Warrant (RO / PPO / PP / PO)
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ
บริษัท | ||
บริษัทสามารถกำหนดอายุและระยะเวลาการใช้สิทธิของ Warrant ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่บริษัทต้องการใช้เงิน ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนได้เหมาะสม และสามารถชะลอผลกระทบจาก Dilution Effect นอกจากนี้ยังสามารถลดสัดส่วน Debt to Equity Ratio ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม | ||
เพิ่มโอกาสในการขยายฐานผู้ลงทุนรายใหม่ เนื่องจากผู้ลงทุนใน Warant อาจเป็นคนละกลุ่มกับผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ และ Warrant ที่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน อาจจะช่วยสร้างความนำสนใจให้กับหุ้นสามัญของบริษัท | ||
การใช้สิทธิของผู้ถือ Warrant จะช่วยเพิ่มจำนวนหุ้นสามัญ ส่งผลให้หุ้นมีสภาพคล่องในการซื้อขายมากขึ้น | ||
การออก Warrant ควบคู่กับการออกตราสารทางการเงินอื่น จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ รวมถึงช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ให้กับตราสารทางการเงินที่บริษัทจะเสนอขาย |
ผูถือหุน | ||
ได้ประโยชน์จากการใช้สิทธิ Warrant หากในอนาคตราคาใช้สิทธิของ Warrant ต่ำกว่าราคาตลาดของหุ้นสามัญ จะทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ในราคาที่ต่ำกว่าตลาด (Warrant in-the-money) | ||
Warrant RO (Right Offering) ช่วยผู้ถือหุ้นลดผลกระทบของ Dilution Effect ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจาก ผู้ถือ Warrant สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิ Warrant หรือไม่ หรือขาย Warrant ในตลาดกรณีบริษัทนำ Warrant เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ | ||
เพิ่มทางเลือกในการลงทุน เนื่องจากผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นบริษัท สามารถลงทุนใน Warrant ของบริษัท ซึ่งโดยปกติจะมีราคาต่ำกว่า และราคาตลาดของ Warrant จะปรับตัวขึ้นลงในสัดส่วนที่สูงกว่าหรือสอดคล้องกับราคาหุ้นของบริษัท | ||
ช่วยให้หุ้นสามัญมีสภาพคล่องในการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการซื้อขายหุ้นของตน |
การออกและจัดสรร Warrant |
นำส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า 7 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้น กรณีเสนอขาย Warrant PP บริษัทต้องส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุมและมีข้อมูลเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมดังนี้
รายละเอียดที่ต้องระบุในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น
*3 Price Dilution = | ราคาตลาดก่อนเสนอขาย – ราคาตลาดหลังเสนอขาย |
ราคาตลาดก่อนเสนอขาย |
โดย ราคาตลาดหลังเสนอขาย = | (ราคาตลาด x จำนวนหุ้น paid-up) + (ราคาเสนอขายหุ้นรองรับ warrant x จำนวน warrant ที่ได้รับจัดสรร) + (ราคาใช้สิทธิ x จำนวนหุ้นที่จะได้รับจากการใช้สิทธิ) |
จำนวนหุ้น paid-up + จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้ |
*4 Earnings Per Share Dilution = | Earnings per share ก่อนเสนอขาย - Earnings per share หลังเสนอขาย |
Earnings per share ก่อนเสนอขาย | |
โดย Earnings per share ก่อนเสนอขาย = กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้น paid-up Earnings per share หลังเสนอขาย = กำไรสุทธิ / (จำนวนหุ้น paid-up + จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้) |
*5 Control Dilution = | จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้ |
จำนวนหุ้น paid-up + จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้ |
บริษัทต้องแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจนของเงื่อนไขการปรับสิทธิในเอกสารหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น เช่น เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินเกินกว่าอัตรา 75% ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ของบริษัท สำหรับการดำเนินงานในรอบระยะเวลาบัญชีใดๆ ในระหว่างอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ
เปรียบเทียบลักษณะของการออกและการเสนอขาย Warrant และการดำเนินการตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. |
คุณลักษณะ | ประเภทการจัดสรร | ||
ผู้ถือหุ้นเดิม/PP0 | ประชาชน | บุคคลในวงจำกัด | |
ลักษณะของ Warrant | |||
| |||
| |||
| |||
| |||
| มีข้อจำกัดการโอน | ||
หลักเกณฑ์ที่บริษัทต้องดำเนินการ | |||
| |||
| * | ||
| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
| * | ||
| RO 1 ปี PPO 6 เดือน | * | |
| |||
|
|
|
|
|
|
|
|
ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลการออกและจัดสรร WARRANT (บมจ XYZ) |
การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ | |
เรื่อง | ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ |
วันที่คณะกรรมการมีมติ | ... |
รายละเอียดการจัดสรร | |
จัดสรรให้กับ | ผู้ถือหุ้นสามัญเดิม |
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร | ใบสำคัญแสดงสิทธิ |
จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย) | 186,856,013 |
หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพ | หุ้นสามัญ |
จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 186,856,013 |
อัตราส่วน (หุ้นเดิม:หลักทรัพย์แปลงสภาพ) | 3:1 |
วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพ (Record Date) | ... |
วันที่ไม่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพ | ... |
ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย) | 0.50 |
วันเสนอขาย | ... |
ลักษณะของใบสำคัญแสดงสิทธิ | |
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ: | ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท XYZ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1 (“XYZ-W1”) |
อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ:หุ้น): | 1:1 |
ราคาการใช้สิทธิ (บาทต่อหุ้น) | 2.25 |
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ: | 2 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ |
การเพิ่มทุน | |
เรื่อง | การเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน |
วันที่คณะกรรมการมีมติ | ... |
รายละเอียดการจัดสรร | |
จัดสรรให้กับ | ผู้ถือหุ้นเดิม |
จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 186,856,013 |
จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 186,856,013 |
มูลค่าที่ตราไว้ (Par) (บาทต่อหุ้น) | 1.0 |
หมายเหตุ | |
เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ |
การเพิ่มทุน | |
เรื่อง | การเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน |
วันที่คณะกรรมการมีมติ | ... |
รายละเอียดการจัดสรร | |
จัดสรรให้กับ | กรรมการและพนักงาน (ESOP) |
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร | หุ้นสามัญ |
จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) | 28,000,000 |
ราคาจองซื้อ (บาทต่อหุ้น) | 0.00 |
จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 28,000,000 |
จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 28,000,000 |
มูลค่าที่ตราไว้ (Par) (บาทต่อหุ้น) | 1.0 |
การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ | |
เรื่อง | ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ |
วันที่คณะกรรมการมีมติ | ... |
รายละเอียดการจัดสรร | |
จัดสรรให้กับ | กรรมการและพนักงาน (ESOP) |
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร | ใบสำคัญแสดงสิทธิ |
จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย) | 28,000,000 |
หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพ | หุ้นสามัญ |
จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 28,000,000 |
ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย) | 0.00 |
ลักษณะของใบสำคัญแสดงสิทธิ | |
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ: | ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท XYZ จำกัด (มหาชน) เสนอขายให้แก่กรรมการและพนักงานบริษัทฯและบริษัทย่อยโครงการ 1 (ESOP#1) |
อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ:หุ้น): | 1:1 |
ราคาการใช้สิทธิ (บาทต่อหุ้น): | 2.75 |
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ: | 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ |
กำหนดการประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ | |
เรื่อง | กำหนดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น |
วันที่คณะกรรมการมีมติ | ... |
วันประชุม | ... |
เวลาเริ่มประชุม (h:mm) | ... |
วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประชุม (Record date) | ... |
วันที่ไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมประชุม | ... |
วาระการประชุมที่สำคัญ | วาระการประชุมที่สำคัญ การจ่ายปันผล การเพิ่มทุน |
สถานที่ประชุม | ห้อง......... โรงแรม.......... |
(F 53-4) |
การเพิ่มทุน | ประเภทหุ้น | จำนวนหุ้น | มูลค่าที่ตราไว้ (บาทต่อหุ้น) | รวม(บาท) |
| หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ | 214,856,013 - | 1 - | 214,856,013 - |
| หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ | - - | - - | - - |
จัดสรรให้แก่ | จำนวนหุ้น | อัตราส่วน (เดิม:ใหม่) | ราคาขาย (บาทต่อหุ้น) | วัน เวลา จองซื้อ และชำระเงินค่าหุ้น | หมายเหตุ |
รองรับการใช้สิทธิของ XYZ-W1ที่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ | 186,856,013 | 3:1 | 0.50 | ... | - |
กรรมการและพนักงานของบริษัท และบริษัทย่อย | 28,000,000 | คณะกรรมการจะกำหนดภายหลัง |
หมายเหตุ * | ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ สามารถจองซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เกินสิทธิที่ได้รับจัดสรรได้ และในกรณีที่มีใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เหลือจากการจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนในรอบแรกแล้ว บริษัทฯ จะจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งแสดงความจำนงจองซื้อเกินสัดส่วนตามสัดส่วนการถือหุ้นจนกว่าจะหมด หรือจนกว่าจะไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดประสงค์ที่จะจองซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ดังกล่าวอีกต่อไป หากยังคงมีใบสำคัญแสดงสิทธิฯ คงเหลืออยู่ บริษัทฯ จะจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่เหลือให้บุคคลในวงจำกัด โดยราคาขายใบสำคัญแสดงสิทธิฯ จะต้องไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาดของหุ้นบริษัทฯ ลบด้วยราคาใช้สิทธิ โดยราคาตลาดให้คำนวณจากราคาปิดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นของบริษัทฯ ย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการติดต่อกัน แต่ไม่เกินสิบห้าวันทำการติดต่อกัน ก่อนวันกำหนดราคาเสนอขาย อย่างไรก็ตามราคาเสนอขายจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.50 บาทต่อหน่วย |
ลำดับ | ขั้นตอนการดำเนินการ | วัน เดือน ปี |
1 | คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน | ... |
2 | แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการต่อตลาดหลักทรัพย์ | ... |
3 | กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ (Record Date) ในการเข้าร่วมประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ ... | ... |
4 | ประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ ... | ... |
5 | จดทะเบียนเพิ่มทุนจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ | ภายใน 14 วันนับจาก วันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น |
6 | ระยะเวลาการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน | ... |
7 | จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกระทรวงพาณิชย์ | ... |
ประเภทของใบสำคัญแสดงสิทธิ | : | ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท XYZ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1 (XYZ-W1) |
ชนิดของใบสำคัญแสดงสิทธิ | ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทชนิดระบุชื่อผู้ถือและสามารถเปลี่ยนแปลงมือได้ | |
จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่เสนอขาย | : | ไม่เกิน 186,856,013 หน่วย |
จำนวนหุ้นที่ออกเพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ | : | ไม่เกิน 186,856,013 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) |
ลักษณะการเสนอขาย | : | เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่มีรายชื่อปรากฎในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น โดยที่บริษัทจะจัดสรรในอัตราส่วนหุ้นสามัญเดิม 3 หุ้น ต่อ ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย ในกรณีที่คำนวณแล้วมีเศษของใบสำคัญแสดงสิทธิต่ำกว่า 1 หน่วยให้ปัดเศษดังกล่าวทิ้ง |
วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ | : | คณะกรรมการจะกำหนดในภายหลัง |
ราคาเสนอขายต่อหน่วย | : | 0.50 บาท (ห้าสิบสตางค์) |
ระยะเวลาเสนอขาย | : | วันที่ ... |
อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ | 2 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ | |
อัตราการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ | ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย ต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น | |
ราคาการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ | 2.25 บาทต่อหุ้น | |
วันใช้สิทธิ | กำหนดการใช้สิทธิทุกๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ในกรณีที่วันใช้สิทธิดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของบริษัท ให้เลื่อนวันใช้สิทธิดังกล่าวเป็นวันทำการถัดไป | |
ตลาดรองของใบสำคัญแสดงสิทธิ | บริษัทจะนำใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกและเสนอขายในครั้งนี้ เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | |
ตลาดรองของหุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิ | บริษัทจะนำใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกและเสนอขายในครั้งนี้ เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | |
ผลกระทบของผู้ถือหุ้น |
| |
เงื่อนไขการปรับสิทธิ | : | ราคาการใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นสามัญและอัตราการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของใบสำคัญแสดงสิทธิ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิไม่ให้ด้อยไปกว่าเดิม 1) เมื่อบริษัท เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นบริษัท อันเป็นผลมาจากการรวมหรือการแบ่งแยกหุ้นที่ได้ออกแล้วของบริษัท 2) เมื่อบริษัท จ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท 3) เมื่อบริษัท เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม และ/หรือประชาชนทั่วไป ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นนั้น หรือราคาตลาดในช่วงก่อนเสนอขายหุ้นนั้น และเป็นวิธีคำนวณตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ 4) เมื่อบริษัท เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่โดยกำหนดราคาหรือคำนวณราคาของหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวต่ำกว่าราคาหุ้นที่คำนวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธินั้น และเป็นวิธีการคำนวณตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ 5) เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ 6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ ข้อ 1 ถึง 5 ที่ทำให้ผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ที่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิด้อยไปกว่าเดิมทั้งนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการบริษัท หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัทหรือกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทมอบหมาย เป็นผู้พิจารณากาหนดเงื่อนไข และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับ หรือการเปลี่ยนแปลงอัตราการใช้สิทธิ และราคาใช้สิทธิ |
เงื่อนไขอื่น ๆ | : | ให้คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและ รายละเอียดอื่นๆ ของใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยรวมถึงการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ การกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิการเข้าเจรจา ตกลงลงนามในเอกสาร และสัญญาต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ดำเนินการต่างๆ อันจำเป็น และสมควรอันเกี่ยวเนื่องกับใบสำคัญแสดงสิทธิและการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิในครั้งนี้ซึ่งรวมถึงการนำใบสำคัญแสดงสิทธิและหุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนดำเนินการขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
นายทะเบียนใบสำคัญแสดงสิทธิ | : | บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด |
รายละเอียดการคำนวณจำนวนหุ้นรองรับ | : | |
วิธีการคำนวณสัดส่วนจำนวนหุ้นรองรับ | = ((จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายในครั้งนี้)+(จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายในครั้งอื่น) / (จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท) โดยที่ จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายในครั้งนี้ = 186,856,013 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายใน = 0 ครั้งอื่น จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท = 560,568,040 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ดังนั้น สัดส่วนจำนวนหุ้นรองรับ = (186,856,013+ 0) / 560,568,040 = 33.33% |
ตัวอย่างการรายงานผลการจัดสรร WARRANT (บมจ XYZ) |
หัวข้อข่าว: แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์ (F53-5) หลักทรัพย์: … |
รายละเอียดข่าว
แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์ (F53-5) ชื่อบริษัท......... วันที่............ | |||||||
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ | จัดสรรให้ | จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่เสนอ ขาย(หน่วย) | ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย) | วันที่จัดสรรใบ สำคัญแสดงสิทธิ | จำนวนใบสำคัญ แสดงสิทธิที่จัดสรร/ ขายได้(หน่วย) | จำนวนใบสำคัญ แสดงสิทธิคงเหลือ (หน่วย) | การดำเนินการกรณีมีใบสำคัญ แสดงสิทธิคงเหลือ |
…………… | ผู้ถือหุ้นเดิม | 8,000,000 | 0 | 26 ก.ค. 2559 | 7,800,000 | 200,000 | จะดำเนินการยกเลิกต่อไป |
ลงลายมือชื่อ ________________________________ (........................) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท |
|
|
|
|
|
|
|
|
ทั้งนี้ บริษัทต้องระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนให้ผู้ถือหุ้นทราบ