วันที่/เวลา 28 ก.พ. 2568 17:00:00

หัวข้อข่าว

แจ้งการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบและแบบ F24-1

หลักทรัพย์ AOT
แหล่งข่าว AOT
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 26 ก.พ. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย ธีร เจียศิริพงษ์กุล ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 28 พ.ย. 2566 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 27 ก.พ. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 01 ก.พ. 2567 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (2) : 27 ก.พ. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากปัจจุบันมีภาระงานสอน และภาระงานด้านอื่นที่ต้องรับผิดชอบหลายด้าน ซึ่งทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ ทอท.ได้อย่างเต็มที่ ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ ชื่อกรรมการ : นาย ปกรณ์ นิลประพันธ์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 27 ก.พ. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 27 ก.พ. 2568 ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี 11 เดือน ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 11 เดือน ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายปกรณ์ นิลประพันธ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี 11 เดือน ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายธัญญา เสียงเจริญ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 1 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 1 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1. คณะกรรมการตรวจสอบต้องจัดทำกฎบัตร คู่มือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และกำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ ประสบการณ์ และทักษะ (Skill Matrix) ให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของ ทอท. และครอบคลุมถึงโครงสร้างและความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งพิจารณาทบทวนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม บริบทองค์กร และการปฏิบัติงานตามขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่เปลี่ยนแปลงไป โดยต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ ทอท. 2. จัดทำแผนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบประจำปี ให้ครอบคลุมตามอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ และควรสอบทานความเหมาะสมของแผนการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 3. สอบทานความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินของ ทอท.และสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกัน รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของ ทอท.ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ 4. สอบทานให้ ทอท.มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีระบบควบคุมภายใน ระบบบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของ ทอท. และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งกำกับดูแล/ตรวจสอบนโยบายและการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน และระบบการรับแจ้งเบาะแส (Whistle Blowing) 5. สอบทานการปฏิบัติงานของ ทอท.ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของ ทอท. มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ ทอท. พร้อมทั้งสอบทานกระบวนการในการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของ ทอท. 6. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของ ทอท. เสนอค่าตอบแทนและเสนอการเลิกจ้างผู้สอบบัญชีของ ทอท.ต่อคณะกรรมการ ทอท. รวมถึงพิจารณาหนังสือที่ผู้สอบบัญชีมีถึงผู้บริหาร ทอท. (Management Letter) และให้ข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมการ ทอท. ในกรณีที่ข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะใดไม่ได้รับการพิจารณา หรือดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันควร ให้หารือร่วมกับฝ่ายบริหารและนำเสนอต่อคณะกรรมการ ทอท.เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง 7. คณะกรรมการตรวจสอบประชุมร่วมกับกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เกี่ยวกับประเด็นการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันโดยสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง และให้คำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติแก่คณะกรรมการ ทอท.และฝ่ายบริหาร 8. สอบทานการดำเนินงานของ ทอท.ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM) ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังกำหนด พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เพื่อยกระดับการดำเนินงานของ ทอท. 9. สอบทานผลการปฏิบัติงานภายใน ทอท. พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของ ทอท.ต่อคณะกรรมการ ทอท.และฝ่ายบริหาร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 10. สอบทานข้อสรุปและหลักฐานประกอบ ในกรณีที่พนักงานหรือผู้บริหารอาจมีการกระทำอันเป็นการทุจริต หรือใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นผลให้ ทอท.ได้รับความเสียหาย และนำเสนอผลการสอบทานดังกล่าวต่อคณะกรรมการ ทอท.เพื่อพิจารณาโดยเร็ว 11. คณะกรรมการตรวจสอบประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงหรือผลกระทบที่เป็นนัยสำคัญต่อการดำเนินงา นของ ทอท. รวมทั้งเพื่อการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในมีทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน 12. คณะกรรมการตรวจสอบหารือกับฝ่ายบริหาร ทอท.เกี่ยวกับความเสี่ยงทางธุรกิจที่ ทอท.เผชิญอยู่และแผนการจัดการกับความเสี่ยงนั้น รวมถึงประเด็นผลกระทบทางกฎหมาย ภาษีอากร หรือกฎระเบียบอื่นที่มีผลกระทบต่อ ทอท. และคดีความ หรือการฟ้องร้องใดๆ ที่มีอยู่ หรือประเด็นที่กำลังจะดำเนินการ รวมทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการ 13. คณะกรรมการตรวจสอบอาจจัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้บริหาร อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบเชิญผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหาร และบุคคลใดๆ เข้าร่วมการประชุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมนั้นๆ และควรมีการหารือกับผู้บริหารบางตำแหน่งเป็นประจำ เช่น ผู้บริหารที่กำกับดูแลหน่วยงานด้านบัญชีและการเงิน ด้านกฎหมาย และหน่วยตรวจสอบภายใน เป็นต้น รวมทั้งที่ปรึกษาทางวิชาชีพ (ถ้ามี) 14. กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะตามที่หน่วยงานกำกับดูแลได้ให้ไว้กับ ทอท. 15. ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี ให้มีความเป็นอิสระ เที่ยงธรรม และเป็นไปตามมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการประสานงานระหว่างฝ่ายบริหารของ ทอท. ผู้สอบบัญชี และสำนักตรวจสอบอย่างเหมาะสม และเพียงพอ 16. คณะกรรมการตรวจสอบรับผิดชอบในการหารือร่วมกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบเกี่ยวกับขอบเขตและแนวทางการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี หารือเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ ผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่าจำเป็น รวมทั้ง จัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 17. คณะกรรมการตรวจสอบรับผิดชอบในการพิจารณากฎบัตรและแผนการตรวจสอบประจำปีของสำนักตรวจสอบ ให้ความเห็นชอบงบประมาณ แผนอัตรากำลัง แผนพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะของบุคลากรสำนักตรวจสอบ พร้อมทั้งติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนการต่างๆ เหล่านั้น 18. ทบทวน ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง และประกาศของ ทอท. เกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักตรวจสอบทุกหนึ่งปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสำนักตรวจสอบมีความเป็นอิสระอย่างเพียงพอในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ หากการทบทวนดังกล่าวข้างต้น พบว่ามีการดำเนินการที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระให้นำเสนอต่อคณะกรรมการ ทอท. เพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุง 19. กำกับดูแลระบบงานตรวจสอบภายในของ ทอท. ให้คำแนะนำ ติดตาม และสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของสำนักตรวจสอบ 20. ให้ข้อเสนอแนะในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง พิจารณาความดีความชอบประจำปีและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการ ทอท.เกี่ยวกับคุณสมบัติผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบอาจให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่มีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยก็ได้ 21. รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการ ทอท.และบุคคลภายนอก ทั้งนี้ การรายงานต่อบุคคลภายนอกให้รายงานในรายงานข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) หรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ ทอท. โดยประธานกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ลงนามในรายงานดังกล่าว 22. การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินเสนอต่อคณะกรรมการ ทอท.เพื่อทราบ 23. ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของสำนักตรวจสอบ การดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของสำนักตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน และศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานตรวจสอบต่อคณะกรรมการ ทอท.อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 24. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ทอท.มอบหมาย ทั้งนี้ ต้องอยู่ในขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ ในการดำเนินงานข้างต้น คณะกรรมการตรวจสอบคำนึงถึงความมีสาระสำคัญของเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ทอท.เป็นสำคัญ ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ _________________ ( พลตำรวจโทจิรภพ ภูริเดช ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"