นิยาม |
รายการที่เกี่ยวโยงกัน หมายถึง การทำรายการระหว่างบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน |
บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน หมายถึง บุคคลที่อาจทำให้กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการตัดสินใจดำเนินงานว่าจะคำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลนั้น หรือประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ ได้แก่
7.2 ผู้บริหารของบริษัท 7.3 บุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการบริษัท 7.4 กรรมการของบุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการบริษัท 7.5 คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตาม 7.1 ถึง 7.4 |
ประเภทของรายการที่เกี่ยวโยงกัน |
ประเภท | คำอธิบาย | ตัวอย่าง |
1. รายการธุรกิจปกติ | เป็นรายการทางการค้าที่บริษัทจดทะเบียนหรือ บริษัทย่อยทำเป็นปกติเพื่อประกอบธุรกิจที่มีเงื่อนไขการค้า ทั่วไป | ขายสินค้า ซื้อวัตถุดิบ ให้บริการ |
2. รายการสนับสนุนธุรกิจปกติ | เป็นรายการทางที่ทำเพื่อสนับสนุนรายการธุรกิจปกติที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป | การว่าจ้างขนส่งสินค้า การว่าจ้างทำโฆษณา สัญญาว่าจ้างบริหาร การรับความช่วยเหลือทางเทคนิค |
3. รายการเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี | เป็นรายการเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี และไม่สามารถแสดงได้ว่า มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป | เช่าอาคารเพื่อเป็นสำนักงาน เช่าอาคาร หรือที่ดิน เพื่อเป็นคลังสินค้า |
4. รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ | เป็นรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ สิทธิการให้หรือรับบริการ | ซื้อเครื่องจักร ซื้อเงินลงทุน ขายอาคาร ขายสิทธิการเช่าที่ดิน การได้รับสัมปทาน |
5. รายการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน | การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การรับความช่วยเหลือทางการเงิน | ให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน กู้ยืมเงิน การจ่ายค่าธรรมเนียม จากการใช้วงเงินสินเชื่อของบุคคลเกี่ยวโยง การจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบุคคลเกี่ยวโยงที่ค้ำประกันการกู้ยืม |
การคำนวนขนาดรายการและแนวทางดำเนินการ |
ประเภท | คำอธิบาย | ตัวอย่าง |
1. สินทรัพย์หรือบริการ | ใช้มูลค่าสูงสุดของสิ่งตอบแทน หรือ มูลค่าตามบัญชี หรือมูลค่าตามราคาตลาด | กรณีขายที่ดิน ซึ่งตกลงราคาขายที่ 200 ล้านบาท โดยที่ ดินมีมูลค่าตามบัญชี 150 ล้านบาท และราคาประเมิน ที่ดินของผู้ประเมินอิสระ 198 ล้านบาท ดังนั้น มูลค่าที่ ใช้ในการคำนวณขนาดรายการคือ 200 ล้านบาท |
2. การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน | เงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งต้องคำนวณตลอดระยะเวลากู้ยืม หรือมูลค่าที่ค้ำประกันตามมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากบุคคลเกี่ยวโยงไม่ชำระ | กรณีให้กู้ยืมเงิน 20 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% มูลค่าที่ใช้ในการคำนวณขนาด รายการเท่ากับ 22 ล้านบาท (20+(20x5%x2)) |
3. การรับความช่วยเหลือทางการเงิน | ค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่ต้องจ่ายให้บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตลอดระยะเวลารับความช่วยเหลือทางการเงิน | กรณีกู้ยืมเงิน 20 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% มูลค่าที่ใช้ในการคำนวณขนาดรายการเท่ากับ 2 ล้านบาท (20x5%x2) |
4. การจำหน่ายเงินลงทุนจนสิ้นสภาพเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม | มูลค่าสิ่งตอบแทนที่จะได้รับรวมเงินให้กู้ยืม (รวมเงินต้น และดอกเบี้ย) ภาระค้ำประกันหรือภาระอื่นในส่วนที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยต้องรับผิดชอบ | กรณีขายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัทย่อยให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่มูลค่า 100 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยมีเงินกู้ยืม รวมดอกเบี้ยค้างชำระกับบริษัทจดทะเบียน 50 ล้านบาท มูลค่าที่ใช้คำนวณขนาดรายการเท่ากับ 150 |
ขนาดรายการ | เลือกใช้ค่าที่สูงกว่าระหว่าง | |
เล็ก | X ≤ 1 ล้านบาท | X ≤ 0.03%NTA* |
กลาง | 1 ล้านบาท < X < 20 ล้านบาท | 0.03%NTA* < X < 3%NTA* |
ใหญ่ | X ≥ 20 ล้านบาท | X ≥ 3%NTA* |
ประเภท | อำนาจดำเนินการ | ||
เล็ก | กลาง | ใหญ่ | |
1. รายการธุรกิจปกติ/ 2. รายการสนับสนุนธุรกิจปกติ - เงื่อนไขการค้าทั่วไป | คณะกรรมการบริษัทอนุมัติหลักการโดยกำหนดกรอบให้ฝ่ายจัดการดำเนินการ | ||
- ไม่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป | ฝ่ายจัดการ | คณะกรรมการบริษัท + เปิดเผยข้อมูลต่อ ตลท. | ผู้ถือหุ้น |
3. รายการเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี และไม่มีเงื่อนไข การค้าทั่วไป | ฝ่ายจัดการ | ฝ่ายจัดการ + เปิดเผยข้อมูลต่อ ตลท. | คณะกรรมการบริษัท + เปิดเผยข้อมูลต่อ ตลท. |
4. รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ | ฝ่ายจัดการ | คณะกรรมการบริษัท + เปิดเผยข้อมูลต่อ ตลท. | ผู้ถือหุ้น |
5. รายการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน | |||
- ให้ความช่วยเหลือทางการเงินเเก่บุคคลที่เกี่ยวโยงหรือบริษัทที่บุคคลที่เกี่ยวโยงถือหุ้นมากกว่า บจ. ถือ | คณะกรรมการบริษัท (น้อยกว่า 100 ล้านบาท หรือ 3% NTA แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) | - | ผู้ถือหุ้น (มากกว่า 100 ล้านบาท หรือ 3% NTA แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) |
- ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทที่บริษัทจดทะเบียนถือหุ้น มากกว่าบุคคลเกี่ยวโยง | ฝ่ายจัดการ | คณะกรรมการบริษัท + เปิดเผยข้อมูลต่อ ตลท. | ผู้ถือหุ้น |
- รับความช่วยเหลือทางการเงิน | ฝ่ายจัดการ | คณะกรรมการบริษัท + เปิดเผยข้อมูลต่อ ตลท. | ผู้ถือหุ้น |
รายการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์รายการที่เกี่ยวโยงกัน |
การให้กู้ยืมเงินตามระเบียบสงเคราะห์พนักงานลูกจ้าง |
ธุรกรรมที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งของบริษัทหรือคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีฐานะเป็น (ก) บริษัทย่อยที่บริษัทจดทะเบียนถือหุ้นไม่น้อยกว่า 90% (ข) บริษัทย่อยที่กรรมการ ผู้บริหารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องถือหุ้นหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่เกินอัตราหรือมีลักษณะตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด |
บริษัทจดทะเบียนทำรายการกับบริษัทย่อยที่มีบุคคลเกี่ยวโยงกันถือหุ้นไม่เกินกว่า 10% และไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจควบคุมในบริษัทย่อย |
รายการระหว่างกันของบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน ที่มีบุคคลเกี่ยวโยงกันถือหุ้นในบริษัทย่อยดังกล่าวไม่เกิน 10% และไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย |
บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยออกหลักทรัพย์ใหม่ให้กับบุคลที่เกี่ยวโยงในลักษณะดังนี้
|
รายการที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยทำรายการกับนิติบุคคล ซึ่งบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยได้ส่งคนเข้าไปดูแลควบคุมในนิติบุคคลดังกล่าว |
รายการที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดการถ่ายเทผลประโยชน์ |
การเปิดเผยข้อมูล |
ความคิดเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ(IFA) |
การนำส่งหนังสือเชิญประชุมให้ผู้ถือหุ้น |
ขั้นตอนการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นสำหรับรายการที่เกี่ยวโยงกัน
* บริษัทอาจเลือกส่งความคิดเห็น IFA และหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น ให้สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์พร้อมกับการส่งให้ผู้ถือหุ้น
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
|
|
|
ประเภทสารสนเทศ | ดาวน์โหลด | การเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ * |
1. รายการที่เกี่ยวโยงกัน | ทันที |
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย
1. วันที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติให้บริษัททำรายการ วันที่บริษัทตกลงเข้าทำสัญญา และวันที่คาดว่าธุรกรรมจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
2. คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง และลักษณะส่วนได้เสีย
- สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน
- การดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน หรือลักษณะความสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว (เช่น ญาติสนิท เป็น บิดา มารดา พี่ น้อง หรือบุตรและคู่สมรสของบุตร)
- พฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าเป็นผู้มีอำนาจควบคุม (เช่น มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ หรือการดำเนินงานของบริษัท)
- กรณีเป็นนิติบุคคล เปิดเผย ultimate shareholder สัดส่วนการถือหุ้นในนิติบุุคคล และลักษณะความสัมพันธ์กับกรรมการ ผู้บริหาร หรือผูู้มีอำนาจควบคุมในบริษัทจดทะเบียน
3. อธิบายลักษณะการทำรายการ (เช่น เป็นการซื้อขายวัตถุดิบ สินทรัพย์ รับหรือให้บริการ รับหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงิน)
- อธิบายลักษณะของการทำรายการดังกล่าว (เช่น ซื้อขายวัตถุดิบ ขนส่งสินค้า ทำโฆษณา เช่าคลังสินค้า ซื้อขายอาคาร) ที่ตั้ง สภาพการใช้งาน อายุการใช้งาน ภาระผูกพันของสินทรัพย์ ราคาประเมิน วันที่ประเมิน ผู้ประเมิน (ผู้ประเมินราคาอิสระที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.) ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการเช่า เป็นต้น
กรณีเป็นหลักทรัพย์ : ชื่อบริษัท ลักษณะธุรกิจ ทุนชำระแล้ว คณะกรรมการ รายชื่อผู้ถือหุ้นก่อนและหลังทำรายการ (หากเป็นนิติบุคคล เปิดเผย ultimate shareholder) สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของงบการเงินรวมของบริษัท 3 ปีและ งวดปัจจุบันสะสม หากไม่มีให้ใช้งบการเงินเฉพาะกิจการ (เช่น รายได้ขายหรือบริการ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร กำไร(ขาดทุน) สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม กำไร(ขาดทุนสะสม) ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือรายการสำคัญอื่นๆ)
- ราคา เกณฑ์การกำหนดราคา เช่น วิธีกระแสเงินสดคิดลด และอธิบายสมมติฐานสำคัญที่ใช้ในการประเมิน (ทั้งนี้ กรณีราคาที่เกิดจากการตกลงกันของคู่สัญญา ให้เปิดเผยที่มาของราคา มูลค่าตามบัญชี และราคาตลาด (ถ้ามี))
- อธิบายลักษณะของบริการที่จะได้รับหรือให้บริการ (เช่น เป็นการให้บริการที่ปรึกษางานระบบ logistics เป็นต้น)
- อัตราและค่าบริการ (เช่น ค่าที่ปรึกษาตามจำนวนชั่วโมง) ค่าเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม และเกณฑ์การกำหนดราคา
- ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาบริการ
- จำนวนเงินต้น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญากู้ยืม มูลค่ารวมดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญากู้ยืม
- ลักษณะของสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมูลค่า
- ข้อจำกัดการกู้ยืมที่อาจกระทบสิทธิผู้ถือหุ้น (เช่น ข้อจำกัดการจ่ายปันผล) และเงื่อนไขอื่นที่สำคัญ (เช่น การดำรงอัตราส่วนทางการเงิน เหตุการผิดนัดเงินกู้)
- แหล่งเงินทุน ต้นทุนที่ให้กู้ยืมและสภาพคล่องของบริษัทในช่วงเวลาที่ให้กู้ยืม และกรณีรับความช่วยเหลือทางการเงิน อธิบายเหตุผล ความจำเป็น อัตราดอกเบี้ยเปรียบเทียบกับสถาบันการเงิน และแผนการใช้เงิน
4. การชำระราคา
- วันที่รับหรือชำระเงินจนครบ เงินมัดจำ (ถ้ามี) และเปรียบเทียบมูลค่าเงินมัดจำกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม เงื่อนไขการยกเลิกสัญญา และการได้รับชำระคืนมัดจำ
- ประเภทหลักทรัพย์ จำนวน ราคา และวิธีการกำหนดราคา (เช่น กำหนดโดยใช้ราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วันก่อนวันที่มีมติคณะกรรมการ)
- กำหนดวันจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติเพิ่มทุน
5. ขนาดของการทำรายการ
1.ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณต้องเป็นตัวเลขจากงบการเงินรวมฉบับล่าสุด(หากไม่มีให้ใช้งบการเงินเฉพาะกิจการ)ที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชี)
2.การคำนวณ NTA : Net Tangible Assets = สินทรัพย์รวม – สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เช่น ค่าความนิยม ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ยกเว้นไม่ต้องหักสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ก่อให้เกิดรายได้หลัก เช่น สัมปทาน ประทานบัตร) – หนี้สิน – ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม
3.ขนาดรายการเปรียบเทียบมูลค่ารายการด้วยวิธี %NTA หรือ เทียบกับจำนวนเงินตามที่กำหนดในข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน
ประเภทรายการ
1) ธุรกิจปกติ
2) สนับสนุนธุรกิจปกติ
3) เช่า / ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี
4) สินทรัพย์ / บริการ
1.กรณีจำหน่ายไปซึ่งเงินลงทุนจนสิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อย / บริษัทร่วม ในการคำนวณขนาดรายการ ให้นับรวมเงินให้กู้ มูลค่าภาระค้ำประกันและภาระอื่นที่บริษัทนั้นยังคงค้างต่อบริษัท
2.กรณีให้ / รับบริการ ใช้มูลค่ารวมที่ได้รับ / จ่ายตลอดอายุสัญญาบริการในการคำนวณขนาดรายการ
5) การให้ / รับความช่วยเหลือทางการเงิน
1.กรณีให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ขนาดรายการต้องนับรวมทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย มูลค่าภาระค้ำประกัน และมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้รับชำระหนี้
2.กรณีรับความช่วยเหลือทางการเงิน ให้ใช้มูลค่าดอกเบี้ย รวมถึงผลประโยชน์อื่นใดที่ต้องจ่าย
6. อธิบายว่าเป็นรายการที่ต้องขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ระบุชื่อหน่วยงานและเงื่อนไข
7. ความเห็นของกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ
การตั้งชื่อหัวข้อข่าว | Template |
มติคณะกรรมการบริษัทเรื่องรายการที่เกี่ยวโยงกัน……………. | เลือก - รายการที่เกี่ยวโยงกัน - รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ (กรณีเข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ด้วย) |
กรณี ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้น แจ้งจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกัน....... | เลือก - รายการที่เกี่ยวโยงกัน - รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ (กรณีเข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ด้วย) - กำหนดการประชุมผู้ถือหุ้น - การเพิ่มทุนจดทะเบียน (กรณีต้องมีการเพิ่มทุน) |
ความเห็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระรายการ….. ความเห็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระไม่เห็นด้วยกับการทำรายการ... | เลือก ความเห็น IFA |
ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ หลังจากพิจารณาความเห็นของ IFA ที่มีความเห็นแตกต่างกัน | เลือก อื่นๆ |
แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น....... | เลือก มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น กรณีเห็นด้วย เลือก > อนุมัติตามที่คณะกรรมการเสนอ กรณีไม่เห็นด้วย เลือก > เปลี่ยนแปลงจากที่คณะกรรมการเสนอ และให้ระบุวาระที่ไม่เป็นไปตามที่คณะกรรมการเสนอ |