วันที่/เวลา 25 มี.ค. 2568 18:15:00
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง (F24-1)
หลักทรัพย์ ADVANC
แหล่งข่าว ADVANC
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร
ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง
วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 24 มี.ค. 2568
ชื่อกรรมการ : นาย ปรีดี ดาวฉาย
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 09 ก.ย. 2565
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 09 ก.ย. 2565
______________________________________________________________________
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1)
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้
ลำดับ : 1
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี
ลำดับ : 2
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : นายเฆราร์โด ซี. จูเนียร์ อบลาซา
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี
ลำดับ : 3
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : นายปรีดี ดาวฉาย
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี
ลำดับ : 4
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : นายอำนวย อุทัยรังษี
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) :
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ :
1) สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินท
ี่กฎหมายกำหนด และมีการเปิดเผยอย่างเพียงพอ
2) พิจารณาคุณสมบัติ ความเป็นอิสระ และผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี รวมถึงการหมุนเวียนผู้สอบบัญชี
พร้อมทั้งให้ข้อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อเสนอขออนุมัติการแต่งตั้ง เลือกกลับมาใหม่ เลิกจ้าง
และกำหนดค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีของบริษัทจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
3) ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4) พิจารณานโยบายของบริษัทเกี่ยวกับการใช้บริการอื่นที่มิใช่การสอบบัญชีจากสำนักงานสอบบัญชีเดียวกัน
5) สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)
ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง และการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน
ความดีความชอบของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมถึง
ประชุมกับหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วม
เพื่อสอบทานถึงข้อจำกัดในการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในที่อาจมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระ
6) สอบทานและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยงานตรวจสอบภายใน แผนงานตรวจสอบภายในประจำปี ซึ่งรวมถึงงบประมาณ
และทรัพยากรด้านการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
ตลอดจนความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี
7) จัดให้มีการสอบทานคุณภาพของระบบการตรวจสอบภายในโดยผู้ประเมินอิสระจากภายนอกองค์กรอย่างน้อยทุก 5 ปี
(Independent Quality Assessment Review)
8) สอบทานให้บริษัทมีระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
และสนับสนุนคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลความเสี่ยงของบริษัทในภาพรวม โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
(ก) กลั่นกรองกรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management Framework)
ที่สำคัญได้แก่ นโยบาย ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ความสามารถในการรับความเสี่ยง
(Risk Capacity) และช่วงความเบี่ยงเบนของผลการปฏิบัติงานที่ยอมรับได้ (Tolerance)
(ข) กลั่นกรองและให้คำปรึกษาต่อคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลความเสี่ยงในภาพรวม ให้มีการประเมิน
ติดตาม และรายงานความเสี่ยง รวมทั้งให้มีการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม
โดยให้ความเห็นและข้อเสนอแนะอย่างเป็นอิสระ
(ค) ประเมินความเพียงพอ เหมาะสม
ของการนำความเสี่ยงที่ฝ่ายจัดการได้ระบุและนำไปพิจารณาร่วมกับการกำหนดกลยุทธ์
โดยการกำกับดูแลให้การดำเนินงานและความเสี่ยงของบริษัทสอดคล้องกัน
รวมทั้งให้พิจารณาความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนได้เสียและผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
9) สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
10) พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล ทั้งนี้
เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
11) สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายการให้ข้อมูลการทุจริต การกระทำผิด และ การคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล
และพิจารณาข้อร้องเรียนรวมถึงพิจารณาผลการสอบสวนของบริษัททุกไตรมาส
อีกทั้งเป็นช่องทางหนึ่งของบริษัทในการรับแจ้งข้อร้องเรียนตามนโยบายการให้ข้อมูลการทุจริต การกระทำผิด
และ การคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล
รวมถึงพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการจัดทำและปรับปรุงแก้ไขแนวปฏิบัติการให้ข้อมูลการทุจริต
การกระทำผิดและการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล
12) กำกับดูแลนโยบายและมาตรการต่อต้านการให้หรือรับสินบนและการคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่า
บริษัทได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามกฎหมายและจริยธรรมที่กำหนดไว้
รวมถึงสอบทานแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นในการเข้าสู่กระบวนการรับรองของแนวร่วมต่
อต้านคอร์รัปชั่นของภาคเอกชนไทยแบบสมัครใจ
13) จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยงโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท
ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยงและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
(ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน
และประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงโดยภาพรวมของบริษัท
(ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
(ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
(จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยงแต่ละท่าน
(ช)
ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยงได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร
(charter)
(ซ)
รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอ
บหมายจากคณะกรรมการบริษัท
14) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี
เกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือ บุคคล
ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำห
นด
และให้คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยงรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับห
ลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้สอบบัญชีทราบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี
15) รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
และเสนอข้อเสนอแนะที่จำเป็นให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
โดยในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้
ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท
ให้คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
รายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่
ยงเห็นสมควร
(1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
หากคณะกรรมการของบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามวรรคหนึ่ง
กรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยงรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำนั้นต่อสำนักงานคณะกรรมก
ารกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
16) ในการปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
มีอำนาจเชิญให้ฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น ร่วมประชุม
หรือส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำเป็น
17) ในการปฏิบัติงานตามขอบเขต อำนาจ หน้าที่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
มีอำนาจว่าจ้างที่ปรึกษา หรือเชิญบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อให้ความเห็น หรือคำแนะนำ
เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามความจำเป็น
18) พิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
ด้วยตนเองทั้งในภาพรวมเป็นรายคณะและรายบุคคลเป็นประจำทุกปี
19)
พิจารณาสอบทานกฎบัตรนี้เป็นประจำทุกปีและเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงหากมีควา
มจำเป็น
20) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง
______________________________________________________________________
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
ลงลายมือชื่อ _________________
( นายมนตรี คงเครือพันธ์ุ )
หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
______________________________________________________________________
สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ
ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้
และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย
หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ
และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้
หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"