เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 29 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : นาง อัญชลี ชวนิชย์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 09 พ.ย. 2561 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 29 เม.ย. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2568 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ได้มีมติให้ นางอัญชลี ชวนิชย์ พ้นจากตำแหน่ง ประธานกรรมการตรวจสอบ ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ ชื่อกรรมการ : นาง สุนีย์ ศรไชยธนะสุข ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 26 เม.ย. 2561 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 29 เม.ย. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2568 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ได้มีมติแต่งตั้งนางสุนีย์ ศรไชยธนะสุข เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ ชื่อกรรมการ : นาง เอพริล ศรีวิกรม์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 29 เม.ย. 2568 รายละเอียดเพิ่มเติม : ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2568 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ได้มีมติแต่งตั้ง นางเอพริล ศรีวิกรม์ เป็นกรรมการตรวจสอบ ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางเอพริล ศรีวิกรม์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางสุนีย์ ศรไชยธนะสุข วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายธนกฤต ลิขิตวงษ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 3 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท มีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาคัดเลือก เสนอชื่อผู้สอบบัญชีและค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี แก่คณะกรรมการบริษัท เพื่อขอรับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี 2. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง และประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน 3. มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลได้ทุกระดับของบริษัท รวมถึงการเชิญผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 4. สามารถแสวงหาความเห็นอิสระจากผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะ เพื่อขอคำแนะนำปรึกษาหรือขอความเห็นได้ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาว่าเหมาะสม ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท โดยกำหนดให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชี ปีละ หนึ่ง (1) ครั้ง 5. ดำเนินการสอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นรวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่ครอบคลุมถึงมาตรกา รป้องกันการคอร์รัปชั่น การตรวจหาการคอร์รัปชั่นและการตอบสนองเมื่อพบการคอร์รัปชั่น ตลอดจนการสอบทานและทบทวนนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของบริษัทเพื่อให้มั่นใจว่านโยบาย ระเบียบปฏิบัติดังกล่าวได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างครบถ้วนและเหมาะสมทั่วทั้งองค์กร หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 1.1 ด้านการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง 1.1.1 สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 1.1.2 พิจารณา ให้ความเห็น และหารือกับฝ่ายบริหารเกี่ยวกับภาพรวมการประเมินและการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นประจำทุกไตรมาส 1.1.3 ให้ความเห็นถึงความเพียงพอของระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในและเปิดเผยไว้ในรายงานประจำ ปี 1.2 ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อกำหนด 1.2.1 สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท รวมทั้งสอบทานให้บริษัทย่อยของบริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในนโยบายการควบคุม และกลไกการกำกับดูแลกิจการที่บริษัทเข้าไปลงทุน 1.2.2 พิจารณาการทำรายการที่เกี่ยวโยง การทำรายการระหว่างกัน การได้มาจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 1.3 ด้านการรายงานข้อมูลทางการเงิน 1.3.1 สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินที่ถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 1.3.2 ประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่ใช้ในรายงานทางการเงิน 1.3.3 คณะกรรมการตรวจสอบควรขอคำอธิบายจากฝ่ายจัดการเกี่ยวกับผลแตกต่างที่สำคัญๆ ในงบการเงินระหว่างปีปัจจุบันกับปีก่อนๆ และพิจารณาร่วมกับฝ่ายจัดการถึงบทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร (Management's Discussion and Analysis or MD&A) 1.3.4 คณะกรรมการตรวจสอบควรสอบถามผู้สอบบัญชีถึงขอบเขตที่ผู้สอบบัญชีได้พิจารณาทบทวนรายงานและการวิเคราะ ห์ของฝ่ายบริหาร และพิจารณาว่าข้อมูลที่ปรากฎในบทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหารและสารสนเทศอื่นใดที่ปรากฎในรายงานปร ะจำปีมีความสอดคล้องกับสารสนเทศในงบการเงินหรือไม่ อย่างไร 1.4 ด้านการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายใน 1.4.1 ผู้ตรวจสอบบัญชี (ก) ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีเพื่อรับทราบรายงานผลการสอบทานงบการเงินประจำไตรมาส ผลการตรวจสอบงบการเงินประจำปี และการหารือเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่อาจพบจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี โดยควรประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชี อย่างน้อยปีละ หนึ่ง (1) ครั้ง โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย (ข) ประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการปฏิบัติงาน และพิจารณาถึงความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี 1.4.2 ผู้ตรวจสอบภายใน (ก) สอบทานความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยให้ฝ่ายตรวจสอบภายในมีสายการบังคับบัญชาตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ (ข) ประชุมกับหัวหน้าผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายใน เพื่อหารือประเด็นที่มีความสำคัญ อย่างน้อยปีละหนึ่ง (1) ครั้ง โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย (ค) สอบทานและอนุมัติกฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละหนึ่ง (1) ครั้ง (ง) พิจารณาเห็นชอบงบประมาณประจำปี อัตรากำลัง และทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน (จ) อนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปี รวมถึงการพิจารณาอนุมัติการทบทวน ปรับเปลี่ยนแผนงานตรวจสอบในส่วนที่มีนัยสำคัญ (ฉ) กำกับดูแลฝ่ายตรวจสอบภายในให้ปฏิบัติงานสอดคล้องตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (ช) ประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเป็นประจำทุกปี รวมทั้งจัดให้มีการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในจากบุคคลที่มีความเป็นอิสระจากภายนอกองค์กร อย่างน้อยทุก ๆ ห้า (5) ปี 1.5 ด้านการรายงาน 1.5.1 จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเปิดเผยในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 1.5.2 ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร รายการหรือการกระทำข้างต้น ได้แก่ (ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ข) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน (ค) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท หากคณะกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาข้างต้น กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำตามข้างต้นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักท รัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ 1.5.3 เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และ แนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบตามหนังสือเวียน ที่ กลต.นร. (ว) 23/2566 ลงวันที่ 12 กันยายน 2566 ในกรณีได้รับรายงานเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยของ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินการของบริษัท จากผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบควรรายงานพฤติการณ์อันควรสงสัยในเบื้องต้นให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันทีเมื่อได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งดำเนินการตรวจสอบ และรายงานผลการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แก่สำนักงาน ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี นับตั้งแต่ได้รับแจ้ง อย่างไรก็ตามคณะกรรมการตรวจสอบควรรายงานความคืบหน้าให้สำนักงาน ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี ทราบเป็นระยะในระหว่างการตรวจสอบ 1.5.4 ให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาโดยสม่ำเสมอเป็นระยะ 1.6 ด้านอื่นๆ 1.6.1 ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด หรือที่จะกำหนดขึ้นเพิ่มเติมในอนาคต 1.6.2 ปฏิบัติงานอื่นใดที่คณะกรรมการบริษัทจะมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ และคำสั่งนั้นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร 1.6.3 สอบทานกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่ง (1) ครั้ง เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท 1.6.4 การประเมินผลคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ จึงควรมีการกำหนดการประเมินผลคณะกรรมการตรวจสอบไว้อย่างเป็นทางการ โดยอาจมีการตอบแบบสอบถามของสมาชิกกรรมการตรวจสอบถึงความมีประสิทธิผลของคณะกรรมการตรวจสอบ 1.6.5 พิจารณากลั่นกรอง และให้ความเห็นต่ออำนาจการอนุมัติขององค์กร (Line of Authority) ที่จัดทำโดยฝ่ายบริหาร เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท 1.6.6 พิจารณาข้อร้องเรียน และสอบทานสรุปผลตรวจสอบทุจริตหรือคอร์รัปชั่นของบริษัทและบริษัทย่อย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน 1.6.7 สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการในการต่อต้านคอร์รัปชันให้สอดคล้องตามแนวทางของหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) การประเมินความเสี่ยง การสร้างระบบงานเชิงป้องกัน การตรวจสอบ จนถึงการสอบทานแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันที่ได้รับการตรวจสอบและประเมินแล้วจากฝ่ ายตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบต่างๆ ในการต่อต้านการคอร์รัปชันตามที่ได้รายงานไว้ในแบบประเมินตนเองของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายฮาราลด์ ลิงค์ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายปกรณ์ ทวีสิน ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"