วันที่/เวลา 23 Apr 2025 17:10:00

หัวข้อข่าว

ชี้แจงข่าวหรือข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สอบถาม (แก้ไข)

หลักทรัพย์ KGEN
แหล่งข่าว KGEN
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจงข่าวหรือข้อมูล เรื่อง : ชี้แจงข่าวหรือข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สอบถาม รายละเอียด (แก้ไข) : ตามหนังสือที่อ้างถึง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("ตลท.") ขอให้บริษัท คิง เจน จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมและเผยแพร่ผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินประจำปี 2567 ดังนี้ 1. เงินมัดจำการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัท ซึ่งมีการยกเลิกหลายรายการ โดยได้รับเงินคืนบางส่วนหรือไม่ได้รับเงินคืนจนนำไปสู่คดีฟ้องร้อง และ 2. การลงทุนธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยใช้แหล่งเงินทุนจากการเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัด ซึ่งบริษัทฯ ได้รับเงินเพิ่มทุน 10% ของวงเงินเพิ่มทุน ซึ่งกรณีข้างต้นอาจกระทบต่อการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงดังนี้ 1. เงินมัดจำการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัท ซึ่งมีการยกเลิกหลายรายการ โดยได้รับเงินคืนบางส่วนหรือไม่ได้รับเงินคืนจนนำไปสู่คดีฟ้องร้อง 1.1 ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม (ก) การวางเงินเพื่อตรวจสอบสถานะของบริษัท ราชา อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ("บ.ราชาฯ") บริษัทฯ มีแผนขยายธุรกิจไปยังภาคตะวันออกซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งจากภาครัฐและเอกชน และมีฐานลูกค้าที่มีศักยภาพอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะกิจการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสนใจในการขยายธุรกิจผ่านความร่วมมือและการลงทุนใน บ.ราชาฯ ซึ่งมีฐานลูกค้าจำนวนมากในนิคมอุตสาหกรรมและลูกค้าอื่น ๆ ในภาคตะวันออก บริษัทฯ ได้หารือกับผู้ถือหุ้นและผู้บริหารชอง บ.ราชาฯ ในปี 2566 และได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของ บ.ราชาฯ โดยพิจารณาจากงบการเงินปี 2565 (ซึ่งเป็นฉบับตรวจสอบล่าสุดในขณะนั้น) ข้อมูลลูกค้า และทรัพย์สิน โดยผู้บริหารของบริษัทฯ ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการ ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้บริหารของ บ.ราชาฯ เพื่อประเมินถึงศักยภาพในการทำธุรกิจ และความเป็นไปได้ที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน เมื่อผู้ถือหุ้นของ บ.ราชาฯ ก็มีความสนใจที่จะทำธุรกิจร่วมกัน บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บ.ราชาฯ จึงได้จัดทำบันทึกความเข้าใจสำหรับการที่บริษัทฯ จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 50% ใน บ.ราชาฯ และบริษัทฯ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินในการทำ Due Diligence เพื่อตรวจสอบสถานะของกิจการ รวมถึงทำการประเมินมูลค่าหุ้นที่จะเข้าลงทุน ในการเข้าตรวจสอบสถานะของกิจการ ผู้ถือหุ้นของ บ.ราชาฯ ได้กำหนดเงื่อนไขให้บริษัทฯ วางเงินมัดจำจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อแสดงเจตนารมย์และความจริงใจของบริษัทฯ ในการที่จะเข้าร่วมลงทุน เนื่องจากธุรกิจของ บ.ราชาฯ มีลักษณะที่เหมือนและเป็นการแข่งขันกันกับบมจ.มนตรีฯ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นของบ.ราชาฯมีความเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับให้กับบริษัทฯ มีความเสี่ยงที่จะสงผลกระทบต่อธุรกิจของ บ.ราชาฯ ได้หากบริษัทฯ ไม่ได้มีความสนใจที่จะร่วมลงทุนจริง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดในบันทึกความเข้าใจว่าผู้ถือหุ้นของบ.ราชาฯ จะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ ทันทีที่มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง บริษัทฯ ได้ให้ผู้ถือหุ้นลงนามในตราสารการโอนหุ้นล่วงหน้าเพื่อโอนหุ้นใน บ.ราชาฯ ในสัดส่วน 50% มอบไว้ให้กับบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้เข้าตรวจสอบสถานะของกิจการของ บ.ราชาฯ แล้วพบว่าบ.ราชาฯ ไม่สามารถปิดงบการเงินในปี 2566 ได้ตามเวลาที่กำหนด เป็นเหตุให้บริษัทฯ มีข้อสงสัยในความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงินปี 2565 ที่ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ประกอบกับข้อมูลที่บริษัทฯ และที่ปรึกษาทางการเงินได้รับจากการตรวจสอบก็ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจที่จะเข้าลงทุน ดังนั้น บริษัทฯ จึงแจ้งยกเลิกบันทึกความเข้าใจและเรียกให้ผู้ถือหุ้นของ บ.ราชาฯ ชำระเงินมัดจำคืนตามบันทึกข้อตกลง (ข) การเข้าทำสัญญาร่วมดำเนินงานระหว่าง บมจ.มนตรีทรานสปอร์ต คอร์ปอเรชั่นกับ บ.ราชาฯ เมื่อบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบสถานะของกิจการของ บ.ราชาฯ ตามที่ได้ชี้แจงในข้อ 1.1 (ก) พร้อม ๆ กันนั้น บริษัทฯ ก็เริ่มพิจารณาโอกาสและช่องทางเพื่อขยายธุรกิจไปยังภาคตะวันออกโดยความร่วมมือกับบ.ราชาฯ โดยการเข้าทำความตกลงร่วมดำเนินงานเพื่อนำรถไฟฟ้าของ บมจ.มนตรีฯ ซึ่งมีต้นทุนในการให้บริการที่ต่ำกว่าเข้าไปร่วมให้บริการแก่ลูกค้าของ บ.ราชาฯ เพื่อแบ่งรายได้ อันจะเป็นผลให้ บมจ.มนตรีฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น เพื่อให้ บมจ.มนตรีฯ สามารถนำรถไฟฟ้าเข้าไปร่วมให้บริการได้ บ.ราชาฯ จะต้องเจรจากับลูกค้าเพื่อเปลี่ยนประเภทรถ และสับเปลี่ยนเส้นทางการวิ่งรถของ บ.ราชาฯ เอง รวมถึงอาจจะต้องยกเลิกสัญญากับรถร่วมบริการบางราย นอกจากนี้ การให้ บมจ.มนตรีฯ เข้ามาร่วมให้บริการกับลูกค้าของ บ.ราชาฯ ก่อนที่บริษัทฯ จะเข้าลงทุนใน บ.ราชาฯ ก็เป็นความเสี่ยงที่ บ.ราชาฯ อาจสูญเสียฐานลูกค้าของตนเองให้กับ บมจ.มนตรีฯ และบริษัทฯ ดังนั้น บ.ราชาฯ จึงได้กำหนดเงื่อนไขให้ บมจ.มนตรีฯ ต้องวางเงินจำนวน 23 ล้านบาท เพื่อแสดงว่า บมจ.มนตรีฯ มีความตั้งใจจริงที่จะนำรถไฟฟ้ามาร่วมให้บริการจริง โดยในสัญญาร่วมดำเนินงานระบุให้ บ.ราชาฯ จะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้บริษัทฯ ภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยง บมจ.มนตรีฯ ได้กำหนดให้ บ.ราชาฯ วางเช็คชำระหนี้ล่วงหน้า พร้อมทั้งโอนสิทธิการรับเงินตามสัญญากับลูกค้า โดยมีกรรมการและผู้ถือหุ้นของ บ.ราชาฯ ค้ำประกันส่วนตัว และจำนำหุ้นของบ.ราชาฯเป็นหลักประกันด้วย ต่อมา จากข้อมูลที่บริษัทฯ และบมจ.มนตรีฯ ได้รับจากการตรวจสอบสัญญากับลูกค้า และเส้นทางการเดินรถ รวมทั้งสถานะและสภาพคล่องของกิจการของ บ.ราชาฯ พบว่าการนำรถเข้าร่วมให้บริการอาจมีความเสี่ยงในเรื่องกระแสเงินสดของกิจการ และไม่สามารถสร้างผลกำไรเพียงพอที่จะนำมาแบ่งกันระหว่างคู่สัญญาได้ บมจ.มนตรีฯ จึงชะลอการร่วมดำเนินงานไว้ก่อน ประกอบกับเมื่อถึงกำหนดเวลาการคืนเงินจำนวน 23 ล้านบาทให้แก่บมจ.มนตรีฯ แล้วแต่เช็คของ บ.ราชาฯ ที่วางไว้เพื่อชำระหนี้ก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินบมจ.มนตรีฯ จึงดำเนินคดีต่อ บ.ราชาฯ และกรรมการทั้งทางแพ่งและอาญา (ค) การเข้าทำความตกลงเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นจุดจอดรถยนต์ ในปี 2567 บมจ.มนตรีฯ มีแผนที่จะก่อสร้างจุดจอดรถยนต์ของบริษัทฯ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเช่าที่ดินสำหรับจอดรถยนต์ที่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ในการนี้ บมจ.มนตรีฯ มีความประสงค์จะศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าซื้อที่ดินที่ตั้งอยู่บริเวณ ถนนกิ่งแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อพัฒนาเป็นจุดจอดรถยนต์ โดยอาจพัฒนาเป็นโครงการจุดจอดรถยนต์เต็มรูปแบบทั้งพื้นที่ โดยผู้บริหารของบริษัทฯ และ บมจ.มนตรีฯ ได้ตรวจสอบข้อมูล และสภาพของที่ดินเพื่อประเมินศักยภาพของที่ดินเบื้องต้นแล้วเห็นว่ามีความเป็นไปได้ บมจ.มนตรีฯ จึงได้ทำข้อตกลงกับเจ้าของที่ดินเพื่ออนุญาตให้ บมจ.มนตรีฯ เข้าดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการฯ เป็นระยะเวลา 120 วัน และขยายต่อได้อีก 2 คราว คราวละ 90 วัน โดยเจ้าของที่ดินตกลงจะไม่จำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันในที่ดินตลอดระยะเวลาศึกษาความเป็นไปได้ และเพื่อเป็นการตอบแทน บมจ.มนตรีฯ ตกลงวางเงินจำนวนรวม 180 ล้านบาทไว้ให้กับเจ้าของที่ดิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเมื่อโครงการฯ มีความเป็นไปได้ตามผลการศึกษาและคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้อนุมัติการเข้าทำรายการซื้อที่ดินแล้ว บมจ.มนตรีฯ จะสามารถเข้าซื้อที่ดินได้ตามสภาพที่ได้ศึกษาไว้ โดย บมจ.มนตรีฯ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษากฏหมายในการร่างสัญญาเพื่อปัองกันความเสี่ยงหรือข้อเสียเปรียบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าทำรายการ โดยเจ้าของที่ดินได้ออกเช็คล่วงหน้าเป็นค่าคืนเงินมัดจำวางไว้ให้กับ บมจ.มนตรีฯ และผู้ถือหุ้นของเจ้าของที่ดินก็ทำสัญญาจำนำหุ้นไว้เป็นหลักประกันอีกชั้นหนึ่งด้วย บมจ.มนตรีฯ ได้ว่าจ้างผู้ประเมินทรัพย์สินที่อยู่ในรายชื่อที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินก่อนที่จะทำรายการขออนุมัติซื้อทรัพย์สินจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ได้ทำการประเมินศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแล้วได้ข้อสรุปว่าการเข้าซื้อที่ด ินเพื่อดำเนินโครงการจุดจอดรถยนต์นั้นไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ทั้งในรูปแบบของการได้มา อัตราผลตอบแทนของการพัฒนาเป็นจุดจอดรถยนต์ ราคาเสนอขายของผู้ขาย รวมถึงกระแสเงินสดจากการลงทุนที่ต้องใช้เงินสดจำนวนมากในการเข้าทำรายการ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 13/2567 ประชุมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 จึงได้มีมติรับทราบการรับคืนเงินมัดจำและรับทราบผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาจุดจอดรถยนต์ อย่างไรก็ตามได้มีการปรึกษากันในที่ประชุมถึงความมีศักยภาพของที่ดินดังกล่าวในการพัฒนาเป็นโครงการอสังหา ริมทรัพย์รูปแบบอื่น ๆ อยู่ด้วยเช่นกัน อนึ่ง ในปัจจุบัน บมจ.มนตรีฯ ได้รับเงินที่วางไว้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว โดยบมจ. มนตรีฯ ได้รับเงินงวดสุดท้ายจำนวน 60 ล้านบาทในวันที่ 6 มีนาคม 2568 (ง) การเข้าทำข้อตกลงเพื่อซื้อที่ดินสิ่งปลูกสร้าง บ.มนตรีฯ ได้เข้าทำข้อตกลงเพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เป็นโรงงานประกอบรถยนต์ยี่ห้อโอโมดา แอนด์แจคู และได้วางเงินมัดจำไว้กับเจ้าของที่ดินจำนวนรวม 230 ล้านบาท โดยเป็นการวางเงินมัดจำส่วนแรกในขณะที่เข้าทำสัญญาจำนวน 30 ล้านบาท และต่อมามีการวางเงินมัดจำเพิ่มอีกหลายครั้งจนครบเป็นจำนวนเงิน 230 ล้านบาทเนื่องจากการดำเนินการหาเงินเพิ่มทุนมีความล่าช้า จึงเป็นการวางเงินมัดจำเพิ่มเพื่อขยายระยะเวลาในการชำระค่าที่ดินทั้งหมด 1,000 ล้านบาท ต่อมา บมจ.มนตรีฯ ได้โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้กับ บริษัท โอโมดา แอนด์ เจคู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (OJMT) ซึ่งเป็นบริษัทที่กลุ่มบริษัทเข้าร่วมลงทุนเพื่อผลิตรถไฟฟ้าตามที่ได้ระบุรายละเอียดไว้ในครั้งที่ขออนุมั ติการเข้าลงทุนจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2567 ไปแล้ว ทั้งนี้ ในปัจจุบัน OJMT ได้ดำเนินการเข้าซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้ทำการจ่ายคืนเงินมัดจำค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับบ.มนตรีฯ ครบทั้งจำนวน 230 ล้านบาทแล้วในวันที่ 11 มีนาคม 2568 1.2 ความเห็นของคณะกรรมการ บริษัทฯ ได้เรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 เป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ข้างต้นตามที่ ตลท. ขอให้ชี้แจง ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติรับทราบการชี้แจงของบริษัทฯ ตามข้อ 1.1 และมีความเห็นดังนี้ 1.2.1 ความสมเหตุสมผลของการวางเงินมัดจำและการพิจารณาความสามารถในการดำเนินการตามสัญญาของคู่สัญญา ความเสี่ยงและการป้องกันความเสี่ยงจากการเข้าลงทุน และไม่ได้เงินมัดจำคืน รวมถึงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ แผนการขยายธุรกิจ และสภาพคล่องของกลุ่มบริษัท (ก) การวางเงินเพื่อตรวจสอบสถานะของบ.ราชาฯ คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าด้วยข้อมูลเบื้องต้นที่ปรากฏในงบการเงินปี 2565 ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลสัญญาที่มีกับลูกค้า ณ วันที่อนุมัติเข้าทำรายการ บ.ราชาฯ มีความน่าสนใจเพราะเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในทางธุรกิจ และสามารถเป็นฐานในการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ไปในภาคตะวันออกได้ เงื่อนไขในการต้องวางเงินมัดจำดังกล่าวจำนวน 10 ล้านบาท (ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของรายได้ของบ.ราชาฯ ที่มีรายได้ต่อปีประมาณ 600 ล้านบาท) มีความสมเหตุสมผลและยอมรับได้เนื่องจากลักษณะของธุรกิจของ บ.ราชาฯ ที่เป็นการแข่งขันกันกับ บมจ.มนตรีฯ การเปิดเผยข้อมูลให้กับบริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงที่จะสงผลกระทบต่อธุรกิจของ บ.ราชาฯ ได้ นอกจากนี้ คู่สัญญาซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บ.ราชาฯ ก็สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหุ้นได้ โดยหากมีการลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกันต่อไปเงินมัดจำดังกล่าวก็จะถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อขาย และหากบริษัทฯ ตัดสินใจไม่ลงทุน ผู้ถือหุ้นของ บ.ราชาฯ ก็จะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ เต็มจำนวน (ข) การเข้าทำสัญญาร่วมดำเนินงานระหว่าง บมจ.มนตรีฯ กับ บ.ราชาฯ คณะกรรมการเห็นว่าความร่วมมือทางธุรกิจกับ บ.ราชาฯ ซึ่งมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและมีฐานลูกค้าที่มีคุณภาพ นอกจากจะเป็นการเปิดช่องทางในการขยายธุรกิจไปยังภาคตะวันออกแล้วยังจะเป็นช่องทางในการนำทรัพย์สินของ บ.มนตรีฯ มาสร้างรายได้เพิ่ม และยังจะช่วยให้ บมจ.มนตรีฯ สามารถประเมินธุรกิจของ บ.ราชาฯ ในเชิงปฏิบัติการได้อีกด้วย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของบริษัทฯ ในการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนในบ.ราชาฯ นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการปิดโอกาสของคู่แข่งขันรายอื่นมิให้เข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดผ่านความร่วมมือ กับ บ.ราชาฯ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ บมจ.มนตรีฯ จะเข้ามาร่วมให้บริการกับลูกค้าของ บ.ราชาฯ ก็เป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจของ บ.ราชาฯ เอง ดังนั้น เงื่อนไขการวางเงินดังกล่าวจำนวน 23 ล้าน (คิดเป็นประมาณ 7.2% ของมูลค่าสัญญาลูกค้าที่บ.ราชาฯ จะนำมาให้บมจ.มนตรีฯ ร่วมให้บริการ) จึงมีความสมเหตุสมผลทางธุรกิจเมื่อพิจารณาถึงโอกาสที่กลุ่มบริษัทจะได้รับจากความร่วมมือดังกล่าว นอกจากนี้ จากการประเมินคุณภาพของลูกค้าและเส้นทางการให้บริการของ บ.ราชาฯ ประกอบกับทรัพย์สินที่ปรากฏตามงบการเงิน รวมทั้งหลักประกันที่ได้รับ ณ วันที่อนุมัติเข้าทำรายการแล้ว เห็นว่า บ.ราชาฯ และผู้ค้ำประกันมีกระแสเงินสดและทรัพย์สินเพียงพอที่จะนำมาชำระเงินมัดจำคืนให้แก่ บมจ.มนตรีฯ ได้ (ค) การเข้าทำความตกลงเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นจุดจอดรถยนต์ การวางเงินมัดจำจำนวน 180 ล้านบาทดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาแล้วว่ามีความสมเหตุสมผล เนื่องจากพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีทำเลที่ตั้งอยู่ติดถนน และเป็นที่ดินแปลงใหญ่ติดกันซึ่งมีการพัฒนาแล้ว มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นโครงการจุดจอดรถยนต์ของ บมจ.มนตรีฯ และยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นโครงการอื่นได้อีกในหลายรูปแบบ การเสาะหาที่ดินผืนใหม่ที่มีศักยภาพใกล้เคียงกันมาทดแทนอาจต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เมื่อพิจารณาเทียบกับการรักษาโอกาสในการเข้าซื้อที่ดินดังกล่าว ประกอบกับหลักประกันที่เจ้าของที่ดินได้วางไว้ โดยหากโครงการมีความเป็นไปได้ และมีการลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดินกันต่อไปเงินที่วางไว้ดังกล่าวก็จะถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อขาย และหาก บมจ.มนตรีฯ ตัดสินใจไม่ซื้อที่ดิน เจ้าของที่ดินก็จะต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้เต็มจำนวน และในปัจจุบัน บมจ.มนตรีฯ ก็ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนเต็มจำนวนแล้ว คณะกรรมการมีความเห็นเพิ่มเติมว่าการเข้าทำความตกลงและวางเงินดังกล่าวข้างต้นในหัวข้อ (ก), (ข) และ (ค) มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ โดยมุ่งหวังในการเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ได้ทำรายการแล้ว ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอาจจะได้ผลที่ไม่เป็นไปตามที่บริษัทฯ ได้คาดการณ์ไว้ หรืออาจปรากฏข้อเท็จจริงบางประการที่เป็นความเสี่ยงของโครงการ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องยุติหรือชะลอการดำเนินการไว้ก่อน พร้อมทั้งเรียกให้คู่สัญญาคืนเงินที่วางไว้ให้กับบริษัทฯ/กลุ่มบริษัท นอกจากนี้ การวางเงินดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ ใช้เงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับจากการเพิ่มทุนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการใช้สภาพคล่องที่คงเหลือจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทในเครือในการเข้าทำรายการ การชะลอหรือยกเลิกการดำเนินโครงการมิได้ส่งผลกระทบต่อแผนการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ โดยกลุ่มบริษัทฯ ยังมีแผนการขยายธุรกิจอื่นรองรับ หรืออาจปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินโครงการที่ทำการศีกษาไว้เพื่อให้โครงการมีความเป็นไปได้ (ง) การเข้าทำข้อตกลงเพื่อซื้อที่ดินสิ่งปลูกสร้าง คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าการวางเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นธุรกรรมตามปกติซึ่งอาจม ีจำนวนเงินที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรอง ลักษณะและศักยภาพของที่ดิน ระยะเวลาในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว การวางเงินมัดจำเพิ่มเติมนั้นมีความจำเป็นเนื่องจากการขอขยายเวลาชำระเงินงวดสุดท้ายและการจดทะเบียนโอนกร รมสิทธิในที่ดินซึ่งมีสาเหตุมาจากความล่าช้าในการจัดหาเงินเพิ่มทุนเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและตลาดหลัก ทรัพย์ที่ตกต่ำ การวางเงินมัดจำเพิ่มเติมก็เพื่อมิให้บมจ.มนตรีฯ และ OJMT ต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คณะกรรมการเห็นว่า ณ วันที่อนุมัติเข้าทำรายการเจ้าของที่ดินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะขายที่ดินให้กับ บมจ.มนตรีฯ/OJMT ได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน OJMT ก็ได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการมีความเห็นเพิ่มเติมว่าการเข้าทำความตกลงและวางเงินดังกล่าวในหัวข้อ (ง) มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ โดยมุ่งหวังในการเพิ่มรายได้ และกำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทเป็นสำคัญ การวางเงินดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ ใช้เงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับจากการเพิ่มทุนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการใช้สภาพคล่องที่คงเหลือจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทในเครือในการเข้าทำรายการ 1.2.2 นโยบายการลงทุนในอนาคตเพื่อไม่ให้เกิดกรณีไม่ได้เงินมัดจำคืนหรือมีข้อพิพาท เช่น การให้วางหลักประกัน เป็นต้น คณะกรรมการได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการลงทุนของกลุ่มบริษัทฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าซื้อทรัพย์สิน หรือการเข้าซื้อกิจการ โดยในรายการเข้าซื้อทรัพย์สินที่เป็นหุ้นของกิจการ ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทำการศึกษาสถานะของกิจการอย่างละเอียด (Due Diligence) สำหรับการเข้าซื้อทรัพย์สินที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างก็ได้มีการว่าจ้างผู้ประเมินทรัพย์สินที่ได้รั บความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ดำเนินการทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารพิจารณาปรับปรุงกฎบัตรและนโยบายการลงทุนเพื่อให้มีความรัดกุมมากขึ้นโด ยเฉพาะในประเด็นของการวางเงินล่วงหน้า หรือมัดจำ และการป้องกันความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินคืน โดยจะระบุว่านอกจากจะกำหนดให้ต้องมีการวางหลักประกันแล้ว หลักประกันดังกล่าวยังควรต้องมีความน่าเชื่อถือ มีสภาพบังคับ หรือสภาพคล่องด้วย โดยกำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานประเมินความเสี่ยงของการลงทุนขึ้นเพื่อพิจารณากลั่นกรองและให้ความเห็นใ นเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการ 1.2.3 รายการดังกล่าวเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือไม่ อย่างไร รายการดังกล่าวข้างต้นข้างต้นทั้งหมดไม่เข้าข่ายรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการบริษัท และผู้บริหารของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทำรายการดังกล่าวไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามนิยามของกฎหมาย แต่อย่างใด 2. การลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า: กลุ่มบริษัทลงทุนใน OJMT และ บจก. โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย) (OJST) เพื่อลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยจะใช้แหล่งเงินทุนจากการเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัด 4 ราย 1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนจาก PP 2 ราย คือ นายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา และนายเอนก ปิ่นวนิชย์กุล จำนวน 10% ของเงินเพิ่มทุน ดังนั้นจึงขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ 2.1 ความเพียงพอของเงินทุนเพื่อประกอบธุรกิจและการจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ความคืบหน้าการก่อสร้างโรงงาน และกรอบเวลาแล้วเสร็จเพื่อมีรายได้เชิงพาณิชย์ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ กรณียังจัดหาแหล่งเงินทุนไม่ได้ อธิบายผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ตามที่บริษัทฯ ได้ขออนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2567 ซึ่งได้ระบุความต้องการใช้เงินทุนจำนวน 1,261,870,000 บาทนั้น บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่าวงเงินและความต้องการใช้เงินในการลงทุนยังคงเป็นจำนวนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาลงทุนในโครงการดังกล่าวนั้น บริษัทฯ ยังคงมีเป้าหมายในการจัดหาแหล่งเงินทุนส่วนหนึ่งจากการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP : Private Placement) จำนวน 500 ล้านหุ้น ตามที่ได้ขออนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2567 ไว้แล้ว ซึ่งได้มีผู้ถือหุ้นใช้สิทธิซื้อหุ้นไปแล้วจำนวน 100 ล้านหุ้น คงเหลืออีก 400 ล้านหุ้นที่รอผู้ที่ได้รับสิทธิซื้อหุ้นเข้าดำเนินการชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ทั้งนี้สาเหตุของความล่าช้าดังกล่าวเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงสภาวะตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงขาลง ทำให้การระดมทุนมีความล่าช้าไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทฯ คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีการจัดหาแหล่งเงินทุนแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น กองทุน รวมถึงสถาบันการเงิน บริษัทฯ ได้เผยแพร่ข่าวทางเว็บไชต์ของทางตลาดหลักทรัพย์ไปตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2568 เกี่ยวกับการซื้อที่ดินโรงงานเพื่อนำมาดำเนินการเป็นโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีโรงงานที่สร้างเสร็จพร้อมใช้งานอยู่แล้ว ดังนั้นในขั้นตอนถัดไปจึงเป็นการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อทำการประกอบรถยนต์ อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยความล่าช้าในการเข้าซื้อที่ดินและโรงงานรวมถึงความล่าช้าในการระดมเงินทุน ทำให้กรอบระยะเวลาในการที่โรงงานจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในเชิงพาณิชย์อาจจะต้องเลื่อนออกไปจากไตรมาส 3 ปี 2568 เป็นไตรมาสที่ 4 ปี 2568 ซึ่งการเลื่อนระยะเวลาการเริ่มผลิตออกไป 1 ไตรมาสจึงไม่ได้กระทบต่ออัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับมากนัก 2.2 สรุปโครงสร้างการถือหุ้น ณ ปัจจุบันของ บริษัท โอโมดา แอนด์ เจคู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ("OJMT") และบริษัท โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย) จำกัด ("OJST") หากบริษัทร่วมทุนเป็นบริษัทต่างชาติถือหุ้นมากกว่า 49% จะส่งผลกระทบต่อการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของ OJMT ตามกฏหมายหรือไม่ อย่างไร บริษัทฯ ถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 99.99 ในบริษัท คิงเจน ออโต้ จำกัด (KGA) และ KGA ถือหุ้นใน OJMT และ OJST (โดยพิจารณาจากทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ ปัจจุบันของทั้ง OJMT และ OJST) ดังนี้ บริษัท ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (บาท) OJMT สัดส่วนการถือหุ้น (%) ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (บาท) OJST สัดส่วนการถือหุ้น (%) 1. อู๋หู ผู่รุ่ย ออโต โมบิล อินเวสต์เมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด ("Purui") 714,369,900 75.6% 100,999,900 92.3% 2. KGA 230,000,100 24.4% 8,416,725 7.7% รวม 944,370,000 100% 109,416,625 100% ณ ปัจจุบัน Purui บริษัทที่เป็นสัญชาติจีนถือหุ้นใน OJMT ที่สัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน OJMT ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ซึ่งได้อนุมัติสิทธิประโยชน์ในการถือครองที่ดินให้แก่ OJMT เป็นผลให้ OJMT สามารถถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ได้ แม้ว่า OJMT จะเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ก็ตาม ซึ่งในการนี้ OJMT ก็ได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากสำนักงานที่ดิน และได้โอนกรรมสิทธิ์บนที่ดินดังกล่าวแล้วเสร็จโดยถูกต้องตามกฏหมายแล้วด้วยดังที่ได้ชี้แจงไปแล้วเบื้องต้ น อนึ่ง บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายในการเพิ่มทุนใน OJMT และ OJST ให้ได้สัดส่วนร้อยละ 60 และ 25 ตามลำดับ โดยคาดว่าจะทำการเพิ่มทุนในบริษัททั้งสองดังกล่าวแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 3/2568 ตามที่ได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นไว้ 2.3 บริษัทจัดเงินลงทุนใน OJMT และ OJST เป็นประเภทใด หากเป็นบริษัทย่อย บริษัทได้ดำเนินการตามเกณฑ์ได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกันเมื่อมีการเข้าลงทุนแล้วหรือไม่ อย่างไร ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ จัดเงินลงทุนใน OJMT และ OJST เป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม และได้ดำเนินการตามเกณฑ์การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่ได้ดำเนินการขออนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2567 เป็นที่เรียบร้อย จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ บริษัท คิง เจน จำกัด (มหาชน) (นางสาวพรทิพย์ ตรงกิ่งตอน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลงลายมือชื่อ ___________________________ ( นางสาวพรทิพย์ ตรงกิ่งตอน ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"