DW อ้างอิงสินทรัพย์ต่างประเทศ
โอกาสทำกำไรจากการเทรด

เป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนเข้าถึงโอกาสสร้างผลตอบแทนจาก
“ตราสารที่ให้สิทธิในการซื้อหรือขายดัชนีหรือหุ้นอ้างอิงต่างประเทศ”
ทั้งภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง โดยผู้ถือ DW จะได้กำไรจากราคาหรือมูลค่าของ DW ที่เพิ่มขึ้น
ผู้ลงทุนที่ถือ Call DW จะได้กำไรหากราคาดัชนีอ้างอิงต่างประเทศ หรือหุ้นต่างประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น
และผู้ลงทุนที่ถือ Put DW จะได้กำไรหากราคาดัชนีอ้างอิงต่างประเทศหรือหุ้นต่างประเทศที่ปรับลดลง

เป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนเข้าถึงโอกาสสร้างผลตอบ
แทนจาก “ตราสารที่ให้สิทธิในการซื้อหรือขายดัชนี
หรือหุ้นอ้างอิงต่างประเทศ” ทั้งภาวะตลาดขาขึ้น
และขาลง โดยผู้ถือ DW จะได้กำไรจากราคาหรือมูลค่า
ของ DW ที่เพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนที่ถือ Call DW จะได้กำไร
หากราคาดัชนีอ้างอิงต่างประเทศหรือหุ้นต่างประเทศ
ที่ปรับเพิ่มขึ้นและผู้ลงทุนที่ถือ Put DW จะได้กำไร
หากราคาดัชนีอ้างอิงต่างประเทศหรือหุ้นต่างประเทศ
ที่ปรับลดลง

จุดเด่น
Group 15113

โอกาสรับผลตอบแทน
จากสินทรัพย์ต่างประเทศ
Group 15114

ใช้เงินลงทุนน้อย
โอกาสได้รับผลตอบแทนสูง
Group 15115

ซื้อขายโดยใช้บัญชีเดียวกับบัญชีหุ้น
และเป็นสกุลเงิน “บาท”
ลงทุนสะดวกและมีสภาพคล่อง
DW อ้างอิงสินทรัพย์ต่างประเทศ สามารถลงทุนได้ สะดวกผ่านบัญชีซื้อขายหุ้นและซื้อขายได้เป็นเงินบาทไม่แตกต่างจากการลงทุนในหุ้นไทย โดยมีผู้ดูแลสภาพคล่องซึ่งแต่งตั้งโดยบริษัทผู้ออกตราสารเหล่านี้ทำหน้าที่เสนอราคาซื้อขายให้กับผู้ลงทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง
ลงทุนสะดวกและมีสภาพคล่อง

DW อ้างอิงสินทรัพย์ต่างประเทศ สามารถลงทุนได้ สะดวกผ่านบัญชีซื้อขายหุ้นและซื้อขายได้เป็นเงินบาทไม่แตกต่างจากการลงทุนในหุ้นไทย โดยมีผู้ดูแลสภาพคล่องซึ่งแต่งตั้งโดยบริษัทผู้ออกตราสารเหล่านี้ทำหน้าที่เสนอราคาซื้อขายให้กับผู้ลงทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง

DW เป็นตราสารที่มีเลเวอเรจ (Leverage)

ผู้ลงทุนที่ซื้อขาย DW ใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่ามูลค่าของหลักทรัพย์อ้างอิงนั้น ๆ เช่น DW อ้างอิงหุ้นต่างประเทศรุ่นหนึ่ง มีเลเวอเรจ 5 เท่า หมายความว่าผู้ลงทุนซื้อ Call DW เป็นจำนวนเงิน1,000 บาท เปรียบเสมือนได้ลงทุนในหุ้นต่างประเทศอ้างอิงที่มูลค่า 5,000 บาท โดยจำกัดการขาดทุนสูงสุดเท่ากับจำนวนเงินต้นที่ลงทุน คือ 1,000 บาท เป็นต้น
เปรียบเทียบลักษณะของ DW ตามประเภทสินทรัพย์อ้างอิง
หัวข้อ DW อ้างอิงหุ้นไทยDW อ้างอิงดัชนีไทยDW อ้างอิงหุ้นต่างประเทศ
DW อ้างอิงดัชนีต่างประเทศ

ตัวอย่างสินทรัพย์อ้างอิง

PTT (หุ้นปตท.)

ดัชนี SET50

หุ้น ABCD ในต่างประเทศ

ดัชนี XYZ ในต่างประเทศ

ชื่อย่อ DW

PTT99C3012A

S50C3012A

ABCD99C3012A

XYZ99C3012A

อัตราการใช้สิทธิ (กรณีหุ้น) หรือ
ตัวคูณดัชนี (กรณีดัชนี)

จำนวน DW ต่อ 1 หน่วยสินทรัพย์อ้างอิง เช่น 0.4 : 1

มูลค่า ต่อ 1 จุดดัชนี เช่น 0.01234 บาท ต่อ 1 จุดดัชนี

 จำนวน DW ต่อ 1 หน่วยสินทรัพย์อ้างอิง เช่น 0.4 : 1

มูลค่า ต่อ 1 จุดดัชนี เช่น 0.00123 HKD ต่อ 1 จุดดัชนี

ราคาใช้สิทธิ

ราคาสินทรัพย์อ้างอิง เช่น 40 บาท

ราคาดัชนี (จุด) เช่น 25,000 จุด

ราคาสินทรัพย์อ้างอิง เช่น 40 HKD

ราคาดัชนี (จุด) เช่น 25,000 จุด

ราคาอ้างอิง กรณีหุ้นอ้างอิง หรือ
ดัชนีที่ใช้ชำระราคา กรณีดัชนีอ้างอิง

ราคาปิดของหลักทรัพย์อ้างอิง ณ วันทำการซื้อขายสุดท้าย

• ราคาปิดของดัชนีอ้างอิง หรือ
• ค่าเฉลี่ยของราคาปิดของดัชนี หรือ
• ราคา Final Settlement Price ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนีอ้างอิง

ราคาปิดของหลักทรัพย์อ้างอิง ณ วันทำการซื้อขายสุดท้าย

ราคา final settlement price ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนีอ้างอิง

 

การคำนวณ ราคาสูงสุด ต่ำสุด
(Ceiling & Floor) ในแต่ละวัน

วันซื้อขายวันแรก :
ราคา IPO ของ DW ± (100% ของราคาปิดของดัชนีอ้างอิง x ตัวคูณดัชนี)
วันซื้อขายทั่วไป :
ราคาปิดวันก่อนหน้าของ DW ± (30% ของราคาปิดหลักทรัพย์อ้างอิงวันก่อนหน้า x ตัวคูณดัชนี)


วันซื้อขายวันแรก :

ราคาสูงสุด 20 เท่าของราคา IPO ของ DW  
ราคาต่ำสุด 0.01 บาท
วันซื้อขายทั่วไป :
ราคาสูงสุด 20 เท่าของราคาปิด DW ในวันทำการซื้อขายก่อนหน้า 
ราคาต่ำสุด 0.01 บาท

ประเภท

Call หรือ Put

รูปแบบการใช้สิทธิ

แบบยุโรป ใช้สิทธิได้ครั้งเดียว ณ วันครบกำหนดอายุ

อายุ

ตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 2 ปี

การชำระราคา

เป็นเงินสดส่วนต่าง Cash Settlement

การคำนวณเงินสดส่วนต่างเมื่อใช้สิทธิ

ประเภท Call DW

  • กรณี ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระราคา มากกว่า ราคาใช้สิทธิ
    เงินสดส่วนต่าง = (ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระ   
    ราคา – ราคาใช้สิทธิ) x อัตราการใช้สิทธิ หรือตัวคูณดัชนี
  • กรณี ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระราคา น้อยกว่าเท่ากับ ราคาใช้สิทธิ, เงินสดส่วนต่างจะเท่ากับ 0 บาท
    เงินสดส่วนต่าง = Max [0, (ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระราคา - ราคาใช้สิทธิ) x อัตราการใช้สิทธิ หรือตัวคูณดัชนี]

ประเภท Put DW

  • กรณี ราคาใช้สิทธิ มากกว่า ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระราคา
    เงินสดส่วนต่าง = (ราคาใช้สิทธิ – ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระราคา) x อัตราการใช้สิทธิ หรือตัวคูณดัชนี
  • กรณี ราคาใช้สิทธิ น้อยกว่าเท่ากับ ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระราคา, เงินสดส่วนต่างจะเท่ากับ 0 บาท
     เงินสดส่วนต่าง = Max [0, (ราคาใช้สิทธิ – ราคาอ้างอิงหรือดัชนีที่ใช้ชำระราคา) x อัตราการใช้สิทธิ หรือตัวคูณดัชนี]
กรณี DW อ้างอิงสินทรัพย์ต่างประเทศ “เงินสดส่วนต่าง" ที่คำนวณได้จะเป็นสกุลเงินต่างประเทศตามหน่วยอัตราการใช้สิทธิหรือตัวคูณดัชนี และจะปรับเป็นสกุลเงิน “บาท” ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่ผู้ออกกำหนด
ตัวอย่าง การคำนวณกำไร / ขาดทุน จากการใช้สิทธิ์ DW อ้างอิงดัชนีฮั่งเส็ง

ข้อมูล DW อ้างอิงดัชนีฮั่งเส็ง

ชื่อย่อหลักทรัพย์ DW
XYZ99C2207A
  ราคาใช้สิทธิ
   25,000 จุด
วันซื้อขายสุดท้าย
29 ก.ค. 2565
 
ตัวคูณดัชนี
0.00026 HKD
ต่อ 1 จุดดัชนี
อัตราแลกเปลี่ยน
4.25 บาท ต่อ 1 ฮ่องกงดอลลาร์ (HKD)
ดัชนีที่ใช้ชำระราคา
ราคาสำหรับการส่งมอบหรือใช้อ้างอิงเพื่อคำนวณส่วนต่าง ของราคาเพื่อใช้ในการชำระหนี้ในวันซื้อขายวันสุดท้าย (Final Settlement Price) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า XYZ Index Futures Series July 2022 ที่ประกาศโดย ตลาดหลักทรัพย์ของดัชนีที่ใช้ชำระราคา

กรณีที่ 1

หากดัชนีที่ใช้ชำระราคา มากกว่า ราคาใช้สิทธิ
บริษัทผู้ออก DW ต้องชำระเงินสดส่วนต่างให้ผู้ถือ DW

ถ้าในวันที่ 29 ก.ค. 2565 ดัชนีที่ใช้ชำระราคา = 25,500 จุด และอัตราแลกเปลี่ยน อยู่ที่ 4.25 บาท ต่อ 1 ฮ่องกงดอลลาร์ 

วิธีคำนวณ
เงินสดส่วนต่าง= (ดัชนีที่ใช้ชำระราคา – ราคาใช้สิทธิ)
    x
ตัวคูณดัชนี x อัตราแลกเปลี่ยน
= (25,500 - 25,000) x 0.00026 x 4.25
= 0.5525 บาท ต่อ 1 หน่วย DW
ข้อสรุป
  • บริษัทผู้ออก DW จะชำระเงินสดส่วนต่างให้ผู้ถือ DW เป็นจำนวน 0.5525 บาท ต่อ 1 หน่วย DW
  • กำไรของผู้ถือ DW จะเท่ากับเงินสดส่วนต่างหักต้นทุน
ในการซื้อ DW และค่าใช้จ่ายจากการใช้สิทธิ

กรณีที่ 2

หากดัชนีที่ใช้ชำระราคา น้อยกว่าเท่ากับ ราคาใช้สิทธิ
บริษัทผู้ออก DW ไม่ต้องชำระเงินสดส่วนต่างให้ผู้ถือ DW

ถ้าในวันที่ 29 ก.ค. 2565 ดัชนีที่ใช้ชำระราคา ≤ 25,000 จุด

วิธีคำนวณ
เงินสดส่วนต่าง= (ดัชนีที่ใช้ชำระราคา – ราคาใช้สิทธิ)
    x
ตัวคูณดัชนี x อัตราแลกเปลี่ยน
= (25,000 - 25,000) x 0.00026 x 4.25
= 0 บาท ต่อ 1 หน่วย DW
ข้อสรุป
  • บริษัทผู้ออก DW ไม่ต้องชำระเงินสดส่วนต่างให้ผู้ถือ DW
  • จำนวนขาดทุนของผู้ถือ DW จะเท่ากับ ต้นทุนในการซื้อ DW
ข้อควรระวังก่อนซื้อขาย DW อ้างอิงสินทรัพย์ต่างประเทศ
alert-noti
การลงทุนใน DW มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุน ในหุ้นทั่วไป เนื่องจากเป็นตราสารที่มีเลเวอเรจ ทำให้ผู้ลงทุนใน DW อาจขาดทุนมากกว่าลงทุน ในหุ้นรวมทั้ง DW มีอายุจำกัด หากถือ DW จนหมดอายุ DW อาจจะไม่มีมูลค่าได้
alert-noti
เวลาซื้อขายของ DW กับสินทรัพย์ต่างประเทศ ที่อ้างอิง หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนี อ้างอิงอาจไม่ใช่เวลา เดียวกัน ซึ่งเวลาที่ต่างกัน อาจมีผลต่อการทำหน้าที่ของ ผู้ดูแล สภาพคล่อง และอาจทำให้ราคาของ DW เคลื่อนไหว ไม่สอดคล้องกับราคาของสินทรัพย์อ้างอิงได้
alert-noti
อัตราแลกเปลี่ยนสภาวะตลาดต่างประเทศ เป็นปัจจัยที่มี ผลต่อราคาหรือมูลค่าของ DW อ้างอิงสินทรัพย์ต่างประเทศ 
ดัชนีอ้างอิงต่างประเทศ
ดัชนีอ้างอิงต่างประเทศข้อมูลสรุปจัดทำโดยหุ้นในดัชนีTicker Codeข้อมูล
เพิ่มเติม

Hang Seng Index
ดัชนีหลักทรัพย์ฮั่งเส็ง (HSI)

เป็นดัชนีที่มีประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและซื้อขายบนกระดานหลัก ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) และมีสภาพคล่องสูงที่สุด

บริษัท Hang Seng Indexes ในปี 1969

หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ประมาณ 60 ตัว ประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจหลักได้แก่ การเงิน (Finance), อสังหาริมทรัพย์ (Properties), อุตสาหกรรมและการค้า (Commerce and Industry), และสาธารณูปโภค (Utilities)

Bloomberg : HSI
Refinitiv : .HSI

foreign 5 

Hang Seng China Enterprises Index
ดัชนีหลักทรัพย์ Hang Seng China Enterprises Index (HSCEI)

เป็นดัชนีที่สะท้อนผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ทำธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (หุ้นประเภท H shares) ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) และมีสภาพคล่องสูงที่สุด

บริษัท Hang Seng Indexes ในปี 1994

หุ้นประเภท H shares จำนวน 50 ตัว โดยกลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ เทคโนโลยี (Information Technology) การเงิน (Finance), สินค้าอุปโภค (Commerce and Industry), และอสังหาริมทรัพย์ (Properties)

Bloomberg : HSCEI
Refinitiv : .HSCEI

foreign 5

Hang Seng TECH Index
ดัชนีหลักทรัพย์ Hang Seng TECH Index (HSTECH)

เป็นดัชนีที่รวมบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีที่มีขนาดใหญ่ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์ฮ่องกง

บริษัท Hang Seng Indexes ในปี 2020

หุ้นเทคโนโลยี จำนวน 30 ตัว โดยกลุ่ม ธุรกิจหลัก ได้แก่ เทคโนโลยี (Information Technology) การเงิน (Finance), สินค้าอุปโภค (Commerce and Industry), และอสังหาริมทรัพย์ (Properties) ตัวอย่างหุ้น เช่น อาลีบาบา (Alibaba) เทนเซนต์ (Tencent) เหม่ยถวน (Meituan) และเสี่ยวหมี่ (Xiaomi) เป็นต้น

Bloomberg : HSTECH
Refinitiv : .HSTECH

foreign 5

Dow Jones Industrial Average
ดัชนีหลักทรัพย์ Dow Jones Industrial Average (DJI)

เป็นดัชนีประเภท price-weighted index เป็นดัชนีที่รวมบริษัท ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่จดทะเบียน ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ ได้แก่ NYSE (New York Stock Exchange), และ Nasdaq

บริษัท S&P Dow Jones
ในปี 1896

เป็นหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ จำนวน 30 หุ้น ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ The New York Stock Exchange (“NYSE”) และ The Nasdaq Stock Market (“Nasdaq”)

Bloomberg : INDU
Refinitiv : .DJI

foreign 5 

Nasdaq-100
ดัชนีหลักทรัพย์แนสแด็ก Nasdaq 100 (NDX)

ดัชนีหลักทรัพย์แนสแด็ก Nasdaq 100 (NDX) เป็นดัชนีที่รวมบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยี ที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มการเงิน ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ The Nasdaq Stock Market (“Nasdaq”)

บริษัท Nasdaq ในปี 1985

เป็นหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ จำนวน 100 หุ้น ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ The Nasdaq Stock Market (“Nasdaq”) ตัวอย่างหุ้น เช่น Apple, Tesla, Facebook, Microsoft รวมถึง Google เป็นต้น

Bloomberg : NDX
Refinitiv : .NDX

foreign 5

S&P 500
ดัชนีหลักทรัพย์ S&P 500 (SPX)

เป็นดัชนีที่สะท้อนตลาดหุ้นสหรัฐ ได้เป็นอย่างดี โดยเป็นดัชนีที่ผสมผสานบริษัทขนาดใหญ่ จากหลายอุตสาหกรรมตามมูลค่าหลักทรัพย์ ตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่อง สูงที่สุด

บริษัท S&P Dow Jones
ในปี 1957

เป็นหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่จำนวน 500 หุ้น ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. The New York Stock Exchange (“NYSE”)
2. The Nasdaq Stock Market (“Nasdaq”)
3. Cboe Exchange, Inc. (“Cboe”)

Bloomberg : SPX
Refinitiv : .SPX

foreign 5 

MSCI China A 50 Connect Index

ดัชนี MSCI China A 50 Connect ถูกจัดทำด้วยวิธีการที่ให้น้ำหนักหมวดธุรกิจ (sector)อย่างสมดุล โดยคัดเลือกหุ้น China A shares ที่ใหญ่ที่สุด 50 หุ้น และต้องเป็นหุ้นที่สามารถลงทุนผ่านช่องทาง Stock Connect เพื่อให้มั่นใจว่ามีการกระจายน้ำหนักของแต่ละกุล่ม รวมไปถึงเป็นการสะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้นจีน นอกจากนั้นดัชนียังถูกออกแบบมาให้นักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศสามารถใช้อ้างอิงการเคลื่อนไหวของกุล่มธุรกิจชั้นนำของจีน เข้าถึงการเคลื่อนไหวของหุ้นชั้นนำในแต่ละกุล่มธุรกิจ และยังเป็นดัชนีที่ใช้อ้างอิงการออกผลิตภัณฑ์เช่น ETF, ETN และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ

Stock Connect เป็นช่องทางการลงทุนซื้อขายหุ้นจีนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ในฮ่องกง

MSCI Inc.

หุ้นจดทะเบียนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และตลาดหุ้นเซินเจิ้น ที่สามารถลงทุนผ่านช่องทาง Northbound Stock Connect โดยหุ้นองค์ประกอบของดัชนีได้สะท้อนการแบ่งกลุ่มภาคธุรกิจตามมาตรฐาน Global Industry Classification Standard (GICs)

Bloomberg: MXCNA50C Index

Refinitiv: .MICN0A5C0PCY

foreign 5