วันที่/เวลา 28 ก.พ. 2568 21:07:00

หัวข้อข่าว

แจ้งการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบและแบบ F24-1

หลักทรัพย์ HEALTH
แหล่งข่าว HEALTH
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 28 ก.พ. 2568 ชื่อกรรมการ : นางสาว พิมพ์แก้ว อำไพพัสตร์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการบริษัท วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 28 ก.พ. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 28 ก.พ. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (3) : 28 ก.พ. 2568 ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : พล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 เดือน ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายพนม รัตนะรัต วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี 2 เดือน ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางสาวพิมพ์แก้ว อำไพพัสตร์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 เดือน ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางสาวกัญญ์อิสริยา เจริญภักดี วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 1 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 2 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 1. จัดทำกฎบัตรว่าด้วยการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ของบริษัท โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และมีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรดังกล่างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้หากในปีที่บททวนไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะเสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ 2. สอบทานให้บริษัท มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ เชื่อถือได้และทันเวลา 3. สอบทานให้บริษัท มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 4. สอบทานให้บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 5. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต. รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลบังคับใช้กับบริษัท และ/หรือธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายงานดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ 7. พิจารณาและให้ความเห็นชอบอัตรากำลัง และทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปี รวมถึงการพิจารณาอนุมัติการทบทวนปรับเปลี่ยนแผนงานตรวจสอบภายในส่วนที่มีนัยสำคัญ 8. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวต้อง ลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 8.1 ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัทฯ 8.2 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ 8.3 ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ 8.4 ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี 8.5 ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 8.6 จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบ แต่ละท่าน 8.7 ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter) 8.8 รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอ บหมายจากคณะกรรมการ 8.9 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 9. ทบทวนขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ 10. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยตรงและต้องรายงานผลการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อเสนอแนะ หากพบรายการหรือการกระทำที่อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร 11. ในกรณีที่การดำเนินงานตรวจสอบภายในเรื่องใดของคณะกรรมการตรวจสอบมีความจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถจ ากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ให้คณะกรรมการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาให้มีการดำเนินการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่ องด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ ทั้งนี้ การดำเนินการว่าจ้างให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายสิทธิชัย เกษรสมบัติ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ _________________ ( ดร.กำพล บุริยเมธากุล ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"