วันที่/เวลา 01 เม.ย. 2568 12:55:00

หัวข้อข่าว

การแต่งตั้งประธานกรรมการอิสระ ประธานกรรมการ และกรรมการเฉพาะเรื่องที่ครบวาระ

หลักทรัพย์ GGC
แหล่งข่าว GGC
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 31 มี.ค. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย ณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : ประธานกรรมการ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 15 พ.ค. 2567 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย กำชัย จงจักรพันธ์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : ประธานกรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 17 ต.ค. 2561 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 01 ม.ค. 2561 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาง สมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 22 พ.ย. 2566 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 22 พ.ย. 2566 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายกำชัย จงจักรพันธ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี 1 เดือน 1 วัน ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางกรรณิการ์ งามโสภี วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี 1 เดือน 1 วัน ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี 10 เดือน 26 วัน ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางคุณากร วิทยไพศาล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 0 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 2-3 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 1. ขอบเขตหน้าที่ คณะกรรมการตรวจสอบมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ สนับสนุนด้านการกำกับดูแลกิจการที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านกระบวนการรายงานทางการเงิน การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบภายใน โดยมีรายละเอียดขอบเขตอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.1 รายงานทางการเงินและการสอบบัญชี - สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอเหมาะสม มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้ฝ่ายจัดการและผู้สอบบัญชีเข้าร่วมในการสอบทานรายงานทางการเงิน - พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เพื่อให้ได้ผู้สอบบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ ระยะเวลาการทำหน้าที่ของผู้สอบบัญชี และมีความเป็นอิสระ รวมถึงเสนอถอดถอนผู้สอบบัญชี ในกรณีที่เห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตลอดจนการประเมินคุณภาพงานสอบบัญชี เพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ - พิจารณาเกี่ยวกับการใช้บริการอื่นที่ไม่ใช่การสอบบัญชี (non-audit services) ของสำนักงานสอบบัญชี และให้ความเห็นชอบการใช้บริการดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี - ส่งเสริมความเป็นอิสระและให้ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี 1.2 การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลกิจการที่ดี - สอบทานให้บริษัทฯ มีการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และครอบคลุมทุกด้านที่สำคัญ รวมทั้ง สอดคล้องกับมาตรฐานสากล - สอบทานให้บริษัทฯ มีกระบวนการในการต่อต้านทุจริต คอร์รัปชันสอดคล้องตามแนวทางของหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ การประเมินความเสี่ยง การสร้างระบบงานเชิงป้องกัน การตรวจสอบและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน (Whistleblower) และอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีระบบต่างๆ ในการต่อต้านทุจริต คอร์รัปชันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 1.3 การตรวจสอบภายใน - สอบทานให้บริษัทฯ มีการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผู้ตรวจสอบภายในมีความรู้ความเชี่ยวชาญ สามารถระบุความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ และกำกับให้หน่วยงานตรวจสอบภายในปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน และสนับสนุนให้มีการประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายในตามมาตรฐานสากล - สนับสนุนความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน พิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย ผลการปฏิบัติงาน ความดีความชอบของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมไปถึงการทบทวนโครงสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายใน พิจารณาความเพียงพอของงบประมาณและอัตรากำลังพร้อมกับฝ่ายจัดการและหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้งานตรวจสอบภายในสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ หากมีข้อจำกัดด้านบุคลากร หรือจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ให้ดำเนินการว่าจ้างผู้ตรวจสอบภายนอกได้ตามความเหมาะสม - พิจารณาอนุมัติกฎบัตรหน่วยงานตรวจสอบภายใน - สอบทานและอนุมัติแผนการตรวจสอบภายในประจำปี ซึ่งสอดคล้องกับประเภทและระดับความเสี่ยงและสนับสนุนแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ - สอบทานและพิจารณาร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ - ประสานความเข้าใจระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบ ฝ่ายจัดการ หน่วยงานตรวจสอบภายในกับผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ให้มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน - กำกับดูแลให้การปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ นอกเหนือจากงานตรวจสอบภายในของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ไม่ให้กระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน หรือความเที่ยงตรงของผู้ตรวจสอบภายใน 1.4 การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง - สอบทานให้บริษัทฯ มีกระบวนการควบคุมและติดตามการปฏิบัติงาน (Compliance) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ - พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - รวมถึงการพิจารณารายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่มีมูลค่านัยสำคัญที่ไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกั น ที่จะต้องขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ความเห็นต่อความเหมาะสม และความสมเหตุสมผลของการทำรายการ - ดำเนินการให้บริษัทมีกระบวนการรายงานการเข้าทำธุรกรรมที่ฝ่ายจัดการเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้คณะกรรมการท ราบเป็นประจำ - กำหนดให้ดำเนินการตรวจสอบเมื่อได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีกรณีพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ฝ่ายจัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทฯ กระทำความผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา 281/2 วรรคสอง มาตรา 305 มาตรา 306 มาตรา 308 มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 311 มาตรา 312 หรือมาตรา 313 และรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้สอบบัญชีทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี 1.5 การต่อต้านทุจริต คอร์รัปชันและการจัดให้มีมาตรการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์และการกระทำอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่การทุจริต คอร์รัปชัน - สอบทานและกำกับดูแลให้บริษัทฯ มีมาตรการให้บุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสีย รวมตลอดถึงพนักงานบริษัทฯ สามารถให้ข้อมูล แจ้งเบาะแส ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชันและพฤติกรรมอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่การทุจริต คอร์รัปชัน - สอบทานและกำกับดูแลให้บริษัทฯ มีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์และเรื่องอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน เช่น การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด และสอบทานแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันตามแนวทางของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเ อกชนไทย (CAC) ตามที่หน่วยงานตรวจสอบภายในได้ตรวจสอบและประเมินแล้ว - ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายการรับเรื่องร้องเรียน และรับทราบถึงมาตรการที่ฝ่ายจัดการ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาและจัดทำกระบวนการป้องกัน 1.6 หน้าที่อื่นๆ - คณะกรรมการตรวจสอบสามารถขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอกได้ในกรณีจำเป็น และเหมาะสม โดยบริษัทฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย - ทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่ออนุมัติ - ในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้ข้อมูลจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎระเบียบภายในที่เกี่ยวข้อง - ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 2. ความรับผิดชอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรง ตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย และคณะกรรมการบริษัทฯ ยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก 3. การประชุม 3.1 ควรมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 6 ครั้ง โดยอาจเชิญฝ่ายจัดการ หรือพนักงานของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้สอบบัญชีมาร่วมประชุม ให้ความเห็น ข้อมูลหรือส่งเอกสารตาม ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องหรือจำเป็น 3.2 ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทุกครั้ง องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการตรวจสอบเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการตรวจสอบทั้งหมดที่มี อยู่ในตำแหน่งขณะนั้น จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม 3.3 กรรมการตรวจสอบที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาเรื่องใด ให้รายงานที่ประชุมทราบเหตุของการมีส่วนได้เสีย และเมื่อได้รายงานและตอบข้อซักถามแล้วให้ออกจากที่ประชุม เพื่อให้กรรมการตรวจสอบที่เหลืออยู่ได้พิจารณาแสดงข้อคิดเห็น และออกเสียงลงคะแนนโดยอิสระ และถ้าที่ประชุมมีมติด้วยการลงคะแนนลับไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการเห็นว่าเรื่องที่มีส่วนได้เสียนั้นไ ม่ถึงขนาดทำให้กรรมการผู้นั้นเสียความเป็นกลาง ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ หากที่ประชุมมีมติว่าการมีส่วนได้เสียจะเป็นเหตุให้กรรมการเสียความเป็นกลาง กรรมการตรวจสอบที่มีส่วนได้เสีย ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น โดยเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบจะบันทึกรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการตรวจสอบไว้ในรายงานการประชุมด้วย 3.4 กรรมการมีสิทธิออกเสียงคนละ 1 เสียง และใช้คะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีสิทธิออกเสียง ในกรณีที่การลงมติโดยมีเสียงเท่ากัน ประธานกรรมการมีสิทธิออกเสียงอีก 1 เสียง เพื่อเป็นการชี้ขาด 3.5 จัดให้มีการประชุมร่วมกับกรรมการผู้จัดการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4. การรายงาน 4.1 จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ โดยแสดงรายการตามที่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดและต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ 4.2 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นรายไตรมาสและผลการดำเนินงานประจำปี เพื่อรายงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบผลการดำเนินการดำเนินงานที่สำคัญและผลการตรวจสอบที่มีนัยสำคัญต่อ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะที่สำคัญของคณะกรรมการตรวจสอบ 4.3 ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่า มีรายการหรือการกระทำซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในเรื่องต่อไปนี้ (1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2) การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน (3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร หากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือฝ่ายจัดการไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาดังกล่าว กรรมการตรวจสอบอาจรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการตรวจสอบต้องประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบตามกรอบความรับผิดช อบอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข ) กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"