ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ

การเปิดเผยข้อมูล Warrant

ภายหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท (Warrant) เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว บริษัทจะต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Warrant ผ่านระบบ SETLink ดังนี้
Group 16481 กำหนดการใช้สิทธิ

กำหนดการใช้สิทธิ Warrant แต่ละครั้ง

  • ข้อมูลขั้นต่ำที่ต้องเปิดเผย (ต้องเป็นไปตามที่ระบุในข้อกำหนดสิทธิ
              1.ระยะเวลาแจ้งความจำนงการใช้สิทธิ เช่นไม่น้อยกว่า 5 วันทำการก่อนวันใช้สิทธิ
              2. วันใช้สิทธิ เช่น ในวันทำการสุดท้ายของเดือนมิถุนายน และธันวาคม 
              3. อัตราการใช้สิทธิ
              4. ราคาการใช้สิทธิ

  • เปิดเผยกำหนดการใช้สิทธิแต่ละครั้ง : แจ้งล่วงหน้าตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิของ Warrant เช่น แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนการใช้สิทธิแต่ละครั้ง

กำหนดการใช้สิทธิ Warrant ครั้งสุดท้าย

  • การแจ้งใช้สิทธิครั้งสุดท้าย ควรแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 เดือนก่อนวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบล่วงหน้าและมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจลงทุน
  • ข้อมูลขั้นต่ำที่ต้องเปิดเผย
              1. ระยะเวลาแจ้งความจำนงการใช้สิทธิ
              2. วันใช้สิทธิ
              3. อัตราการใช้สิทธิ
              4. ราคาการใช้สิทธิ
              5. วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อพักการโอน Warrant เป็นไปตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น  ปิดสมุดทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 21 วันก่อนการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย
              6. วันที่ขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อห้ามการซื้อขาย Warrant ของบริษัท 
  • ภายหลังการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย Warrant ของบริษัทจะพ้นสภาพจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในวันถัดจากวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย Warrant
Group 16481 รายงานผลการใช้สิทธิ Warrant
รายงานผลการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง ภายใน 14 วันนับจากวันใช้สิทธิ  โดยมีข้อมูลขั้นต่ำที่ต้องเปิดเผย ดังนี้
  1. วันใช้สิทธิ
  2. จำนวน Warrant ที่ใช้สิทธิ
  3. จำนวนหุ้นที่เกิดจากการใช้สิทธิ Warrant 
  4. จำนวนรายผู้ถือ Warrant ที่ใช้สิทธิ
  5. จำนวน Warrant คงเหลือที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ 
Group 16481 การปรับสิทธิ Warrant
  • บริษัทจะต้องแจ้งการปรับสิทธิ Warrant เพื่อไม่ให้สิทธิของผู้ถือ Warrant ด้อยไปกว่าเดิม  โดยการดำเนินการต้องเป็นไปตามเหตุข้อกำหนดสิทธิของบริษัท
  • กรณีทั่วไปของการปรับสิทธิ ได้แก่การมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ 
                   1. เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นบริษัท จากการรวมหรือแบ่งแยกหุ้น
                   2. เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ
                   3. มีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ำหรือมีการเสนอขาย Warrant ราคาต่ำ
                   4. มีการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่
                   5. มีการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
                   6. กรณีอื่นใดๆในลักษณะเดียวกันกับ 1) ถึง 5) ที่ทำให้ผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ที่จะได้รับเมื่อใช้สิทธิตาม Warrant ด้อยไปกว่าเดิม   
  • ข้อมูลขั้นต่ำที่ต้องเปิดเผย
                   1. อัตราการใช้สิทธิเดิม และ อัตราการใช้สิทธิใหม่ภายหลังการปรับสิทธิ
                   2. ราคาการใช้สิทธิเดิม และ ราคาการใช้สิทธิใหม่ภายหลังการปรับสิทธิ
                   3. วันที่มีผลในการปรับสิทธิ เช่น ตั้งแต่วันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD (วันที่ผู้ถือหุ้นจะไม่ได้รับสิทธิในเงินปันผล) เป็นต้น
  • ระยะเวลาในการแจ้งการปรับสิทธิ: บริษัทต้องแจ้งการปรับอัตราและราคาของใบสำคัญแสดงสิทธิทันทีหรือก่อนวันที่อัตราหรือราคาใช้สิทธิแปลงสภาพมีผลบังคับ
  • กรณีบริษัทจดทะเบียนที่มีการออกใบสำคัญแสดงสิทธิหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพไว้แล้ว เมื่อคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนมีมติให้ดำเนินการใดๆ ที่อาจเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณาปรับสิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าว เช่น การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (รวมหรือแยกมูลค่าหุ้นที่ตราไว้) การออกหุ้นสามัญหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพในราคาต่ำกว่าราคาตลาดในอัตราที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ การจ่ายหุ้นปันผล การจ่ายเงินปันผลในอัตราที่เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ เป็นต้น บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยสารสนเทศโดยรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่ามติของคณะกรรมการอาจเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับสิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพหรือไม่ อย่างไร และ หากมติคณะกรรมการเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับสิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทจดทะเบียน มีหน้าที่รายงานโดยแจ้งอัตราและ หรือราคาปรับสิทธิมายังตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่คณะกรรมการมีมติหรือก่อนวันที่อัตราหรือราคาใช้สิทธิแปลงสภาพมีผลบังคับ การดำเนินการดังกล่าวรวมถึงกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติเปลี่ยนแปลงข้อเสนอของคณะกรรมการและเป็นเหตุให้มีการปรับสิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพด้วย
Group 16481 การรับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
  1. ภายหลังจากที่บริษัทรายงานผลการใช้สิทธิแล้ว บริษัทจะต้องดำเนินการจดทะเบียนหุ้นเพิ่มทุนที่เกิดจากการใช้สิทธิดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์จะออกหนังสือรับรองทุนจดทะเบียนของบริษัท และใบเสร็จรับเงินสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน
  2. นำส่งสำเนาหนังสือรับรองทุนจดทะเบียนของบริษัทให้กับนายทะเบียนของบริษัท (บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด: TSD) เพื่อให้ TSD ทำการเพิ่มจำนวนหุ้นให้กับผู้ถือ Warrant แต่ละราย โดยการเครดิตหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทเข้าบัญชีผู้ถือ Warrant หรือออกเป็นใบหุ้นให้กับผู้ถือ Warrant
  3. ในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนแบบ PP ในราคาต่ำกว่า 90% ของราคาตลาดซึ่งผู้ลงทุนถูกห้ามขายหุ้นทั้งหมดบริษัทต้องดำเนินการให้ผู้ลงทุนดังกล่าวฝากหุ้นทั้งหมดกับ TSD (Silent Period) ให้แล้วเสร็จ (ดูเรื่อง Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำ)
  4. ยื่นแบบคำขอให้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มเติมโดยดำเนินการผ่านระบบ Smart Listing โดยยื่นภายใน 30 วันนับจากวันปิดการจองซื้อและชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนหรือวันที่ใช้สิทธิแปลงสภาพ
Group 16481 การประกาศข่าวโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ
ภายหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับแบบ F53-6 พร้อมเอกสารประกอบการยื่นคำขอ รวมทั้ง TSD โอนหุ้นเข้าบัญชีหรือออกใบหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะประกาศข่าวว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มเติม โดยวันที่มีผลเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและวันที่เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์กำหนดเป็นวันทำการถัดจากวันที่ประกาศ (สำหรับกรณีที่หุ้นสามัญของบริษัทไม่ได้ถูกห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์)
Group 16481 ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอให้รับหุ้นเพิ่มทุน
ไม่มี
กรณีบริษัทจดทะเบียนออก Warrant ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่เฉพาะการรายงานผลการใช้สิทธิ Warrant การปรับสิทธิ Warrant (ถ้ามี) และ การนำหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพเข้าจดทะเบียนเพิ่มเติมเท่านั้น
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
Group 16481 ตัวอย่างระยะเวลาการแจ้งการปรับสิทธิกรณีเข้าเหตุและเงื่อนไขการปรับสิทธิ
  • กรณีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ (รวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น)
    การเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิจะมีผลบังคับทันทีนับแต่วันที่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ต่อกระทรวงพาณิชย์
flow_warrant1
flow_warrant1_mb
* สูตรการคำนวณปรับสิทธิสามารถคำนวณได้ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลง Par  
  • กรณีเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำ และกรณีการจ่ายเงินและ/หรือหุ้นปันผล

    การเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิจะมีผลบังคับในวันแรกที่มีการขึ้นเครื่องหมายแสดงว่าราคาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาไม่รวมสิทธิประโยชน์ (วันแรกที่ขึ้นเครื่องหมาย “XR” หรือ “XW” หรือ “XD” แล้วแต่กรณี)

flow_warrant2
Group 18163
* บริษัทจดทะเบียนต้องแจ้งกำหนดการให้สิทธิใดๆ กับผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวัน Record Date 
** สูตรการคำนวณปรับสิทธิ โดยทั่วไปจะใช้ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญ 7-15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันที่มีผลปรับสิทธิ  ยกเว้น สูตรการปรับสิทธิกรณีจ่ายหุ้นปันผล บริษัทจดทะเบียนสามารถคำนวณอัตราและราคาปรับสิทธิได้ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติประกาศจ่ายหุ้นปันผล ดังนั้นบริษัทจดทะเบียนสามารถแจ้งอัตราและราคาปรับสิทธิและวันที่มีผลปรับสิทธิได้ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติ
  • กรณีอื่น ๆ เช่น การเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด (PP) หรือประชาชนทั่วไป (PO) ในราคาต่ำ :
    การเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิจะมีผลบังคับในวันแรกของการเสนอขายแก่ PP หรือ PO
flow_warrant3
flow_warrant3_mb
* กรณีบริษัทจดทะเบียนแจ้งกำหนดการจองซื้อหลักทรัพย์แก่ PP ล่วงหน้า 1 วันทำการก่อนวันจองซื้อหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนต้องแจ้งกำหนดการจองซื้อหลักทรัพย์ของ PP พร้อมแจ้งการปรับหรือไม่ปรับสิทธิพร้อมกัน เช่น วันที่ 26 มกราคม 25.. คณะกรรมการมีมติกำหนดให้ PP จ่ายชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนระหว่างวันที่ 27 – 29 มกราคม 25.. ดังนั้นวันที่ 26 มกราคม 25.. (หลังเวลา 17.00 น.) บริษัทจดทะเบียนต้องแจ้ง (1) กำหนดระยะเวลาที่ PP ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน (2) การปรับอัตรา/ราคาสิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิ 
** สูตรการคำนวณปรับสิทธิ โดยทั่วไปจะใช้ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญ 7-15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันที่มีผลปรับสิทธิ
ถาม-ตอบ
ได้  หากบริษัทได้ระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในข้อกำหนดสิทธิ