ประเภทสารสนเทศ | ดาวน์โหลด | การเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ * |
1. รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ | | ทันที |
2. การลงทุนในบริษัทอื่นที่ทำให้มีสภาพเป็นบริษัทย่อย | | ทันที |
3. การสิ้นสภาพของบริษัทย่อย | | ทันที |
* แจ้งทันที: แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 9.00 น. ของวันทำการถัดไปนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติ (แล้วแต่กรณี)
แจ้งภายใน 3 วันทำการ: แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีเหตุการณ์ รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
เมื่อบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ โดยมีขนาดรายการตั้งแต่ 15% หรือกรณีขนาดรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์น้อยกว่า 15% แต่มีการออกหลักทรัพย์เพื่อเป็นการตอบแทน บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่เปิดเผยสารสนเทศขั้นต่ำ ดังนี้ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย
1. วันที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติให้บริษัททำรายการ วันที่บริษัทตกลงเข้าทำสัญญา และที่คาดว่าธุรกรรมจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
2. คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
- ชื่อผู้ขาย หรือ ผู้ซื้อ
- อธิบายความสัมพันธ์ว่าเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันหรือไม่ (กรณีเป็นทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน โปรดดู checklist รายการที่เกี่ยวโยงกันประกอบ)
- กรณีเป็นนิติบุคคล อธิบาย ultimate shareholder
รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
เมื่อบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ โดยมีขนาดรายการตั้งแต่ 15% หรือกรณีขนาดรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์น้อยกว่า 15% แต่มีการออกหลักทรัพย์เพื่อเป็นการตอบแทน บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่เปิดเผยสารสนเทศขั้นต่ำ ดังนี้ ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย
1. วันที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติให้บริษัททำรายการ วันที่บริษัทตกลงเข้าทำสัญญา และที่คาดว่าธุรกรรมจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
2. คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง- ชื่อผู้ขาย หรือ ผู้ซื้อ
- อธิบายความสัมพันธ์ว่าเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันหรือไม่ (กรณีเป็นทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน โปรดดู checklist รายการที่เกี่ยวโยงกันประกอบ)
- กรณีเป็นนิติบุคคล อธิบาย ultimate shareholder
3. อธิบายลักษณะการทำรายการ
- อธิบายลักษณะสินทรัพย์ ที่ตั้ง สภาพการใช้งาน อายุการใช้งาน ภาระผูกพันของสินทรัพย์ ราคาประเมิน วันที่ประเมิน ผู้ประเมิน
(ผู้ประเมินราคาอิสระที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.) ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการเช่า เป็นต้น
กรณีเป็นหลักทรัพย์ : ชื่อบริษัท ลักษณะธุรกิจ ทุนชำระแล้ว คณะกรรมการ รายชื่อผู้ถือหุ้นก่อนและหลังทำรายการ
(หากเป็นนิติบุคคล เปิดเผย ultimate shareholder) สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของงบการเงินรวมของบริษัท 3 ปีและงวดปัจจุบัน
สะสม หากไม่มีให้ใช้งบการเงินเฉพาะกิจการ (เช่น รายได้ขายหรือบริการ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร กำไร(ขาดทุน) สินทรัพย์รวม
หนี้สินรวม กำไร(ขาดทุนสะสม) ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือรายการสำคัญอื่นๆ) (การทำรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
(conflict of interest) อาจทำให้บริษัทขาดคุณสมบัติการดำรงสถานะเป็นบริษัท จดทะเบียน) - ราคา เกณฑ์การกำหนดราคา เช่น วิธีกระแสเงินสดคิดลด และอธิบายสมมติฐานสำคัญที่ใช้ในการประเมิน
(ทั้งนี้ กรณีราคาที่เกิดจากการตกลงกันของคู่สัญญา ให้เปิดเผยที่มาของราคา มูลค่าตามบัญชี และราคาตลาด (ถ้ามี)) - วิธีการชำระราคา
กรณีชำระราคาเป็นเงินสด วันที่รับหรือชำระเงินจนครบ เงินมัดจำ (ถ้ามี) และเปรียบเทียบมูลค่าเงินมัดจำกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม เงื่อนไขการยกเลิกสัญญาและการได้รับชำระคืนมัดจำ
กรณีชำระโดยการออกหลักทรัพย์
- ประเภทหลักทรัพย์ จำนวน ราคา และวิธีการกำหนดราคา (เช่น กำหนดโดยใช้ราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วันก่อนวันที่มีมติคณะกรรมการ)
- กำหนดวันจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติเพิ่มทุน
อธิบายแผนการใช้เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์
แหล่งเงินทุนที่ใช้ กรณีต้องกู้ยืมเงิน อธิบายจำนวนเงินกู้ ดอกเบี้ย และเงื่อนไขที่อาจกระทบต่อสิทธิผู้ถือหุ้น (เช่น ข้อจำกัดการจ่ายปันผล)
อธิบายว่าการทำรายการจะให้ประโยชน์กับบริษัทอย่างไร หากเป็นการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก
โดยให้อธิบายแนวทางการทำธุรกิจของบริษัทที่จะดำเนินต่อไป
4. ขนาดของการทำรายการ
- สรุปขนาดรายการตามเกณฑ์คำนวณ โดยให้คำนวณทั้ง 4 วิธี ดังนี้
(ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณต้องเป็นตัวเลขจากงบการเงินรวมฉบับล่าสุด(หากไม่มีให้ใช้งบการเงินเฉพาะกิจการ) ที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชี)
1) เกณฑ์มูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (NTA : Net Tangible Assets = สินทรัพย์รวม – สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เช่น ค่าความนิยม ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ยกเว้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ก่อให้เกิดรายได้หลัก เช่น สัมปทาน ประทานบัตร) – หนี้สิน – ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม)
2) เกณฑ์กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (กำไรสุทธิ 12 เดือนย้อนหลัง)
3) เกณฑ์มูลค่ารวมสิ่งตอบแทน (มูลค่าเงินที่จ่ายซื้อหรือได้รับ)
- กรณีราคาตลาด หรือมูลค่าทางบัญชี สูงกว่ามูลค่าเงินที่จ่ายหรือได้รับให้ใช้มูลค่าที่สูงที่สุดในการคำนวน ทั้งนี้หากบริษัทพิจารณาว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้ราคาประเมินที่มีมูลค่าสูงกว่ามาคำนวนก็ได้
- กรณีจำหน่ายไปซึ่งเงินลงทุนจนส่งผลให้สิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อย การคำนวณเกณฑ์มูลค่าสิ่งตอบแทนให้รวมภาระผูกพัน เช่น เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ภาระค้ำประกัน
4) เกณฑ์มูลค่าหุ้นที่ออกชำระ (คำนวณโดยใช้จำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่ออกเพื่อชำระหารด้วยทุนชำระแล้ว)
- กรณีมีรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ย้อนหลังในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ให้นับรวมขนาดรายการย้อนหลังในช่วง 6 เดือนนั้นด้วย
1. การนับรวมขนาดรายการ ให้แยกนับระหว่างรายการได้มาและรายการจำหน่ายไป
2. ไม่นับรวมรายการที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์แล้ว
3. กรณีมีรายการได้มา / จำหน่ายไปหลายรายการ ในระยะเวลา 6 เดือนก่อนหน้า ควรเปิดเผยรายการ โดยอาจจัดทำเป็นตาราง
วัน เดือน ปี | รายการ | ขนาดรายการตามเกณฑ์ (%) |
ประเภทหุ้น | จำนวนหุ้น | ประเภทหุ้น | จำนวนหุ้น |
..... | ..... | ..... | ..... | ..... | ..... |
..... | ..... | ..... | ..... | ..... | ..... |
รวมขนาดรายการตามเกณฑ์ | ..... | ..... | ..... | ..... |
- อธิบายว่าประเภทของขนาดรายการที่คำนวณได้ (ขนาดรายการตามเกณฑ์คำนวณที่ได้ค่าผลรวมสูงสุด) ส่งผลให้บริษัทมีหน้าที่ต้องทำอย่างไร เช่น ขออนุมัติจากคณะกรรมการ เปิดเผยสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งหนังสือเวียนต่อ ผู้ถือหุ้น จัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติรายการและแต่งตั้ง IFA การยื่นเข้าจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ (backdoor listing) หรือการดำเนินการของบริษัทเมื่อเข้าข่าย cash company
5. อธิบายว่าเป็นรายการที่ต้องขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ระบุชื่อหน่วยงานและเงื่อนไข6. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ
- อธิบายความสมเหตุสมผลในการทำรายการ ราคา เงื่อนไข ความเหมาะสมของสมมติฐานที่ใช้ในการประเมินราคา ความจำเป็นหรือประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนจะได้รับ
- เปิดเผยความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ และกรรมการที่มีความเห็นต่างจากคณะกรรมการบริษัท และกรณี IFA มีความเห็นต่างจากคณะกรรมการบริษัท ให้เปิดเผยความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบอีกครั้งภายหลังจากที่ได้มีการพิจารณาความเห็นของ IFA แล้ว (เปิดเผยความเห็นของ IFA ภายหลังจากที่ได้นำส่งให้สำนักงาน ก.ล.ต.พิจารณาและได้ปรับปรุงแล้ว)
7. กรณีเป็นรายการที่เข้าข่ายการจดทะเบียนทางอ้อม (backdoor listing)
- ให้อธิบายลักษณะที่เข้าข่ายการเข้าจดทะเบียนทางอ้อม
- กรณีที่ไม่เข้าข่ายที่ต้องยื่นคำขอให้พิจารณารับหลักทรัพย์ใหม่ ให้อธิบายเหตุผลการเข้าข้อยกเว้นทุกข้อ
- แบบเปรียบเทียบคุณสมบัติในการเข้าจดทะเบียนเพื่อแสดงว่าผ่านคุณสมบัติอย่างไร
- เปิดเผยว่าบริษัทจะได้รับอนุมัติการเข้าจดทะเบียนทางอ้อมก่อนหรือหลังการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
8. กรณีจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ทั้งหมดทำให้บริษัทจดทะเบียนเหลือแต่สินทรัพย์ประเภทเงินสด หรือสินทรัพย์ระยะสั้น (cash company) ให้อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานการเกี่ยวกับการแก้ไขสถานะการเป็น cash company (เช่น การจัดประชุม ผู้ถือหุ้น การจัดส่งงบแสดงฐานะทางการเงินภายใน 30 วัน ระยะเวลาและการดำเนินการแก้ไขการขาดคุณสมบัติการดำรงสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน)Template ที่ต้องเลือกเมื่อเผยแพร่ข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
การตั้งชื่อหัวข้อข่าว | Template |
มติคณะกรรมการบริษัทเรื่อง……………. | เลือกรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
|
มติคณะกรรมการบริษัทเรื่อง……………. แจ้งจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติรายการ……. | เลือก
- รายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ - กำหนดการประชุมผู้ถือหุ้น - การเพิ่มทุนจดทะเบียน (กรณีต้องมีการเพิ่มทุน)
|
แจ้งจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติความเห็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระไม่เห็นด้วยกับการทำรายการ... | เลือกความเห็น IFA
|
ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ หลังจากพิจารณาความเห็นของ IFA ที่มีความเห็นแตกต่างกัน | เลือกอื่นๆ
|
แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น....... | เลือกมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
กรณีเห็นด้วย เลือก > อนุมัติตามที่คณะกรรมการเสนอ กรณีไม่เห็นด้วย เลือก > เปลี่ยนแปลงจากที่คณะกรรมการเสนอ และให้ระบุวาระที่ไม่เป็นไปตามที่คณะกรรมการเสนอ |
สำหรับใช้ภายใน
** ข้อมูลที่มีผลต่อการพิจารณาขึ้นเครื่องหมาย H (Halt) : กรณีมีการออกหลักทรัพย์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์หากไม่ระบุราคาที่ชัดเจน หรือไม่อธิบายการกำหนดราคา เช่น ราคาตลาดเฉลี่ย 7 วันก่อนวันชำระราคาซื้อ เป็นต้น
อ้างอิง :1) ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
2) ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน
การลงทุนในบริษัทอื่นที่ทำให้มีสภาพเป็นบริษัทย่อย
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย
1. วันที่คณะกรรมการมีมติ และวันที่คาดว่าจะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
2. ชื่อบริษัทที่เข้าลงทุน
3. วัตถุประสงค์การลงทุน
4. ทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น และ มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (ราคาพาร์)
5. สัดส่วนการเข้าลงทุน โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทใหม่ โดยสามารถแสดงตาราง ดังนี้
รายชื่อผู้ถือหุ้น | ก่อนทำรายการ | หลังทำรายการ |
ประเภทหุ้น | จำนวนหุ้น | ประเภทหุ้น | จำนวนหุ้น |
1...... | ..... | ..... | ..... | ..... |
2...... | ..... | ..... | ..... | ..... |
(หากเป็นนิติบุคคล ให้ระบุ ultimate shareholder)
6. ลักษณะการประกอบธุรกิจ และระยะเวลาที่คาดว่าจะเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์
7. รายชื่อคณะกรรมการของบริษัทใหม่ หากบริษัทไม่ได้ถือหุ้นทั้งหมด ให้ระบุจำนวนกรรมการที่เป็นตัวแทนจากบริษัทจากจำนวนกรรมการทั้งหมด
8. แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการจัดตั้งบริษัทใหม่
9. กรณีรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์เข้าข่ายต้องเปิดเผยตามเกณฑ์ได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน หรือรายการที่เกี่ยวโยงกันให้เปิดเผยตาม checklist
ของรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ หรือ checklist ของรายการที่เกี่ยวโยงกัน แล้วแต่กรณี
Template ที่ต้องเลือกเมื่อเผยแพร่ข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
การตั้งชื่อหัวข้อข่าว | Template |
- การจัดตั้งบริษัทย่อย - การร่วมลงทุนบริษัทย่อย | เลือกรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
|
อ้างอิง :ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศและการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน พ.ศ.2560
การสิ้นสภาพของบริษัทย่อย
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย
1. วันที่คณะกรรมการมีมติเลิกกิจการ
2. วันที่คาดว่าจะจดทะเบียนเลิกกิจการ
3. ข้อมูลของบริษัทย่อยที่เลิกกิจการ (เช่น ชื่อ การประกอบธุรกิจ จำนวนและสัดส่วนการถือหุ้น )
4. เหตุผล ความจำเป็นที่เลิกกิจการ
(หากการเลิกกิจการเป็นผลจากผลการดำเนินงานขาดทุน ให้แสดงข้อมูลสำคัญทางการเงิน เช่น รายได้ขายหรือบริการ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายขาย และบริหาร กำไร(ขาดทุน) สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม กำไร(ขาดทุนสะสม) ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือรายการสำคัญอื่นๆ)
5. ผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียน และแนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว
Template ที่ต้องเลือกเมื่อเผยแพร่ข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
การตั้งชื่อหัวข้อข่าว | Template |
แจ้งการสิ้นสภาพของบริษัทย่อย | เลือกอื่นๆ
|
อ้างอิง :ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศและการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน พ.ศ.2560