เมื่อผู้ลงทุนเข้ามาซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ลงทุนมีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนดให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยสรุปรายละเอียดเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
no
ภาษีอากรของผู้ลงทุน
1.1 ผู้ลงทุนไทย และผู้ลงทุนต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
ผู้ลงทุนไทย และผู้ลงทุนต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
ประเภทเงินได้ บุคคลธรรมดานิติบุคคล
กำไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ / ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Capital Gain) 
  • ได้รับยกเว้นภาษี
    (ข้อ 2 (23) และ (75) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509))
  • ต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เงินปันผล (Dividend)
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%
    ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถเลือกนำเงินปันผลไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีหรือไม่ก็ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • เลือกไม่นำไปรวมคำนวณภาษี (Final Tax) (มาตรา 48 (3) วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร) หรือ
    • เลือกนำไปรวมคำนวณภาษี โดยอาจได้รับเครดิตภาษี และเสียภาษีเงินได้ตามอัตราก้าวหน้า (มาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
  • ได้รับยกเว้นภาษีเฉพาะในกรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
    (มาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520)
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%
  • ได้รับยกเว้นภาษีเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
    1. ผู้ลงทุนเป็นบริษัทจดทะเบียนโดยถือหุ้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อน และ 3 เดือนหลังวันที่ได้รับเงินปันผล (มาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร)
    2. ผู้ลงทุนได้ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง โดยถือหุ้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อน และ 3 เดือนหลังวันที่ได้รับเงินปันผล และบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทผู้ลงทุน (มาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร)
    3. ได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) (มาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520)
1.2 ผู้ลงทุนต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ผู้ลงทุนต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
ประเภทเงินได้ บุคคลธรรมดานิติบุคคล*
กำไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ / ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Capital Gain) 
  • ได้รับยกเว้นภาษี
    (ข้อ 2 (23) และ (75) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509))
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15%
เงินปันผล (Dividend)
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%

* หมายเหตุ กรณีผู้ลงทุนต่างประเทศโปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนได้ที่หัวข้อ
2
อนุสัญญาภาษีซ้อน และโปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หัวข้อ “อนุสัญญาภาษีซ้อน” เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อตกลงในอนุสัญญาภาษีซ้อนของแต่ละประเทศ
no-1
อนุสัญญาภาษีซ้อน
สำหรับกำไรที่เกิดขึ้นจากการขายหลักทรัพย์ (Capital Gain) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากผู้ลงทุนต่างประเทศที่เป็นนิติบุคคลจะมีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นจากการขายหลักทรัพย์ (Capital Gain) ในประเทศไทย (ดังที่ระบุในหัวข้อ
1
ภาษีอากรของผู้ลงทุน) แล้ว ยังอาจมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศของตนอีกด้วย ดังนั้น กรมสรรพากรจึงได้เจรจาและจัดทำอนุสัญญาภาษีซ้อนกับนานาประเทศ เพื่อเป็นการบรรเทาและขจัดการเสียภาษีซ้ำซ้อน โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 61 ประเทศ  
 
โดยมีข้อมูลสรุปการได้รับยกเว้นภาษี Capital Gain ในประเทศไทย จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ของประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ปรับปรุงข้อมูลตามเว็บไซต์ของกรมสรรพากร  (www.rd.go.th) ล่าสุด ณ เดือนมีนาคม 2566
ประเทศการได้รับยกเว้นภาษี Capital Gain ในประเทศไทย
จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ได้รับยกเว้นภาษีในประเทศไทยได้รับยกเว้นภาษีในประเทศไทย
ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขที่ DTA กำหนด*
ไม่ได้รับยกเว้นภาษีในประเทศไทย
1.กัมพูชา  
2.เกาหลีใต้  
3.แคนาดา  
4.คูเวต  
5.จีน  
6.ชิลี  
7.เชค  
8.เซเซลส์  
9.ไซปรัส  
10.ญี่ปุ่น  
11.เดนมาร์ก  
12.ไต้หวัน  
13.ตุรกี  
14.ทาจิกิสถาน  
15.นอร์เวย์  
16.นิวซีแลนด์  
17.เนเธอร์แลนด์  
18.เนปาล  
19.บาเรนห์  
20.บังคลาเทศ  
21.บัลแกเรีย  
22.เบลเยี่ยม  
23.เบลารุส  
24.ปากีสถาน  
25.โปแลนด์  
26.ฝรั่งเศส  
27.พม่า  
28.ฟินแลนด์  
29.ฟิลิปปินส์  
30.มอริเซียส  
31.มาเลเซีย  
32.ยูเครน  
33.เยอรมัน  
34.รัสเซีย  
35.โรมาเนีย  
36.ลักเซมเบอร์ก  
37.ลาว  
38.เวียดนาม  
39.ศรีลังกา  
40.สเปน  
41.สวิตเซอร์แลนด์  
42.สวีเดน  
43.สหรัฐอเมริกา  
44.สิงคโปร์  
45.สโลเวเนีย  
46.ออสเตรเลีย  
47.ออสเตรีย  
48.อังกฤษ และไอร์แลนด์เหนือ  
49.อาร์เมเนีย  
50.อิตาลี  
51.อินเดีย  
52.อินโดนีเซีย  
53.อิสราเอล  
54.อุซเบกิสถาน  
55.อามิเรตส์  
56.เอสโตเนีย  
57.แอฟริกาใต้  
58.โอมาน  
59.ไอร์แลนด์  
60.ฮังการี  
61.ฮ่องกง  

* หมายเหตุ ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเงื่อนไขที่ DTA กำหนดได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th)

vector_tax
Group 13974
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์: ผู้ลงทุนจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้การบริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในอัตราร้อยละ 7* ของค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้า ในการซื้อขายตามที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นเรียกเก็บ
  • การขายหลักทรัพย์ : ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการ ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลเพิ่ม ผู้ลงทุนจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อขายหลักทรัพย์
* หมายเหตุ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของภาครัฐ ผู้ลงทุนสามารถติดตามข้อมูลอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th)

vector_stamp
Group 13973
อากรแสตมป์
การโอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และพันธบัตรที่มีตราสารการโอน ผู้โอนจะต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทสำหรับทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท โดยคิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสาร (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะมากกว่ากัน) เว้นแต่เป็นการโอนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เป็นนายทะเบียน หรือการโอนพันธบัตรของรัฐบาล จะได้รับยกเว้นอากรแสตมป์ดังกล่าว (มาตรา 6 (10) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500)