เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 26 ก.พ. 2568 ชื่อกรรมการ : พลเอก มนตรี สังขทรัพย์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 11 พ.ค. 2561 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย ขจิตภูมิ สุดศก ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 11 พ.ค. 2561 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง ชื่อกรรมการ : นาย รงค์ หิรัญพานิช ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 24 มิ.ย. 2563 ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ การกำหนด/เปลี่ยนแปลงขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ : 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบควบคุมภายใน (Internal control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal audit) ที่ มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน 3. พิจารณาทบทวนและอนุมัติแผนการตรวจสอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งทบทวนและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยงานตรวจสอบภายใน โครงสร้าง และอัตรากำลังของหน่วยงานตรวจสอบภายใน 4. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้าง รวมทั้งพิจารณาผลการปฏิบัติงาน และผลตอบแทนของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน 5. พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของหน่วยงานตรวจสอบภายใน 6. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับและประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 7. สอบทานให้บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม 8. พิจารณา คัดเลือก และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทพร้อมทั้งเสนอค่าตอบแทนข องผู้สอบบัญชี รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง 9. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อบังคับและประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลใช้บังคับกับบริษัทฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง 10. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนาม โดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter) (ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอ บหมายจากคณะกรรมการบริษัท 11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 12. คณะกรรมการตรวจสอบอาจแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใด เมื่อเห็นว่าจำเป็นได้ โดย บริษัทฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย 13. คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจในการเชิญฝ่ายจัดการ หรือผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมชี้แจง ให้ความเห็น หรือจัดส่งเอกสารที่ร้องขอตามความจำเป็น 14. คณะกรรมการตรวจสอบสามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ ได้เต็มที่ ทั้งจากผู้บริหาร พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง 15. พิจารณาทบทวนเพื่อปรับปรุงกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้ครอบคลุมภาระหน้าที่ตามแนวปฏิบัติที่ดี และสอดคล้องกับสิ่งที่คณะกรรมการบริษัทคาดหวัง 16. ทบทวนและเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบตามที่เห็นสมควร 17. กรรมการตรวจสอบต้องได้รับข้อมูลพื้นฐานและความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างเพียงพอ ตลอดจนต้องได้รับการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้อย่างต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติหน้าที่กร รมการตรวจสอบ 18. รายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ จะต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการตรวจสอบ และให้ประธานกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รายงานผลการประชุมต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบถึงกิจกรรมของ คณะกรรมการตรวจสอบ 19. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทําซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อฐานะทางการเงินและผลการ ดําเนินงานของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อบริษัทฯ ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในกําหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ได้แก่ รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่อง ที่สําคัญในระบบการควบคุมภายใน การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ เป็นต้น หากคณะกรรมการของบริษัทฯหรือฝ่ายจัดการไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กําหนด คณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานต่อ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ โดยให้ส่งสําเนารายงานต่อคณะกรรมการบริษัทรับทราบด้วย 20 สอบทานกระบวนการเกี่ยวกับการรับแจ้งเบาะแสและการรับข้อร้องเรียนของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาดำเนินการต่อข้อร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และสอบทานสรุปข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตของบริษัทฯ ทั้งหมด 21 พิจารณาการใช้บริการอื่นที่มิใช่การสอบบัญชี การดำเนินการให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น (Non assurance services) จากสำนักงานสอบบัญชีเดียวกัน โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ : 26 ก.พ. 2568 ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล ณ วันที่ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : พลเอกมนตรี สังขทรัพย์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายขจิตภูมิ สุดศก วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายรงค์ หิรัญพานิช วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 3 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 2 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบควบคุมภายใน (Internal control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal audit) ที่ มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน 3. พิจารณาทบทวนและอนุมัติแผนการตรวจสอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งทบทวนและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยงานตรวจสอบภายใน โครงสร้าง และอัตรากำลังของหน่วยงานตรวจสอบภายใน 4. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้าง รวมทั้งพิจารณาผลการปฏิบัติงาน และผลตอบแทนของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน 5. พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของหน่วยงานตรวจสอบภายใน 6. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับและประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 7. สอบทานให้บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม 8. พิจารณา คัดเลือก และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทพร้อมทั้งเสนอค่าตอบแทนข องผู้สอบบัญชี รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง 9. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อบังคับและประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลใช้บังคับกับบริษัทฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง 10. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนาม โดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter) (ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอ บหมายจากคณะกรรมการบริษัท 11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 12. คณะกรรมการตรวจสอบอาจแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใด เมื่อเห็นว่าจำเป็นได้ โดย บริษัทฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย 13. คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจในการเชิญฝ่ายจัดการ หรือผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมชี้แจง ให้ความเห็น หรือจัดส่งเอกสารที่ร้องขอตามความจำเป็น 14. คณะกรรมการตรวจสอบสามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ ได้เต็มที่ ทั้งจากผู้บริหาร พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง 15. พิจารณาทบทวนเพื่อปรับปรุงกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้ครอบคลุมภาระหน้าที่ตามแนวปฏิบัติที่ดี และสอดคล้องกับสิ่งที่คณะกรรมการบริษัทคาดหวัง 16. ทบทวนและเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบตามที่เห็นสมควร 17. กรรมการตรวจสอบต้องได้รับข้อมูลพื้นฐานและความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างเพียงพอ ตลอดจนต้องได้รับการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้อย่างต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติหน้าที่กร รมการตรวจสอบ 18. รายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ จะต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการตรวจสอบ และให้ประธานกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รายงานผลการประชุมต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบถึงกิจกรรมของ คณะกรรมการตรวจสอบ 19. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทําซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อฐานะทางการเงินและผลการ ดําเนินงานของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อบริษัทฯ ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในกําหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ได้แก่ รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่อง ที่สําคัญในระบบการควบคุมภายใน การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ เป็นต้น หากคณะกรรมการของบริษัทฯหรือฝ่ายจัดการไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กําหนด คณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานต่อ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ โดยให้ส่งสําเนารายงานต่อคณะกรรมการบริษัทรับทราบด้วย 20 สอบทานกระบวนการเกี่ยวกับการรับแจ้งเบาะแสและการรับข้อร้องเรียนของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาดำเนินการต่อข้อร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และสอบทานสรุปข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตของบริษัทฯ ทั้งหมด 21 พิจารณาการใช้บริการอื่นที่มิใช่การสอบบัญชี การดำเนินการให้บริการงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่น (Non assurance services) จากสำนักงานสอบบัญชีเดียวกัน ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายสมชาย วงศ์รัศมี ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"