เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 23 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย บดินทร์ อภิศักดิ์ศิริกุล ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 19 ต.ค. 2565 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 23 ม.ค. 2566 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย วีรวิชช์ ชาติวิวัฒน์พรชัย ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 19 ต.ค. 2565 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 23 ม.ค. 2566 ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ การกำหนด/เปลี่ยนแปลงขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ : -ไม่มีการเปลี่ยนแปลง- รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายทิม ตั้ค ทิมโมที หว่อง วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี 8 เดือน ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายบดินทร์ อภิศักดิ์ศิริกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายวีรวิชช์ ชาติวิวัฒน์พรชัย วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายนวัช ทัฬหิกรณ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 1 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : คณะกรรมการตรวจสอบ มีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งการรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทดังนี้ 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจ ำปี 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน 3. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเลิกจ้าง บุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในของบริษัท รวมถึงพิจารณาค่าตอบแทนของผู้ตรวจสอบภายใน และกำหนดโครงสร้างให้หน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้นตรง และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง 4. อนุมัติแผนการตรวจสอบภายใน และสอบทานรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งพิจารณา ติดตามประเด็นที่พบจากรายงานผลการตรวจสอบ และอนุมัติงบประมาณประจำปี และแผนบุคลากรของฝ่ายตรวจสอบภายใน 5. สอบทานและอนุมัติกฏบัตรฝ่ายตรวจสอบภายใน รวมถึง พิจารณาและสอบทานรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน 6. สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง กระบวนการทำงาน การควบคุม การกำกับดูแลด้านการปฏิบัติงาน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและระบบเครือข่ายสื่อสารที่มีประสิทธิผล สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และติดตามผลการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งประเมินผลการจัดการความเสี่ยง จากคณะทำงานบริหารความเสี่ยง 7. สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 8. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเลิกจ้าง บุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงพิจารณา เสนอค่าตอบแทนและขอบเขตการจ้างงานของผู้สอบบัญชี โดยเป็นไปตามแนวทางสำหรับคณะกรรมการตรวจสอบในการพิจารณา คัดเลือกผู้สอบบัญชีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขอรับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 9. ติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดทำงบการเงินภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สอบบัญชีและคณะกรรมการตรวจสอบ มีระยะเวลาในการตรวจสอบ และตั้งข้อสังเกตที่เพียงพอ เพื่อให้งบการเงินที่บริษัทจัดทำขึ้นนั้นมีความถูกต้อง โปร่งใส และสามารถเปิดเผยต่อผู้ลงทุนได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่กฎเกณฑ์กำหนด 10. สอบทานความสอดคล้องของข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทกับข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการเ งิน และผลการดำเนินงานของบริษัทที่ได้มีการสื่อสารกับผู้ลงทุนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion & Analysis) รายงานประจำปี และข่าวสารสนเทศของบริษัท เป็นต้น 11. มีอำนาจในการว่าจ้างที่ปรึกษาอิสระหากมีความจำเป็น และเห็นว่าจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท 12. พิจารณาและให้ความเห็นต่อการเข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่านัยสำคัญ รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ด้วยความสุจริตและสมเหตุสมผล ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ภายหลังที่รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ รายการที่เกี่ยวโยงกันได้รับอนุมัติ กรรมการตรวจสอบควรติดตามและสอบถามถึงความคืบหน้าของการเข้าทำรายการ ดังกล่าวกับฝ่ายจัดการ พร้อมทั้งการติดตามการเข้าลงทุนรวมถึงดูแลให้บริษัทมีการเปิดเผยและรายงานความคืบหน้า ต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมด้วย 13. พิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินระดมทุน เช่น ความเป็นไปได้ของการลงทุน ความเหมาะสมของมูลค่า และช่องทางการระดมทุนรวมทั้งดำเนินการให้บริษัทมีกลไกในการดูแลและติดตามการใช้เงินระดมทุนอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการเปิดเผยไว้ ตลอดจนรายงานและเปิดเผยข้อมูลการใช้เงินที่ได้รับจาก การระดมทุนต่อผู้ถือหุ้นทราบอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอและเป็นไปตามกรอบระยะเวลาการรายงานที่หลักเกณฑ์กำหนด 14. ระหว่างการปฏิบัติงาน หากคณะกรรมการตรวจสอบพบหรือสงสัยในรายการหรือกิจกรรมใดต่อไปนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบ อย่างมีนัยสำคัญต่อสถานะทางการเงินหรือผลประกอบการของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้มีการแก้ไขรายการหรือกิจกรรมการดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที - รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ - การทุจริต หรือรายการที่ไม่ปกติ หรือการบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญของระบบควบคุมภายในของบริษัท - การฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท หากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารไม่สามารถแก้ไขรายการหรือกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที สมาชิกของคณะกรรมการ ตรวจสอบอาจรายงานรายการหรือกิจกรรมดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 15. หากผู้สอบบัญชีของบริษัทพบเหตุการณ์ที่น่าสงสัย เกี่ยวโยงกับกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อการ ปฏิบัติงานของบริษัท ละเมิดกฎหมาย และผู้สอบบัญชีได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบต้องดำเนินการโดยไม่ชักช้าในการตรวจสอบเพิ่มเติมและรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นต่อสำนั กงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้สอบบัญชี โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับ รายงานจากผู้สอบบัญชี และรายงานความคืบหน้าให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และผู้สอบบัญชีทราบเป็นระยะ 16. ส่งเสริมให้บริษัทมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Whistleblower) รวมถึงการส่งเสริมให้มีนโยบายหรือวิธีการรับมือกับเรื่องร้องเรียน และปกป้องผู้แจ้งเบาะแสอย่างเหมาะสม 17. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท โดยให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบลงนามในรายงานดังกล่าว รายงานดังกล่าวต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ - ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานงบการเงินของบริษัท - ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท - ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท - ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี - ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ - จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน - ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter) - รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 18. ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และประเมินตนเอง อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 19. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายตามที่เห็นสมควร ในการปฏิบัติงานตามขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจเชิญให้ฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องมารายงาน ให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่งเอกสารที่เห็นว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น ทั้งนี้ คณะกรรมการมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบได้ตามที่จำเป็นหรือเห็นส มควร ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นางสาวเบญญาภา เฉลิมวัฒน์ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายนวัช ทัฬหิกรณ์ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"