วันที่/เวลา 28 เม.ย. 2568 19:02:14

หัวข้อข่าว

แจ้งการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ

หลักทรัพย์ RABBIT
แหล่งข่าว RABBIT
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 28 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย ชัยวัฒน์ อัศวินทรางกูร ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 28 เม.ย. 2548 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 28 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 19 ธ.ค. 2560 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (2) : 28 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (3) : 28 เม.ย. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ ชื่อกรรมการ : นาย พลากร หวั่งหลี ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 07 ก.ค. 2560 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 28 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 07 ก.ค. 2560 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (2) : 28 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (3) : 28 เม.ย. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ การกำหนด/เปลี่ยนแปลงขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ : - เหมือนเดิม - โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ : 10 มี.ค. 2568 ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล ณ วันที่ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางสาวชลิดา ภูวเดชสิริวรดี วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายวิศิษฎ์ อนันต์สกุลวัฒน์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายรัชติภูมิ สุเทพากุล (โดยมีผลวันที่ 15 พฤษภาคม 2568) วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 2 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : (1) นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ประธานกรรมการตรวจสอบ (2) นายวิศิษฎ์ อนันต์สกุลวัฒน์ กรรมการตรวจสอบ (3) นางสาวชลิดา ภูวเดชสิริวรดี กรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 6.1.สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 6.2.สอบทานให้บริษัทมีการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 6.3.พิจารณาคุณสมบัติ และอนุมัติการแต่งตั้ง ถอดถอน โอนย้าย หรือเลิกจ้างหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน รวมถึงประเมินผลงานของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน 6.4.สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ 6.5.กำกับดูแลและประเมินประสิทธิภาพของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และพิจารณาความเพียงพอของทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 6.6.พิจารณาจัดให้มีการประเมินคุณภาพของหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยผู้ประเมินจากภายนอกที่มีความเหมาะสมและม ีความเป็นอิสระ โดยผลการประเมินคุณภาพงานต้องผ่านการให้ความเห็นจากผู้ประเมินจากภายนอกร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบ เมื่อเห็นสมควรและมีความจำเป็นเพื่อการพัฒนาปรับปรุงงานตรวจสอบภายในให้ดียิ่งขึ้น 6.7.พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังพิจารณาเลิกจ้างผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ โดยผู้สอบบัญชีจะพ้นจากการทำหน้าที่ผู้สอบบัญชีของบริษัทในกรณีต่อไปนี้ 1)ผู้สอบบัญชีฝ่าฝืน และ/หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 89/25 ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ตามที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม) 2)ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไร้ผลตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี 3)ผู้สอบบัญชีประพฤติผิดจรรยาบรรณ ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ จรรยาบรรณ สำหรับผู้สอบบัญชีในสาระสำคัญ และได้รับโทษการพักใช้ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี 4)ถูกคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีกำหนดว่า เป็นผู้มีพฤติกรรมอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชี 6.8.สอบทานการขอรับบริการอื่นๆ จากผู้สอบบัญชีนอกเหนือจากงานให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชี (Non-Assurance Services) 6.9.พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำ หนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 6.10.จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1)ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัทฯ 2)ความเห็นเกี่ยวกับความพอเพียงของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ 3)ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ 4)ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ 5)ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี 6)ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 7)จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบแต่ละคน 8)ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร 9)รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรรมการบริษัท 6.11.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 6.12.หากมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้ความเห็นต่อการดำเนินการต่าง ๆ ของบริษัทฯคณะกรรมการตรวจสอบอาจแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นได้ โดยบริษัทฯ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น 6.13.คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของนโยบายบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริ ตคอร์รัปชัน และระบบที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยงจากการทำทุจริต โดยมีหน้าที่หลักในการบริหารความเสี่ยงองค์กร ดังต่อไปนี้ 1) ทบทวนแผนการตรวจสอบภายในเพื่อให้ครอบคลุมถึงการสอบทานการควบคุมภายในของการดำเนินงานตามมาตรการต่อต้านการ ทุจริตคอร์รัปชัน และนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความเสี่ยงจากการทำทุจริตในกระบวนการดำเนินงานอื่น ๆ 2) รับทราบรายงานเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น การรายงานตามรอบระยะเวลาบัญชีรายละเอียดของการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต รายงานด่วนเรื่องการทุจริตร้ายแรง รายงานผลการสอบสวนและบทลงโทษ เป็นต้น 3) หารือผู้สอบบัญชีในกรณีที่บริษัทฯ ประสบเหตุการณ์ทุจริตอย่างมีนัยสำคัญ 6.14.กรณีผู้สอบบัญชีแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยเกี่ยวกับการทุจริตหรือการฝ่าฝืนกฎหมา ยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารต่อคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี ภายใน 30 วันหลังได้รับแจ้ง 6.15.พิจารณาให้ความเห็นต่อแผนการตรวจสอบภายใน และการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในในการปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ 6.16.คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจเชิญฝ่ายจัดการ ผู้บริหารหรือพนักงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็นร่วมประชุมหรือส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำเป็น 6.17.พิจารณาทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท 6.18.สอบทานและอนุมัติกฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน 6.19.จัดทำรายงานการปฏิบัติงานเสนอคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6.20.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หน่วยงานรัฐ/ทางการกำหนด หรือคณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบ เห็นชอบด้วย ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นางสาวสรญา เสฐียรโกเศศ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"