดยให้ชำระกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของผลขาดทุนที่เกิดจากฐานะสัญญาที่ยังมีภาระผูกพันอยู่
วิธีการคำนวณ
คำนวณกำไรหรือขาดทุนจากการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สทุกสิ้นวันทำการ (Mark to Market) โดยการปรับมูลค่าให้เป็นไปตามราคาที่ใช้ชำระราคา (Settlement Price)
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด

 
3. หลักประกันส่วนเพิ่ม (Additional Margin)
3.1 หลักประกันพิเศษ (Super Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงต่างประเทศในช่วงที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปิดทำการเป็นระยะเวลาหนึ่ง
วิธีการคำนวณ
คำนวณจากมูลค่า ความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรในต่างประเทศ ในช่วงที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปิดทำการเมื่อมีวันหยุด พิเศษติดต่อกันอย่างน้อย 2 วันทำการ (ไม่รวมวันเสาร์ - อาทิตย์) เวลาวางหลักประกันวันทำการสุดท้ายก่อนหน้าวันหยุดพิเศษ ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการสุดท้ายก่อนหน้าวันหยุดพิเศษ ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


3.2 หลักประกันการกระจุกตัว (Concentration Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับความเสี่ยงจากปัญหาด้านสภาพคล่อง ที่เกิดจากการกระจุกตัวของฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้าง
วิธีการคำนวณ
คำนวณจากมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกไม่สามารถล้างฐานะคงค้างทั้งจำนวนใน 1
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


3.3 หลักประกันคุ้มครองความเสียหาย (Uncovered Risk Margin)
วัตถุประสงค์
เมื่อมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่มูลค่าความเสียหายภายใต้ภาวะวิกฤต (Stress) ของสมาชิกเกินกว่าระดับที่กำหนด
วิธีการคำนวณ
คำนวณจากมูลค่าความเสียหายสูงสุดภายใต้ภาวะวิกฤตในแต่ละสถานการณ์ที่สำนักหักบัญชีกำหนด ที่สูงเกินกว่ามูลค่าหลักประกันของสมาชิกรายนั้นๆ รวมกับทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด

ทรัพย์สินที่สมาชิกนำมาวางเป็นหลักประกันต้องมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคา (Market Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) และความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เพื่อรองรับกรณีที่สำนักหักบัญชีอาจบังคับใช้หลักประกันดังกล่าวและนำเงินมาชำระหนี้หรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ สำนักหักบัญชีจึงมีการกำหนดประเภทของทรัพย์สินที่จะรับเป็น หลักประกัน ดังนี้
1. เงินสดสกุลบาท
2. เงินสดสกุลต่างประเทศ: ปัจจุบันสำนักหักบัญชีรับเงินสดสกุลต่างประเทศเป็นหลักประกัน 3 สกุล ดังนี้

  •   เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD)
  •   เงินสกุลยูโรโซน (EUR)
  •   เงินสกุลเยนญี่ปุ่น (JPY)
แนวทางการวางเงินสดสกุลเงินต่างประเทศเป็นหลักประกัน

3. หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์: โดยอยู่ในรายชื่อหุ้นสามัญที่เป็นสินค้าอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Single Stock Future ตามประกาศบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ทั้งนี้ ต้องมิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนที่ออกโดยสมาชิกหรือบริษัทในกลุ่มของสมาชิกผู้วางหลักประกัน
4. พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักหักบัญชีจะรับทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงินสดสกุลเดียวกับสกุลเงินที่ใช้ชำระราคา สำหรับการวางเป็นหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) หรือ หลักประกันส่วนเพิ่ม (Additional Margin) 

อัตราค่าความเสี่ยง (Haircut Rate) 
การวางทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงินสดสกุลเดียวกับสกุลเงินที่ใช้ชำระราคานั้น สำนักหักบัญชีจะหักอัตราค่าความเสี่ยง (Haircut Rate) ออกจากมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ของมูลค่าทรัพย์สินในกรณีที่สำนักหักบัญชีต้องขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อใช้ชำระราคาแทนสมาชิก โดยมีรายละเอียดดังนี้ https://www.set.or.th/th/tch/rules-regulations/regulations#noti-haircut-rate

จำนวนหุ้นสูงสุดที่สามารถวางเป็นหลักประกันได้ (Concentration Limit) 
สำนักหักบัญชี จะคำนวณและประกาศจำนวนหุ้นสูงสุดที่สามารถวางเป็นหลักประกันได้ โดยจะทบทวนเป็นรายไตรมาส รายละเอียดดังนี้ https://www.set.or.th/th/tch/rules-regulations/regulations#noti-concentration-limit

นิยามการผิดนัด 
สมาชิกไม่ชำระเงินหรือวางหลักประกัน ไม่วางทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงของระบบการชำระหนี้ ไม่ชำระค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าเสียหาย และอื่นๆ ที่สำนักหักบัญชีเรียกเก็บ สมาชิกถูกฟ้อง
ล้มละลายและพิทักษ์ทรัพย์ หรือมีฐานะการเงินลดลงจนไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติได้ หรือไม่ชำระหนี้อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 

มาตรการดำเนินการ 
เมื่อเกิดการผิดนัด สำนักหักบัญชีอาจดำเนินการประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังต่อไปนี้ 
 - ร้องขอให้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหยุดการซื้อขายของสมาชิกที่ผิดนัดชั่วคราว
 - โอนฐานะสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนในบัญชีของลูกค้า รวมทั้งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องไปยังสมาชิกรายอื่นตามที่สำนักหักบัญชีเห็นชอบ หากไม่สามารถโอนได้สำนักหักบัญชีจะให้ล้างฐานะสัญญา
ดังกล่าวและคืนทรัพย์สินที่หมดภาระผูกพันให้แก่ลูกค้า
 - ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ สำนักหักบัญชีอาจนำฐานะสัญญาคงค้างในบัญชีของลูกค้ารายที่ผิดนัดมาหักกลบกับฐานะสัญญาคงค้างในบัญชีของสมาชิกรายนั้นได้
 - นำหลักประกันของสมาชิกที่ผิดนัดและทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงมาบังคับชำระหนี้
 - หากเป็นการผิดนัดชำระหนี้ในบัญชีของลูกค้า ให้สมาชิกแจ้งชื่อลูกค้าที่ผิดนัด จำนวนฐานะสัญญาที่ผิดนัด และฐานะสัญญาที่คงค้างมายังสำนักหักบัญชี
 - ดำเนินการอื่นๆ ตามที่สำนักหักบัญชีเห็นสมควร

สำนักหักบัญชีกำหนดให้มีหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคงของสมาชิก (Security Deposit) และกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว ของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนที่เกินกว่าหลักประกันรักษาสภาพ ทั้งนี้ หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคงของสมาชิกจะใช้รองรับมูลค่าความเสียหายเฉพาะของสมาชิกรายนั้นเท่านั้น (Non-mutual Loss) ในขณะที่เงินกองทุนทดแทนความเสียหายที่สมาชิกได้สมทบเข้ามาจะสามารถใช้ชดเชยมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดจากสมาชิกรายอื่นได้ (Mutual Loss)

ทั้งนี้ หากสมาชิกสำนักหักบัญชีไม่สามารถชำระราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Open contract) ได้ สำนักหักบัญชีจะใช้หลักประกัน (Margin) ที่สมาชิกมาวางไว้กับสำนักหักบัญชีเป็นอันดับแรก หากหลักประกันที่สมาชิกวางไว้ไม่สามารถรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด สำนักหักบัญชีจะนำหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง (Security Deposit) และเงินกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) มาใช้ ซึ่งสมาชิกผู้ผิดนัดมีหน้าที่ชำระเงินคืนตามจำนวนที่ใช้ไปพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ และค่าเสียหายใดๆ นับตั้งแต่วันที่มีการใช้

สมาชิกต้องสมทบหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง (Security Deposit) และเงินกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) เมื่อแรกเข้าเป็นสมาชิก และเงินสมทบผันแปร ตามความเสี่ยงที่สร้างให้แก่สำนักหักบัญชีภายในระยะเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด

ทั้งนี้ สำหรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคงสำนักหักบัญชี จะคืนให้แก่สมาชิก ส่วนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินกองทุนทดแทนความเสียหายสำนักหักบัญชีจะสะสมกลับเข้ากองทุนและไม่จ่ายคืนแก่สมาชิกจนกว่าจะสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ และสมาชิกได้ชำระหนี้ทั้งหมดที่ค้างชำระต่อสำนักหักบัญชีแล้ว

แหล่งเงินทุนของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Financial Resources)
เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่าหลักประกันของสมาชิก สำนักหักบัญชีจึงมีแหล่งเงินทุน (Financial Resources) ที่ใช้รองรับความเสียหายภายใต้ภาวะวิกฤต ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งระบบโดยประเมินจากสมาชิกที่มีความเสี่ยง 2 รายสูงสุด ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงดังกล่าวประกอบด้วยเงินกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) และเงิน สำรองเพื่อความมั่นคง (Reserve Fund) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ลำดับการใช้แหล่งเงินทุนของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Default Waterfall)
สำนักหักบัญชีมีการกำหนดลำดับการใช้แหล่งเงินทุนเมื่อมีความจำเป็นหรือมีความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิก ดังนี้

1. เงินหลักประกัน (Margin) ของสมาชิกผู้ผิดนัด
2. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง (Security Deposit) ของสมาชิกผู้ผิดนัด
3. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของสมาชิกผู้ผิดนัด
4. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของตลาดหลักทรัพย์ตามจำนวนที่สำนักหักบัญชีประกาศกำหนดเป็นส่วนที่หนึ่ง (40 ล้านบาท)
5. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของสมาชิกรายอื่นที่ไม่ใช่ผู้ผิดนัด
6. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของตลาดหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือภายหลังหักเงินสมทบของตลาดหลักทรัพย์ส่วนที่หนึ่ง
7. ทรัพย์สินสมทบเพิ่มเติมตามสัดส่วนที่สมาชิกแต่ละรายสมทบเข้าเงินกองทุน Clearing Fund
8. เงิน Reserve Fund จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Group 16573 Group 16573

บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด 

อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  93 ถนนรัชดาภิเษก 
เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 
ให้บริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08:30 – 17:00 น. 

งดให้บริการ : เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดตามประกาศ ตลาดหลักทรัพย์ฯ

ตราสารทุน/ตราสารหนี้

icn_phone-contact 66 2009 9549-53          icn_fax-contact 66 2009 9477

ตราสารอนุพันธ์

icn_phone-contact 66 2009 9542-47          icn_fax-contact 66 2009 9477
Member Corner 
(SET Portal) 
Equity & Debt Member
Group 16308
เข้าสู่ระบบ  icon-black 
Member Corner 
(SET Portal) 
Equity & Debt Member
Group 16308
เข้าสู่ระบบ  icon-black