การที่บริษัทออกหุ้นใหม่เพิ่มเติมจากหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยบริษัทจะนำหุ้นสามัญพิ่มทุนไปเสนอขายให้กับ
ผู้ที่สนใจเช่น ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ลงทุนสถาบัน หรือ ผู้ลงทุนทั่วไปซึ่งสิทธิประโยชน์ของ
หุ้นสามัญเพิ่มทุนจะเหมือนกับหุ้นเดิมของบริษัททุกประการ
ประเภทการเพิ่มทุน
1. แบบกำหนดวัตถุประสงค์
กำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงินทุน ระบุจำนวนหุ้นที่ออกและการจัดสรรไว้ชัดเจน
2. แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)
การเพิ่มทุนโดยขออนุมัติจำนวนหุ้นและประเภทจัดสรรจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นไว้ล่วงหน้า และมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริษัทออกและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนในแต่ละคราวตามความเหมาะสม โดยเมื่อคณะกรรมการบริษัทจะจัดสรรหุ้นในแต่ละคราวจะต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มทุนให้ครบถ้วนตามเกณฑ์
รูปแบบการเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่
ประโยชน์ของการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน
บริษัท
เพื่อปรับโครงสร้างทางการเงิน ตลอดจนระดับหนี้สินต่อทุน และต้นทุนทางการเงินให้มีความเหมาะสม | |
เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยนำไปชำระหนี้เงินกู้ยืม และลดภาระดอกเบี้ยจ่าย | |
เพื่อเป็นเงินทุนในการขยาย พัฒนาธุรกิจ หรือเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม | |
ลดภาวะเสี่ยงของส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้บริษัทจดทะเบียนเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน | |
เพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายให้กับหุ้น และเพิ่มจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) | |
กรณี PP สามารถระดมทุนได้ในระยะเวลาสั้น โดยหากเป็นผู้ลงทุนที่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท (Synergy) ทั้งกรณีเพิ่มทุนให้กับ ผู้ลงทุนรายใหม่ที่เป็น Strategic Partner หรือกรณีการควบรวมหรือ การเข้าซื้อกิจการ (M&A) ด้วยวิธีการแลกหุ้น (Share Swap) จะเป็น การปรับฐานสัดส่วนผู้ลงทุนให้เหมาะสมด้วย | |
กรณี PO สามารถระดมทุนได้จำนวนมาก โดยราคาเสนอขายหุ้น จะใกล้ เคียงราคาตลาด เนื่องจากใช้วิธี Book Building ในการกำหนดราคา ซึ่งจะเป็นราคาที่โปร่งใส และเกิดจากการสำรวจความต้องการหุ้นของ ผู้ลงทุนสถาบัน |
ผู้ถือหุ้น
การที่บริษัทสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนตามแผนธุรกิจ หรือจากการปรับโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม ทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้น หรือเงินปันผลที่เพิ่มขึ้น | |
กรณี RO ทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถรักษาสัดส่วนการลงทุนได้ |
การเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนจะทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและต่อราคาหลักทรัพย์บริษัท บริษัทจดทะเบียนจึงต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับ การเพิ่มทุนเพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปได้ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสมและทันเวลา
รูปแบบการเพิ่มทุนหลักเกณฑ์การอนุญาตแบ่งออกเป็น 3 กรณี ขึ้นกับลักษณะการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (ยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตในทุกกรณี)
กรณีที่ 1 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมอบหมายให้คณะกรรมการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นตามราคาตลาด*
กรณีที่ 2 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติกำหนดราคาเสนอขายชัดเจน
กรณีที่ 3 การเสนอขายหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วน (RO/PPO)
บริษัทจดทะเบียนจะต้องนำส่งหนังสือนัดประชุมที่มีข้อมูลตามที่กำหนดในหลักเกณฑ์ให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุม และหากเข้าข่ายกรณีที่มีนัยสำคัญ ต้องจัดให้มีรายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (“IFA") เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติ โดยให้บริษัทจดทะเบียนนำส่งร่างหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและร่างความเห็น IFA ต่อสำนักงาน เพื่อสอบทานข้อมูลและแจ้งข้อสังเกต (ถ้ามี) เพื่อปรับปรุงก่อนจัดส่งไปยังผู้ถือหุ้น
กรณีที่มีนัยสำคัญที่ต้องจัดให้มีรายงานความเห็นของ IFA:
ข้อมูลในรายงานความเห็น IFA ต้องครอบคลุมในเรื่องอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการดำเนินการในแต่ละกรณี สรุปได้ตามแผนภาพดังนี้
กรณีที่ 1 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมอบหมายให้คณะกรรมการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นตามราคาตลาด*
กรณีที่ 2 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติกำหนดราคาเสนอขายชัดเจน (ทั้งนี้ อาจกำหนดเป็นราคาขั้นต่ำ เป็นช่วงราคา หรือเป็นสูตรการคำนวณที่อย่างน้อยต้องแสดงราคาขั้นต่ำก็ได้)
กรณีที่ 3 การเสนอขายหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วน (RO/PPO)
หมายเหตุ: ได้รับยกเว้นการจัดทำ IFA report
สารสนเทศ | RO | PPO | PO | PP | |
Size Limit (% ของทุนชำระแล้ว ณ วันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติเพิ่มทุนแบบ General Mandate) | ไม่เกิน 30% | ไม่เกิน 20% | ไม่เกิน 20% | ไม่เกิน 10% | |
เรียกชำระหุ้นเพิ่มทุนรวมได้ไม่เกิน 30% โดยเป็นการจัดสรร PO และ PP ไม่เกิน 20% | |||||
ราคาเสนอขาย | ไม่กำหนด | ต้องไม่เข้าข่ายเป็นราคาต่ำ* ตามเกณฑ์อนุญาต PO หรือ PP ของ ก.ล.ต. แล้วแต่กรณี (Discount ไม่เกิน 10%) | |||
ระยะเวลาจัดสรร | ภายในวันที่บริษัทจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) ครั้งถัดไปหรือวันที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทต้องจัด AGM ครั้งถัดไป แล้วแต่วันใดถึงก่อน | ||||
ประเภทหลักทรัพย์ | - หุ้นสามัญ - หุ้นบุริมสิทธิ - TSR | - หุ้นสามัญ - หุ้นบุริมสิทธิ |
*การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ คือการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกำหนดราคาเสนอขายไว้ ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด
*ราคาตลาดตามเกณฑ์อนุญาต PO
การกำหนดราคาตลาดของหุ้นให้ใช้ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักก่อน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุให้ไม่สามารถคำนวณได้ ให้ใช้ราคา Book Building หรือราคายุติธรรม ตามลำดับ
ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ได้แก่ ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นย้อนหลัง 7-15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันกำหนดราคาเสนอขายซึ่งเป็นวันใดวันหนึ่งที่กำหนดโดยมติคณะกรรมการดังนี้
*ราคาตลาดตามเกณฑ์อนุญาต PP
การกำหนดราคาตลาดของหุ้นให้ใช้ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักก่อน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุให้ไม่สามารถคำนวณได้ ให้ใช้ราคา Book Building หรือราคายุติธรรม ตามลำดับ
โดยที่ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ได้แก่ ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นย้อนหลัง 7-15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันที่คณะกรรมการมีมติ
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยในรายงานเพิ่มทุน | กำหนดวัตถุประสงค์ | General Mandate | ||
ขออนุมัติจาก ผู้ถือหุ้น | เมื่อมีการจัดสรร | ขอกรอบเพิ่มทุน จากผู้ถือหุ้น | Board มีมติจัดสรร | |
| ||||
| X | |||
| X | |||
| X | |||
| X | |||
| X | |||
| X |
การใช้เงินเพิ่มทุนในช่วง | รายงานภายใน |
มกราคม – มิถุนายน กรกฎาคม – ธันวาคม | 30 กรกฏาคม 30 มกราคม ของปีถัดไป |
|
|
|
|
ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการเพิ่มทุน (บมจ XY) |
การเพิ่มทุน | |
เรื่อง | การเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน |
วันที่คณะกรรมการมีมติ | ... |
รายละเอียดการจัดสรร | |
จัดสรรให้กับ | ผู้ถือหุ้นสามัญเดิม |
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร | หุ้นสามัญ |
จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) | 1,600,000,000 |
อัตราส่วน (เดิม:ใหม่) | 1 : 1 |
ราคาจองซื้อ (บาทต่อหุ้น) | ... |
วันจองซื้อและชำระค่าหุ้น | วันที่ ... ถึง ... |
วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น ที่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Record date) | ... |
วันที่ไม่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) | ... |
จัดสรรให้กับ | บุคคลในวงจำกัด |
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร | หุ้นสามัญ |
ชื่อบุคคลในวงจำกัดที่ได้รับจัดสรร | - |
จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) | 800,000,000 |
จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 2,400,000,000 |
จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น) | 2,400,000,000 |
มูลค่าที่ตราไว้ (Par) (บาทต่อหุ้น) | 1.00 |
กำหนดการประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ | |
เรื่อง | กำหนดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น |
วันที่คณะกรรมการมีมติ | ... |
วันประชุม | ... |
เวลาเริ่มประชุม (h:mm) | ... |
วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประชุม (Record date) | ... |
วันที่ไม่ได้รับสิทธิเข้าประชุม | ... |
วาระการประชุมที่สำคัญ | การเพิ่มทุน ... |
สถานที่ประชุม | ... |
(F 53-4) |
การเพิ่มทุน | ประเภทหุ้น | จำนวนหุ้น | มูลค่าที่ตราไว้ (บาทต่อหุ้น) | รวม (บาท) |
แบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน | หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ | 2,400,000,000 - | 1.00 - | 2,400,000,000 - |
แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) | หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ | - - | - - | - - |
จัดสรรให้แก่ | จำนวนหุ้น (ไม่เกิน) | ราคาขายและ การจัดสรร | วัน เวลา จองซื้อ และชำระเงินค่าหุ้น | หมายเหตุ |
2.1 เพื่อรองรับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้กับบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) | 800,000,000 | โปรดดูหมายเหตุ ข้อ (1) | โปรดดูหมายเหตุ ข้อ (2) | - |
2.2 เพื่อรองรับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Right Offering) | 1,600,000,000 | ... บาทต่อหุ้น และ อัตราส่วน 1:1 โปรดดูหมายเหตุ ข้อ (3) | วันจองซื้อ ... โปรดดูหมายเหตุ ข้อ (2) | - |
ลำดับ | ขั้นตอนการดำเนินการ | วัน เดือน ปี |
1 | ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ ... | ... |
2 | วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) เพื่อสิทธิในการเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ... | ... |
3 | วันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ... | ... |
4 | ดำเนินการจดทะเบียนมติเพิ่มทุนจดทะเบียน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ กับกระทรวงพาณิชย์ | ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติ |
5 | วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) เพื่อสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน | ... |
6 | ระยะเวลาการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน | ... |
7 | จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกระทรวงพาณิชย์ | ภายใน 14 วัน หลังสิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน |
8 | การนำหุ้นเพิ่มทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ | จะแจ้งให้ทราบภายหลัง |
สารสนเทศเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) |
............................. กรรมการ | ............................. กรรมการ |
ตัวอย่าง การแจ้งคำนวณราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 7-15 วันทำการ กรณีเพิ่มทุน PP |
ลำดับ | วันที่ | ปริมาณซื้อขาย (หุ้น) | มูลค่าซื้อขาย(หุ้น) |
1 | 22 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
2 | 23 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
3 | 24 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
4 | 25 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
5 | 28 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
6 | 29 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
7 | 30 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
8 | 4 มกราคม 2559 | ... | ... |
9 | 5 มกราคม 2559 | ... | ... |
10 | 6 มกราคม 2559 | ... | ... |
11 | 7 มกราคม 2559 | ... | ... |
12 | 8 มกราคม 2559 | ... | ... |
13 | 11 มกราคม 2559 | ... | ... |
14 | 12 มกราคม 2559 | ... | ... |
15 | 13 มกราคม 2559 | ... | ... |
ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถัวน้ำหนัก 15 วันทำการ (บาท/หุ้น) | |||
ร้อยละ 90 ของราคาตลาดถัวเฉลี่ยถัวน้ำหนัก 15 วันทำการ (บาท/หุ้น) |
ขอแสดงความนับถือ |
(...............................) |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร |
ลำดับ | วันที่ | ปริมาณซื้อขาย (หุ้น) | มูลค่าซื้อขาย(หุ้น) |
1 | 22 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
2 | 23 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
3 | 24 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
4 | 25 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
5 | 28 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
6 | 29 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
7 | 30 ธันวาคม 2558 | ... | ... |
8 | 4 มกราคม 2559 | ... | ... |
9 | 5 มกราคม 2559 | ... | ... |
10 | 6 มกราคม 2559 | ... | ... |
11 | 7 มกราคม 2559 | ... | ... |
12 | 8 มกราคม 2559 | ... | ... |
13 | 11 มกราคม 2559 | ... | ... |
14 | 12 มกราคม 2559 | ... | ... |
15 | 13 มกราคม 2559 | ... | ... |
ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถัวน้ำหนัก 15 วันทำการ (บาท/หุ้น) | |||
ร้อยละ 90 ของราคาตลาดถัวเฉลี่ยถัวน้ำหนัก 15 วันทำการ (บาท/หุ้น) |
ขอแสดงความนับถือ |
(...............................) |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร |
ตัวอย่างการรายงานการใช้เงินที่ได้จากการเพิ่มทุน (บมจ WZ) |
วัตถุประสงค์ของการใช้เงิน | แผนการใช้ (โดยประมาณ) | จำนวนเงินใช้ไป จนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 58 | คงเหลือ ณ 30 มิ.ย. 58 | จำนวนเงินใช้ ไประหว่าง วันที่ 1 ก.ค. - 31 ธ.ค. 58 | คงเหลือ ณ 31 ธ.ค. 58 |
1. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการผลิตของบริษัทและลงทุนเพิ่มเติมในเครื่องจักรและอุปกรณ์ | ... | ... | ... | ... | ... |
2. โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ และปรับปรุงพื้นที่ภายในบริษัท | ... | ... | ... | ... | ... |
3. โครงการลงทุนเพิ่มเติมในที่ดิน | ... | ... | ... | ... | ... |
4. ใช้เงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการของบริษัท | ... | ... | ... | ... | ... |
รวม | 2,000 | 1,600 | 400 | 100 | 300 |
แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์ (F53-5) ชื่อบริษัท บริษัท…….จำกัด (มหาชน) วันที่ 03 มิ.ย. 2559 | ||||
รายงานผลการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน รายละเอียดดังต่อไปนี้ | ||||
เสนอขายให้แก่ | จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น) | ราคาจองซื้อ (บาทต่อหุ้น) | วันจองซื้อและชำระค่าหุ้น | จำนวนหุ้นที่ขายได้ (หุ้น) |
บุคคลในวงจำกัดตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (คงเหลือ) จำนวน 50,000,000 หุ้น โดยจำนวนหุ้นที่จัดสรรและขายได้ในครั้งนี้จำนวน 50,000,000 หุ้น คงเหลือ 0 หุ้น รายละเอียดดังนี้ | ||||
นาย…………… | …. | …. | วันที่ 03 มิ.ย. 2559 | …. |
สรุปผลรวม | …. |
จำนวนเงินที่ได้รับรวม (บาท) | …. |
ค่าใช้จ่ายรวม (บาท) | …. |
รายละเอียดค่าใช้จ่าย | …. |
จำนวนเงินที่ได้รับสุทธิ (บาท) | …. |
หมายเหตุ | เนื่องจากราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ 2.03 ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาดถัวเฉลี่ยถัวน้ำหนักจึงเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์การขายในราคาต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาด ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยส่งผลให้ต้องกำหนดระยะเวลาห้ามขายหุ้น (Silent Period) เป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบ 6 เดือนสามารถทยอยขายหุ้นได้ร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่ห้ามขาย อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้กำหนดระยะเวลาห้ามขายหุ้น (Lock up) เป็นระยะเวลา 2 ปี และสามารถทยอยขายได้ในจำนวนร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่ถูกสั่งห้ามขาย เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี แรกนับแต่วันที่หุ้นในส่วนเพิ่มทุนของบริษัทฯ เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่มากกว่าหลักเกณฑ์ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | ||
ลงลายมือชื่อ (นาย…………...............……) กรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท | ลงลายมือชื่อ (นาย…………...............……) กรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ให้รายงานผลการใช้เงินเพิ่มทุนจนกว่าจะใช้เงินจากการระดมทุนจนหมด
ให้รายงานมติของคณะกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดวันให้สิทธิจองซื้อเพิ่มทุน และวันจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน รวมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ SETLink ตามหลักเกณฑ์การแจ้งกำหนดวัน RD /BC โดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน
กรณีมีการเสนอขายหุ้นพร้อมหลักทรัพย์ที่อาจแปลงสภาพเป็นหุ้นเช่น Warrant หรือ หุ้นกู้แปลงสภาพ การพิจารณาว่าเป็นการเสนอขายในราคาที่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาดหรือไม่ จะต้องคำนวณ 2 กรณี คือ
(1) ราคาเสนอขายหุ้น
(2) ราคาเสนอขายหุ้นรวมหลักทรัพย์แปลงสภาพ
หากราคาใดราคาหนึ่งต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด หุ้นและหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวจะถูกห้ามขายตามเกณฑ์ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำ ด้วย
ดังนั้น ในกรณีจากคำถามนี้ หุ้นและหุ้นที่เกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพ Warrant ต้องถูกห้ามขายด้วย เนื่องจากราคาเสนอขายหุ้นควบ Warrant ต่ำกว่า90% ของราคาตลาด
หากราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด โดยที่ราคาตลาดคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักย้อนหลังไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันที่คณะกรรมการมีมติกำหนดราคาเสนอขาย (ดูราคาตลาดในหัวข้อ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำ) ผู้ลงทุนดังกล่าวก็จะไม่ถูกห้ามขายตามเกณฑ์ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำด้วย
Note กรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติเสนอขายหุ้น/Warrant ให้ PP ก่อนเกณฑ์มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566
หากราคาเสนอขายต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด โดยที่ราคาตลาดคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักย้อนหลังไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันแรกที่มีการเสนอขายหุ้น ผู้ลงทุนดังกล่าวก็จะถูกห้ามขายตามเกณฑ์ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำด้วย
ให้คำนวณราคาตลาดจากถัวราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 7-15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันที่คณะกรรมการมีมติกำหนดราคาเสนอขาย (ดูราคาตลาดในหัวข้อ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำ)
Note กรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติเสนอขายหุ้น/Warrant ให้ PP ก่อนเกณฑ์มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566
ให้คำนวณราคาตลาดก่อนวันที่จัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ลงทุนในแต่ละรอบ
ให้รายงานผลการใช้เงินเพิ่มทุนจนกว่าจะใช้เงินจากการระดมทุนจนหมด
ให้รายงานมติของคณะกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดวันให้สิทธิจองซื้อเพิ่มทุน และวันจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน รวมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ SETLink ตามหลักเกณฑ์การแจ้งกำหนดวัน RD /BC โดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน
กรณีมีการเสนอขายหุ้นพร้อมหลักทรัพย์ที่อาจแปลงสภาพเป็นหุ้นเช่น Warrant หรือ หุ้นกู้แปลงสภาพ การพิจารณาว่าเป็นการเสนอขายในราคาที่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาดหรือไม่ จะต้องคำนวณ 2 กรณี คือ
(1) ราคาเสนอขายหุ้น
(2) ราคาเสนอขายหุ้นรวมหลักทรัพย์แปลงสภาพ หากราคาใดราคาหนึ่งต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด
หุ้นและหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวจะถูกห้ามขายตามเกณฑ์ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำ ด้วย
ดังนั้น ในกรณีจากคำถามนี้ หุ้นและหุ้นที่เกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพ Warrant ต้องถูกห้ามขายด้วย เนื่องจากราคาเสนอขายหุ้นควบ Warrant ต่ำกว่า90% ของราคาตลาด
หากราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด โดยที่ราคาตลาดคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักย้อนหลังไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันที่คณะกรรมการมีมติกำหนดราคาเสนอขาย (ดูราคาตลาดในหัวข้อ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำ) ผู้ลงทุนดังกล่าวก็จะไม่ถูกห้ามขายตามเกณฑ์ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำด้วย
Note กรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติเสนอขายหุ้น/Warrant ให้ PP ก่อนเกณฑ์มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566
หากราคาเสนอขายต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด โดยที่ราคาตลาดคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักย้อนหลังไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันแรกที่มีการเสนอขายหุ้น ผู้ลงทุนดังกล่าวก็จะถูกห้ามขายตามเกณฑ์ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำด้วย
ให้คำนวณราคาตลาดจากถัวราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 7-15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันที่คณะกรรมการมีมติกำหนดราคาเสนอขาย (ดูราคาตลาดในหัวข้อ Silent Period สำหรับ PP ราคาต่ำ)
Note กรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติเสนอขายหุ้น/Warrant ให้ PP ก่อนเกณฑ์มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566
ให้คำนวณราคาตลาดก่อนวันที่จัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ลงทุนในแต่ละรอบ
กรณีขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ PP
กรณีขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ PP + หลักทรัพย์แปลงสภาพ
กรณีขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ