เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 24 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย ชัยวัฒน์ เลิศวนารินทร์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 21 ก.พ. 2562 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย พิศาล รัชกิจประการ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 14 ต.ค. 2542 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการผู้จัดการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 14 ต.ค. 2542 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย มานิต นิธิประทีป ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 01 มิ.ย. 2560 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 01 มิ.ย. 2560 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ ชื่อกรรมการ : นาง มาลินี สัมบุณณานนท์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 23 ก.ค. 2563 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 24 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 07 ส.ค. 2563 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (2) : 24 เม.ย. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ ชื่อกรรมการ : นาง พรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 24 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 24 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (3) : 24 เม.ย. 2568 ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายมานิต นิธิประทีป วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางพรสรัญ รุ่งเจริญกิจกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางดวงสมร นุตประศาสน์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 1 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : ลำดับที่ 2 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : (1) รายงานทางการเงิน (1.1) สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการจัดทำ และการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชี และผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาส และประจำปี (2) รายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2.1) พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท (2.2) พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน (3) การควบคุมภายใน (3.1) สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล (3.2) พิจารณาผลการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชี และฝ่ายตรวจสอบภายในหรือบริษัทผู้ตรวจสอบเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน และเสนอให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้น (4) การตรวจสอบภายใน (4.1) สอบทานให้บริษัทมีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระ และมีระบบการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิผล (4.2) สอบทานกิจกรรม และโครงสร้างของฝ่ายตรวจสอบภายในหรือบริษัทผู้ตรวจสอบ และอนุมัติกฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายในหรือบริษัทผู้ตรวจสอบระบบควบคุมภายใน (4.3) ร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง เสนอความดีความชอบ โยกย้าย ถอดถอน หรือเลิกจ้าง รวมทั้งในการกำหนด และปรับค่าตอบแทนผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายในหรือบริษัทผู้ตรวจสอบระบบควบคุมภายใน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าหน่วยงานนี้ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ (4.4) สอบทานแผนการตรวจสอบภายในร่วมกับผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายในหรือบริษัทผู้ตรวจสอบระบบควบคุมภายใน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน และกระบวนการจัดการทางการเงิน (4.5) พิจารณาให้ความเห็น และให้ข้อสังเกตงบประมาณ และอัตรากำลังของฝ่ายตรวจสอบภายในหรือบริษัทผู้ตรวจสอบระบบควบคุมภายใน เพื่อเสนอฝ่ายบริหารเป็นผู้อนุมัติ (4.6) พิจารณาแผนงานตรวจสอบ และขอบเขตการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีของบริษัทรวมถึง ที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบภายใน (ถ้ามี) ให้มีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน ไม่ซ้ำซ้อน (5) การสอบบัญชี (5.1) พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี เพื่อให้ได้ผู้สอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระ โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร ปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น และประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทรวมถึงผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ตลอดจนพิจารณาถอดถอนผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะเสนอความเห็นดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป (5.2) สอบทานขอบเขต และวิธีการตรวจสอบที่เสนอโดยผู้สอบบัญชี รวมทั้งพิจารณาเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงแผนการตรวจสอบ (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงแผนการตรวจสอบในภายหลัง) (5.3) เสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทาน หรือตรวจสอบรายการใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อยได้ (5.4) สอบทานรายงานของผู้สอบบัญชีที่จัดทำ เสนอให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงแก้ไข และติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้น (5.5) พิจารณาความเพียงพอ และความมีประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายใน (5.6) รับทราบจากผู้สอบบัญชีโดยไม่ชักช้าในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามพ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ อาทิ มาตรา 281/2 วรรค 2 มาตรา 305, 306, 308, 309, 310, 311, 312 หรือมาตรา 313 เมื่อผู้สอบบัญชีได้พบ และดำเนินการตรวจสอบต่อไปโดยไม่ชักช้า รวมทั้งต้องรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่ สำนักงาน ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชีทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี (6) การปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง (6.1) สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนฯ และ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (7) การรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (7.1) คณะกรรมการตรวจสอบต้องรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบและพิจารณา อย่างน้อยไตรมาสละครั้ง (7.2) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยแสดงรายการตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด และให้ลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท (7.3) ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบ หรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการ หรือการกระทำ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทคณะกรรมการตรวจสอบต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภ ายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ทั้งนี้ รายการ หรือการกระทำดังกล่าว ได้แก่ (7.3.1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (7.3.2) การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน (7.3.3) การฝ่าฝืน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (7.4) หากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขรายการ หรือการกระทำที่เข้าลักษณะตามข้อ (7.3.1) (7.3.2) และ (7.3.3) ข้างต้น ภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร กรรมการตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง อาจรายงานว่ามีรายการ หรือการกระทำตามที่กล่าวข้างต้นต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (8) การกำกับดูแลกิจการที่ดี (8.1) สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้แนวทาง และข้อเสนอแนะที่จำเป็นเพื่อการพัฒนา (8.2) ให้ความสำคัญโดยส่งเสริมให้บริษัทกำหนดเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี ไว้เป็นวาระประจำของการประชุมคณะกรรมการบริษัทและการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัท (8.3) ติดตามให้ประธานกรรมการตรวจสอบต้องได้รับสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียตามมาตรา 89/14 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ จากเลขานุการบริษัทภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น (9) การบริหารความเสี่ยง (9.1) สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบมาตรฐานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (9.2) ร่วมกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะทำงานบริหารความเสี่ยง และฝ่ายบริหารในการพิจารณาและให้ความเห็นในรายงานผล และรายงานความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยงของบริษัท (10) ความรับผิดชอบอื่นๆ (10.1) ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ โดยที่คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทตามหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทในขณะที่ความรับผิดชอบในกิจกรรมทุกประการของบริษัท ต่อบุคคลภายนอกยังคงเป็นของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะ (10.2) ทบทวน และปรับปรุงกฎบัตรเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบนี้ให้ทันสมัย และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบริษัทเป็นปกติปีละครั้ง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา (10.3) หน้าที่ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ ประกาศกำหนดเพิ่มเติม ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายพิศาล รัชกิจประการ ) กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"