เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 29 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : น.ส. ชนิตา โมรินทร์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 01 พ.ค. 2550 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหาร ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : น.ส. ณภัทร โมรินทร์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 01 พ.ค. 2550 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 24 ธ.ค. 2562 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหาร ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย สิริณัฏฐ์ ชญาน์นันท์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 24 ธ.ค. 2562 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการผู้จัดการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 08 ส.ค. 2562 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหาร ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย ทรงยศ เรืองสกุลราช ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 03 มี.ค. 2566 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 03 มี.ค. 2566 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : น.ส.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายขวัญชัย อัสนี วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายทรงยศ เรืองสกุลราช วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางสาวอัจฉรียา มาตระกูล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 1 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ (1) คณะกรรมการตรวจสอบ ควรจัดให้มีการประชุม เพื่อพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายดังต่อไปนี้ (ก) การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ และ/หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ข) การปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย (2) สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลัก ทรัพย์ฯ และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมถึงสอบทานให้บริษัทย่อยและบริษัทร่วมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และนโยบายการกำกับดูแลและการบริหารจัดการบริษ ัทย่อยและบริษัทร่วม (3) พิจารณาขอความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาวิชาชีพอื่นใดตามความจำเป็น เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ซึ่งการดำเนินการว่าจ้างให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯ (4) เรียกขอข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ ได้ รวมถึงการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรรมการบริษัท ฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร ฝ่ายกฎหมายของบริษัทฯ ที่ปรึกษากฎหมายจากภายนอก หรือพนักงานของบริษัทฯ และ/หรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือและชี้แจงข้อมูล รวมทั้งจัดส่งและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท (5) รายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน้าที่อื่นใดที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท และเปิดเผยในเอกสารรายงานประจำปี รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบจะมีความสำคัญต่อคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้ลงทุนทั่วไป เนื่องจากรายงานดังกล่าวจะแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระ และตรงไปตรงมาของคณะกรรมการตรวจสอบ และทำให้คณะกรรมการบริษัทมั่นใจได้ว่าฝ่ายจัดการได้มีการบริหารงานอย่างระมัดระวังและคำนึงถึงผลของผู้ถือ หุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน (6) จัดให้มีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน โดยกำหนดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนอย่างชัดเจน เช่น ผ่านทางไปรษณีย์ หรืออีเมล และหน่วยงานดังกล่าวต้องรายงานผลการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนให้กรรมการตรวจสอบทราบ (7) สอบทานความถูกต้องของการประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน และสอบทานนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชันของบริษัทฯ (8) กำกับดูแลให้มีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ และสอบทานให้มีระบบในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิผลสอดคล้องตามแนวทางของหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ เช่น แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) การประเมินความเสี่ยง การควบคุมภายใน การสร้างระบบงานเชิงป้องกัน การรายงานการกระทำความผิด การตรวจสอบ ตลอดจนให้คำปรึกษาและติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงการสอบทานแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันตามที่สำนักงานตรวจสอบได้ตรวจสอบและประ เมินแล้ว (9) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดหรือที่จะกำหนดขึ้นเพิ่มเติมในอนาคตหรือตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบ หมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย (10) สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) ระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล ตลอดจนสอบทานและอนุมัติแบบประเมินผลความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในด้วย (11) คณะกรรมการตรวจสอบควรจัดให้มีการประชุม เพื่อพิจารณาระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) โดย (ก) ทบทวนแผนการตรวจสอบภายในประจำปี (Audit Plan) ของบริษัทฯ ขั้นตอนการประสานงานของแผนการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องต่างๆ และการประเมินผลการตรวจสอบร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบควรสอบถามถึงขอบเขตการตรวจสอบที่ได้วางแผนไว้เพื่อให้มั่นใจว่าแผนการตรวจสอบดังกล่าวจะ ช่วยให้ตรวจพบการทุจริตหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ของระบบการควบคุมภายใน โดยให้ความสำคัญกับการทุจริตโดยผู้บริหารด้วย (ข) พิจารณาร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในถึงปัญหาหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในระหว่างการตรวจสอบ และทบทวนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น (หากมี) (ค) พิจารณาร่วมกับผู้สอบบัญชีถึงปัญหาหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบงบการเงิน หรือข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีต่อระบบการควบคุมภายใน (หากมี) (ง) พิจารณาร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชีว่าได้มีการวางแผนเพื่อทบทวนวิธีการและการควบคุมการประม วลข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และสอบถามเกี่ยวกับโครงการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการทุจริตหรือการใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิดโดยพนักงานบริษัทฯ หรือบุคคลภายนอก (จ) พิจารณาความเพียงพอของระบบบริหารความเสี่ยง โดยหารือร่วมกับหน่วยงานบริหารความเสี่ยง (12) พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน (13) พิจารณาและให้ความเห็นชอบงบประมาณประจำปี อัตรากำลัง และทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน อนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปี รวมถึงการพิจารณาอนุมัติการทบทวนปรับเปลี่ยนแผนงานตรวจสอบในส่วนที่มีนัยสำคัญ รวมถึงกำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในให้สอดคล้องตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน และประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเป็นประจำทุกปี (14) พิจารณารายงานผลการตรวจสอบภายในเพื่อให้ความเห็นก่อนเสนอรายงานการตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการบริษัท (15) คณะกรรมการตรวจสอบควรจัดให้มีการประชุม เพื่อพิจารณางบการเงินและรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางบัญชี การปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี การดำรงอยู่ของกิจการ การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีที่สำคัญ รวมถึงเหตุผลของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายบัญชีก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อเผยแพร่แก่ผู้ถือ หุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป (16) สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอตามมาตรฐานรายงานทางการเงินโดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภา ยนอก และผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี โดยคณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ (17) สอบทานรายการที่มิใช่รายการปกติซึ่งมีนัยสำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา (ถ้ามี) โดยพิจารณาความสมเหตุสมผลของการทำรายการดังกล่าว ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน และความถูกต้อง ครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูล (18) พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อรับทราบผลการสอบทานงบการเงินประจำไตรมาส ผลการตรวจสอบงบการเงินประจำปี และหารือเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ที่อาจพบจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี (19) ดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นแก่สำนักงาน ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับรายงานเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้กระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จากผู้สอบบัญชี (20) พิจารณาและให้ความเห็นรายการระหว่างกัน รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงพิจารณาข้อกำหนด และยกเลิกการทำรายการที่แตกต่างไปจากข้อกำหนดเรื่องการเลิกการทำรายการที่ได้พิจารณาก่อนการเข้าทำรายการใ นสาระสำคัญ และพิจารณารายการได้มาหรือจำหน่ายไปของบริษัทฯ และบริษัทย่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ หากคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณาและให้ความเห็นรายการระหว่างกัน รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น หรือรายการต่าง ๆ ดังกล่าว บริษัทฯ จะจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันหรือรายการต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาและ/หรือการตัดสินใจของคณะกรรมการตรวจสอบ ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นางสาวณภัทร โมรินทร์ ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"