ETF

ข้อมูลลักษณะผลิตภัณฑ์ ETF

ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund เป็นกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีหรือราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ETF ได้เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง
ETF นวัตกรรมทางการเงิน
ที่ผสมผสานคุณลักษณะของกองทุนรวมและหุ้นเข้าด้วยกัน

ทำไมต้องเลือก ETF


ผู้ลงทุนสามารถใช้ ETF เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยง ทำให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายโดยใช้เงินน้อยและไม่ต้องวิเคราะห์หุ้นรายตัว มีโอกาสรับผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง และมีโอกาสรับเงินปันผลด้วย นอกจากนี้ ETF ยังเป็นกองทุนรวมที่ซื้อขายเปลี่ยนมือได้สะดวกเพราะมีผู้ดูแลสภาพคล่องทำหน้าที่ส่งคำสั่งเสนอซื้อเสนอขาย ผู้ลงทุนสามารถทำรายการซื้อขาย ETF ในตลาดหลักทรัพย์ได้เมื่อต้องการโดยเปรียบเทียบราคากับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณ (iNAV = Indicative Net Asset Value) ที่แสดงควบคู่กันระหว่างเวลาซื้อขาย

ETF มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

สำนักงาน ก.ล.ต. อนุญาตให้กองทุนรวม
อีทีเอฟมีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความ
เคลื่อนไหวของปัจจัยอ้างอิง ดังนี้
  • ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
  • ราคากลุ่มหลักทรัพย์หรือกลุ่มตราสารทางการเงินอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
  • ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศ
  • ราคาทองคำแท่งซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคำในประเทศไทย หรือในระดับสากล
ETF มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

สำนักงาน ก.ล.ต. อนุญาตให้กองทุนรวม
อีทีเอฟมีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความ
เคลื่อนไหวของปัจจัยอ้างอิงดังนี้
  • ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
  • ราคากลุ่มหลักทรัพย์หรือกลุ่มตราสารทางการเงินอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
  • ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศ
  • ราคาทองคำแท่งซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคาในประเทศไทย หรือในระดับสากล

ในปัจจุบันมี ETF ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้

etf1

Equity ETF / Index ETF
มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นในประเทศ

etf2

Sector ETF
มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม

icn_etf3

Foreign ETF
มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นต่างประเทศ

etf4

Bond ETF
มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาตราสารหนี้

etf5

Gold ETF
มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาทองคำ

การลงทุนใน ETF ต่างจากลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมดัชนีอย่างไร

 ETFหุ้นกองทุนรวมดัชนี
อัตราผลตอบแทน (Investment Purpose)  ตามดัชนีอ้างอิง ตามการเปลี่ยนแปลงของหุ้น ตามดัชนีอ้างอิง
การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ ได้ ได้
ราคาซื้อขาย (Price)ณ ราคาตลาดขณะนั้น
(Real Time Price)
ณ ราคาตลาดขณะนั้น
(Real Time Price)
ราคา ณ สิ้นวันทำการ
(End-of-day Price)
จำนวนขั้นต่ำที่ใช้ซื้อขาย (Board lot)100 หน่วย100 หุ้นไม่ระบุหน่วย
แต่มีจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ เช่น 5,000 บาท
ช่วงเวลาซื้อขาย (Trading Time)เวลาซื้อขายของ ตลท.เวลาซื้อขายของ ตลท.เวลาที่ บลจ. กำหนด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Transaction Fee)Brokerage FeeBrokerage Feeบลจ. กำหนด
วิธีการซื้อขาย (Trading Method)ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (Broker)ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (Broker)ผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.)
การชำระราคา (Settlement Time)T+2T+2T+4
ผลตอบแทน (Return)ส่วนต่างของราคาซื้อขาย / เงินปันผลส่วนต่างของราคาซื้อขาย / เงินปันผลส่วนต่างของราคาซื้อขาย / เงินปันผล
ภาษีสำหรับบุคคลธรรมดากรณีกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อขาย (Capital Gain Tax)ได้รับยกเว้นได้รับยกเว้นได้รับยกเว้น
ภาษีสำหรับบุคคลธรรมดากรณีเงินปันผล (Dividend Tax)หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
(สามารถขอเครดิตภาษีได้)
หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

ถาม - ตอบ

ETF เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซึ่งจะบริหารสินทรัพย์ให้ได้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง (Passive Fund) ตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ในหนังสือชี้ชวน ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงสามารถตรวจสอบนโยบายการลงทุน ผลการดำเนินงาน และการถือครองหลักทรัพย์ได้ตลอดเวลา
ราคาซื้อขายของ ETF (Trading Price) คือ ราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Offer) ที่ปรากฏอยู่บนกระดานซื้อขาย ซึ่งราคานี้จะถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อและความต้องการขาย ของผู้ลงทุนใน ETF  โดยทั่วไป ราคาซื้อขายของ ETF ควรใกล้เคียงกับมูลค่าต่อหน่วยของทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (Net Asset Value: NAV) ซึ่งคำนวณมาจากราคาปิดของหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของกองทุน ณ สิ้นวันทำการ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาซื้อขาย ผู้ออก ETF จะเผยแพร่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณ (Indicative Net Asset Value: iNAV) ต่อหน่วยระหว่างวัน ทุกๆ 15-30 วินาที เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน

จำนวนหน่วยขั้นต่ำในการส่งคำสั่งซื้อขายคือ 1 board lot ซึ่งเท่ากับ 100 หน่วยของ ETF

ผู้ลงทุนใน ETF จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนใน 2 ลักษณะ คือ
  • กำไรจากส่วนต่างของราคา (capital gain) ที่ผู้ลงทุนได้รับเมื่อซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำแล้วขายได้ในราคาสูงกว่า
  • สำหรับ ETF ที่มีนโยบายลงทุนในกลุ่มหุ้น ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับเงินปันผล (dividend) เมื่อผู้จัดการกองทุนจัดสรรเงินปันผลที่กองทุนได้มาจากเงินปันผลของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีอ้างอิง
การลงทุนใน ETF มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการลงทุนประเภทอื่นๆ โดยอาจสรุปความเสี่ยงของการลงทุนใน ETF ได้ดังนี้
  • ความเสี่ยงจากราคาของหลักทรัพย์ที่ ETF ไปลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ ETF เปลี่ยนแปลงไป
  • ความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของ ETF มีความผันผวนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ จะสร้างผลตอบแทนการลงทุนให้ใกล้เคียงกับสินทรัพย์ที่ ETF อ้างอิง ซึ่งค่าความผันผวนของผลตอบแทนกองทุนเมื่อเทียบกับสินทรัพย์อ้างอิง เรียกว่า Tracking error
  • ความเสี่ยงจากราคาของ ETF ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการซื้อขายของผู้ลงทุน
  • ความเสี่ยงจากสภาพคล่องของ ETF ที่มาจากความต้องการซื้อขายของผู้ลงทุน 
  • กรณีของการลงทุนใน ETF ที่อ้างอิงสินทรัพย์ในต่างประเทศ ผู้ลงทุนจะมีความเสี่ยงจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลง
บริษัทหลักทรัพย์จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากรายการซื้อและรายการขาย หรือที่เรียกว่า Commission fee ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนที่ใช้บริการ ในอัตราที่บริษัทกำหนด พร้อมทั้งมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7 ของ Commission fee

 

เงินปันผล

เงินได้จากการขายหน่วยลงทุน

บุคคลธรรมดา

หัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 และไม่ต้องนำไปรวมคิดภาษีเงินได้ตอนปลายปีอีก ได้รับการยกเว้นภาษี
นิติบุคคล

 

บริษัทจดทะเบียน*
ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
รวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้
บริษัทจำกัด**
นำเงินปันผลเพียงครึ่งหนึ่งของที่ได้รับมาคำนวณเป็นเงินได้
รวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้

*, **บริษัทจดทะเบียนจะต้องถือหน่วยลงทุนไว้ 3 เดือน ก่อนและหลังได้รับเงินปันผล
บลจ. ผู้ออก ETF จะแต่งตั้งผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) เพื่อให้ทำหน้าที่ส่งคำสั่งเสนอซื้อ (Bid) เสนอขาย (Offer) หน่วยของ ETF ตามกรอบการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้ ETF มีราคาเสนอซื้อขายระหว่างเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการ 
บลจ. ผู้ออก ETF จะซื้อขายหน่วย ETF โดยตรงกับผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุน (Participant Dealer) ตามจำนวนที่กำหนดไว้ (Creation/Redemption Units) สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการให้ บลจ. ออกหน่วย ETF เพิ่มหรือต้องการขายคืน ETF ให้แก่ บลจ. ต้องติดต่อกับผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุน

ต้องการศึกษารายละเอียดของ ETF ควรทำอย่างไร?

ผู้ลงทุนที่สนใจ ETF สามารถศึกษารายละเอียดก่อนจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (Prospectus) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ บลจ. ผู้ออก ETF จัดทำเพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการลงทุนที่มีการจัดตั้งขึ้นแก่ผู้ลงทุน เช่น นโยบายการลงทุน เงื่อนไขในการซื้อขายเป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ออก ETF จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน (Fund Fact Sheet) เพื่อสรุปสาระสำคัญของ ETF เป็นประจำทุกเดือน เช่น รายละเอียดการลงทุน ผลการดำเนินงาน เป็นต้น รวมทั้งจัดทำรายงานประจำปีของ ETF และเผยแพร่ให้แก่ผู้ลงทุนด้วย ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถค้นหาข้อมูลรายละเอียดของ ETF ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ บลจ. ผู้ออก ETF

ต้องการศึกษารายละเอียดของ ETF ควรทำอย่างไร?

ผู้ลงทุนที่สนใจ ETF สามารถศึกษารายละเอียดก่อนจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (Prospectus) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ บลจ. ผู้ออก ETF จัดทำเพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการลงทุนที่มีการจัดตั้งขึ้นแก่ผู้ลงทุน เช่น นโยบายการลงทุน เงื่อนไขในการซื้อขายเป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ออก ETF จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน (Fund Fact Sheet) เพื่อสรุปสาระสำคัญของ ETF เป็นประจำทุกเดือน เช่น รายละเอียดการลงทุน ผลการดำเนินงาน เป็นต้น รวมทั้งจัดทำรายงานประจำปีของ ETF และเผยแพร่ให้แก่ผู้ลงทุนด้วย ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถค้นหาข้อมูลรายละเอียดของ ETF ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ บลจ. ผู้ออก ETF


bullet Check
ศึกษารายละเอียดจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (Prospectus)
bullet Check
ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน (Fund Fact Sheet) และรายงานประจำปีของ ETF
bullet Check
เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ และบลจ. ผู้ออก ETF