เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 18 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย ณัฐพล ธนาเตชะวงศ์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 31 มี.ค. 2558 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 19 เม.ย. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ ชื่อกรรมการ : นาย ภาคภูมิ กังสนานนท์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 19 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการบริหาร วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 26 ก.พ. 2568 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ ชื่อกรรมการ : นาย ชลชาสน์ วรวุฒิจงสถิต ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 11 ต.ค. 2565 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 19 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 11 ต.ค. 2565 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (2) : 19 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (3) : 19 เม.ย. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ ชื่อกรรมการ : นาย พุฒิกานต์ เอารัตน์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 19 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 19 เม.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (3) : 19 เม.ย. 2568 ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายธนกร หวังพิพัฒน์วงศ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายพุฒิกานต์ เอารัตน์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายวิศิษฎ์ สถิตจินดาวงศ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ชื่อ-นามสกุล : วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับ : 5 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายสมโภช พรเจริญวิวัฒน์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 1-2 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 1. สอบทานให้บริษัท และบริษัทย่อย มีการรายงานทางการเงิน (รายไตรมาสและประจำปี) ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กฎหมายกำหนด โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะประสานงานและประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีและผู้บริหารที่รับผิดชอบการจัดทำรายงานทางก ารเงิน (รายไตรมาสและประจำปี) และการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ รวมถึงนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป 2. สอบทานให้บริษัท และบริษัทย่อยมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 3. สอบทานและอนุมัติแผนงานตรวจสอบภายในร่วมกับผู้ตรวจสอบภายใน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน และกระบวนการจัดการทางการเงิน พิจารณาให้ความเห็น และให้ข้อสังเกตงบประมาณ และอัตรากำลังของส่วนตรวจสอบภายใน เพื่อเสนอให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้อนุมัติ พิจารณาแผนงานตรวจสอบ และขอบเขตการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบภายใน (ถ้ามี) ให้มีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน ไม่ซ้ำซ้อน รวมทั้งสอบทานรายงานผลการตรวจสอบภายใน รวมทั้งพิจารณาติดตามประเด็นที่พบจากรายงานผลการตรวจสอบภายใน 4. พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 5. สอบทานให้บริษัท และบริษัทย่อยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎ ประกาศ ระเบียบข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท รวมทั้งสอบทานให้บริษัทย่อยของบริษัท ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในนโยบายการกำกับดูแลการดำเนินงานในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม และนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี 6. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร ปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น และประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจบัญชีของบริษัท รวมถึงผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ตลอดจนพิจารณาถอดถอนผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะเสนอความเห็นดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ตลอดจนประสานงานกับผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานตรวจสอบ ขอบเขต แนวทาง แผนงาน และปัญหาที่พบระหว่างตรวจสอบ และประเด็นที่ผู้สอบบัญชีเห็นว่าเป็นสาระสำคัญ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 7. สอบทานขอบเขต และวิธีการตรวจสอบบัญชีที่เสนอโดยผู้สอบบัญชี รวมทั้งพิจารณาเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงแผนการตรวจสอบ (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงแผนการตรวจสอบในภายหลัง) รวมถึงเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทาน หรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อยได้ และสอบทานรายงานของผู้สอบบัญชีที่จัดทำเสนอให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงแก้ไข และติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้น 8. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลในการทำรายการดังกล่าวอย่างถูกต้องครบถ้วน ตลอดจนการกำกับดูแลการดำเนินงานในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม และนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 9. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ และอย่างน้อยจะต้องมีข้อมูลตามที่ประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด และจะต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายใน ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบจากคณะกรรมการบริษัท 10. รายงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำอยู่เป็นประจำ เพื่อคณะกรรมการบริษัทจะได้ทราบถึงกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ ก) รายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งระบุความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ ไว้ อย่างชัดเจน ข) รายงานเกี่ยวกับความเห็นต่อรายงานทางการเงิน การตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง ค) รายงานอื่นใดที่เห็นว่าคณะกรรมการบริษัทควรทราบ 11. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุง แก้ไข ภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ดังต่อไปนี้ ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข) ข้อสงสัย หรือสันนิษฐานว่าอาจมีการทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องสำคัญในระบบการควบคุมภายใน ค) ข้อสงสัยว่าอาจมีการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท หากคณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทถึงสิ่งที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน และได้มีการหารือร่วมกันกับคณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารแล้วว่าต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เมื่อครบกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ร่วมกัน หากคณะกรรมการตรวจสอบพบว่า มีการเพิกเฉยต่อการดำเนินการแก้ไขดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานสิ่งที่พบดังกล่าวต่อสำนักงาน ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ 12. ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายระบุ และได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทรับทราบ เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไปโดยไม่ชักช้า ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้แก่สำนักงาน ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้สอบบัญชีทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ พฤติการณ์อันควรสงสัยที่ต้องแจ้งดังกล่าว และวิธีการเพื่อให้ได้ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์นั้น ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด 13. พิจารณาและให้ความเห็นชอบงบประมาณประจำปี อัตรากำลัง และทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน อนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปี รวมถึงการพิจารณาอนุมัติการทบทวนปรับเปลี่ยนแผนงานตรวจสอบ รวมถึงกำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในให้สอดคล้องตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน และประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเป็นประจำทุกปี รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับหัวหน้าผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายใน เพื่อหารือประเด็นที่ความสำคัญอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยไม่มีฝ่ายจัดการอยู่ด้วย 14. ให้มีอำนาจเชิญกรรมการบริษัท ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน หรือพนักงานของบริษัทเข้าหารือหรือตอบข้อซักถามของคณะกรรมการตรวจสอบ 15. คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจที่จะขอความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใดเมื่อเห็นว่าจำเป็ นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท 16. ร่วมพิจารณาผลการประชุมของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส 17. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย เช่น ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหาร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทในรายงานที่สำคัญที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ รายงานและบทการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น 18. พิจารณาความเพียงพอ และความมีประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายใน 19. สอบทานกระบวนการภายในของบริษัทเกี่ยวกับการรับแจ้งเบาะแส การรับข้อร้องเรียน และการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ข้อกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด 20. คณะกรรมการตรวจสอบจะทบทวนความเหมาะสมของกฎบัตรอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหาในกฎบัตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ในการดำเนินของบริษัท และการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายในปัจจุบัน โดยกฎบัตรที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างมีนัยสำคัญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"