เพื่อเพิ่มมาตรการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์จึงออกหลักเกณฑ์การขึ้นเครื่องหมายบนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบถึงบริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงด้านฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน สภาพคล่องทางการเงิน หรือมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งผู้ลงทุนจะต้องซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วยบัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance) เท่านั้น
โดยเกณฑ์การขึ้นเครื่องหมายเพื่อเตือนผู้ลงทุน ประกอบด้วย “CB” (Business), “CS” (Financial Statements), “CC” (Non-compliance) และ “CF” (Free Float) สรุปดังนี้
| | เงื่อนไขการขึ้นเครื่องหมาย |
เครื่องหมาย
| รายละเอียด |
การขึ้นเครื่องหมาย | การปลดเครื่องหมาย |
CB (Business) | - ส่วนของผู้ถือหุ้น < 50% ของทุนชำระแล้ว /1 ในงบฉบับล่าสุด
- ขาดทุนสุทธิต่อเนื่อง 3 ปี จนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบปีล่าสุด < 100% ของทุนชำระแล้ว /1
| - ส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 50% ของทุนชำระแล้ว/1 ในงบฉบับล่าสุด
- มีกำไรสุทธิ หรือมีส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่า ≥ 100% ของทุนชำระแล้ว ในงบปีล่าสุด
|
| - หน่วยงานกำกับดูแลของบริษัทที่เป็นสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย มีคำสั่งที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป ให้แก้ไขฐานะการเงินหรือการดำเนินงานโดยให้ระงับการดำเนินการบางส่วนหรือไม่ให้ขยายธุรกิจเป็นการชั่วคราว และตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
| - แสดงได้ว่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาฐานะทางการเงินหรือการดำเนินงานให้เป็นไปตามคำสั่งของหน่วยงานกำกับดูแล
|
| - บริษัท หรือเจ้าหนี้ หรือหน่วยงานกำกับดูแลยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และศาลรับคำร้องไว้แล้ว
- บริษัทถูกเจ้าหนี้ยื่นฟ้องล้มละลายและศาลรับคำร้องไว้แล้ว
| - ศาลยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ หรือศาลยกคำฟ้องล้มละลาย หรือเจ้าหนี้ถอนคำฟ้องล้มละลาย
|
| - มีรายได้จากการดำเนินงานในงบปีล่าสุด < 100 ล้านบาท (SET) และ 50 ล้านบาท (mai)
| - มีรายได้จากการดำเนินงานในงวดสะสมหรือในปีล่าสุด ≥ 100 ล้านบาท (SET) และ 50 ล้านบาท (mai)
|
| - บริษัทหรือบริษัทย่อยผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน หรือผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันตามนิติกรรมเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ /2 โดยกรณีของบริษัทย่อยจะพิจารณาเหตุผิดนัดชำระหนี้ที่มีมูลค่า ≥ 5% ของสินทรัพย์รวมของบริษัท
| - แสดงได้ว่าได้แก้ไขปัญหาการผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงินแล้ว หรือ ThaiBMA/2 ยกเลิกการขึ้นเครื่องหมายที่ตราสารหนี้ของบริษัทหรือบริษัทย่อย
|
เครื่องหมาย
| รายละเอียด |
การขึ้นเครื่องหมาย | การปลดเครื่องหมาย |
CS (Financial Statements) | - รายงานของผู้สอบบัญชีฉบับล่าสุดมีลักษณะไม่แสดงความเห็น
| - นำส่งงบการเงินที่ไม่มีลักษณะไม่แสดงความเห็น
|
| - สำนักงาน ก.ล.ต. มีคำสั่งให้บริษัทแก้ไขงบการเงิน หรือมีคำสั่งให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit)
| - ส่งงบการเงินที่แก้ไข หรือส่งผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. มีคำสั่ง
|
| | 1.3 เหตุไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ |
เครื่องหมาย
| รายละเอียด |
การขึ้นเครื่องหมาย | การปลดเครื่องหมาย |
CC (Non-Compliance) | - บริษัทมีสินทรัพย์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในรูปของเงินสด (Cash Company)
| - ได้แก้ไขการเป็น Cash Company แล้วเสร็จก่อนวันที่ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน /3
|
| - บริษัทมีคณะกรรมการตรวจสอบไม่ครบถ้วน > 3 เดือน (กรรมการตรวจสอบ < 3 ราย)
| - มีคณะกรรมการตรวจสอบครบถ้วน
|
| - บริษัทไม่สามารถดำรงคุณสมบัติเรื่องลักษณะการประกอบธุรกิจที่ต้องไม่มีการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company) /4
(พิจารณาจากงบการเงินที่สิ้นสุดตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2567 โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน หัวข้อ “ถาม-ตอบ”)
| - ได้แก้ไขการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นการประกอบธุรกิจ Investment Company แล้ว
|
CF (Free Float) | - บริษัทมีการกระจายการถือหุ้นรายย่อยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ (< 150 ราย หรือ < 15%ของทุนชำระแล้ว)
| - มีกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามหลักเกณฑ์
|
หมายเหตุ/1 | ทุนชำระแล้ว หมายถึง ทุนชำระแล้วภายหลังปรับปรุงด้วยส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นและส่วนต่ำที่เกิดจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจตามแนวทางการคำนวณที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ทั้งนี้ ทุนชำระแล้วที่ได้จากการคำนวณดังกล่าวต้องมีค่ามากกว่าศูนย์ |
ตลาดหลักทรัพย์กำหนดแนวทางการคำนวณ ดังนี้
ขั้นที่ 1 คำนวณอัตราส่วนของส่วนของผู้ถือหุ้นต่อทุนชำระแล้วที่หักด้วยส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น ตามสูตรการคำนวณ ดังนี้
ทุนชำระแล้ว – ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น
| กรณีผลการคำนวณขั้นที่ 1 ≥ 50% : ไม่เข้าข่ายมาตรการ CB กรณี < 50% : คำนวณตามขั้นที่ 2
| |
กรณีผลการคำนวณขั้นที่ 1 ≥ 50% : ไม่เข้าข่ายมาตรการ CB
กรณี < 50% : คำนวณตามขั้นที่ 2
* กรณีของงบการเงินรวมจะพิจารณาส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่
ขั้นที่ 2 เฉพาะที่ผลการคำนวณขั้นที่ 1 < 50%
| ให้นำส่วนต่ำที่เกิดจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เช่น ส่วนปรับปรุงทุนจากการซื้อธุรกิจแบบย้อนกลับ (Reverse Takeover) ส่วนต่ำที่เกิดจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน (Under Common Control) เป็นต้น มาหักออกจากทุนชำระแล้วตามสูตรการคำนวณ ดังนี้ | |
ให้นำส่วนต่ำที่เกิดจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เช่น ส่วนปรับปรุงทุนจากการซื้อธุรกิจแบบย้อนกลับ (Reverse Takeover) ส่วนต่ำที่เกิดจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน (Under Common Control) เป็นต้น มาหักออกจากทุนชำระแล้วตามสูตรการคำนวณ ดังนี้
ทุนชำระแล้ว – ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น – ส่วนต่ำที่เกิดจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ
| ทั้งนี้ ให้สามารถหักส่วนต่ำต่างๆ ได้ไม่เกิน ทุนชำระแล้วที่มีอยู่ กรณีผลการคำนวณขั้นที่ 2 ≥ 50% : ไม่เข้าข่ายมาตรการ CB กรณีผลการคำนวณขั้นที่ 2 < 50% : เข้าข่ายมาตรการ CB | |
ทั้งนี้ ให้สามารถหักส่วนต่ำต่างๆ ได้ไม่เกิน ทุนชำระแล้วที่มีอยู่
กรณีผลการคำนวณขั้นที่ 2 ≥ 50% : ไม่เข้าข่ายมาตรการ CB
กรณีผลการคำนวณขั้นที่ 2 < 50% : เข้าข่ายมาตรการ CB
หมายเหตุ/2 | การผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันตามนิติกรรมเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ จะอ้างอิงตามการขึ้นเครื่องหมายของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เช่น เครื่องหมาย DP (Default Payment), DNP (Default not related to payment), FP (Failed to Pay), FPG (Failed to Pay with Guarantee) เป็นต้น |
/3 | โปรดศึกษาเกี่ยวกับการเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนกรณี Cash Company |
/4 | Investment Company ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน หมายถึง การลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างดังนี้ เป็นมูลค่ารวมกันเกินกว่า 40% ของสินทรัพย์รวมตามงบการเงินหรืองบการเงินรวมงวดล่าสุด |
| (1) การลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้ออกโดยบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท หรือการลงทุนในหุ้นที่ไม่มีผลให้บริษัทที่ออกหุ้นดังกล่าวเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท เว้นแต่เป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนธุรกิจของบริษัทหรือการลงทุนในบริษัทในเครือที่อยู่ภายใต้บริษัทใหญ่เดียวกัน หรือการลงทุนในบริษัทเครือข่ายที่แสดงได้ว่ามีนโยบายหรือทิศทางในการร่วมมือหรือสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างกัน (2) การลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุน หรือดอกผล แต่ไม่รวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนรวมตราสารหนี้ การคำนวณสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวให้นับรวมมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทย่อยที่มิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน และการลงทุนของบริษัทในหุ้นที่ออกโดยบริษัทร่วมที่มีการลงทุนตามข้างต้นและมิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินด้วย |
| | การดำเนินการของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB, CS, CC และ CF |
บริษัทจดทะเบียนต้องจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB, CS, CC และ CF โดยจัดทำแนวทางแก้ไข และรายงานความคืบหน้าการแก้ไข เพื่อให้พ้นเหตุต่อคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ความเห็นชอบ และให้รายงานแนวทางและความคืบหน้าดังกล่าวผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ