กรณีเข้าเหตุแห่งการเพิกถอนด้วยเหตุส่งงบการเงินล่าช้าแล้วก่อน 1 พฤศจิกายน 2564 บริษัทจดทะเบียนมีระยะเวลาในแต่ละช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 ช่วงแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนมีระยะเวลา 1 ปี และช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้กลับมาซื้อขายมีระยะเวลา 1 ปี โดยสามารถขอขยายเวลาในช่วงที่ 2 ได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ สรุปการปรับปรุงของหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ข้อมูลที่ขีดเส้นใต้ และส่วนของหลักเกณฑ์ตามข้อมูลที่ขีดออก ดังนี้
เหตุเพิกถอน | เงื่อนไขและระยะเวลาการปรับปรุงคุณสมบัติของ บจ. | |
ช่วงที่ 1 ช่วงดำเนินการให้เหตุเพิกถอนหมดไป | ช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย | |
ไม่ส่งงบการเงิน/ส่งงบการเงินล่าช้า/งบการเงินไม่ถูกต้อง เกิน 6 เดือน ในแต่ละงวด เฉพาะงวดแรกที่ล่าช้าเกิน 6 เดือน | ส่งงบการเงิน งวดที่เข้าเหตุเพิกถอน ที่ล่าช้าเกิน 6 เดือนได้ครบทุกงวด โดยผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง ภายใน 1 ปี ภายใน 2 ปี | ส่งงบการเงินที่ล่าช้าได้ทุกฉบับ และส่งงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด 2 งวดติดต่อกัน ภายใน 1 ปี (อาจขอขยายเวลาอีก 1 ปี) ทั้งนี้ รายงานของผู้สอบบัญชีต้องไม่เป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้ (1) มีเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีมีข้อบกพร่องในระบบควบคุมภายใน หรือระบบบัญชีไม่สมบูรณ์ หรืองบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สำนักงานยอมรับ (2) ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินหรือแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขกรณีถูกจำกัดขอบเขตการสอบบัญชีโดยการกระทำหรือไม่กระทำของบริษัท หรือ กรรมการ หรือผู้บริหาร (3) แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง |
เรื่อง | รายละเอียด | |||||||||||
เกณฑ์ในการพิจารณาเหตุเพิกถอน |
2. พิจารณาจากการนำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง และไม่ได้แก้ไขเกินกว่า 6 เดือน | |||||||||||
การดำเนินการก่อนบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน | กรณีบริษัทไม่นำส่งงบการเงิน/นำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง กรณีสำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน
| |||||||||||
การดำเนินการเมื่อบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน | เพื่อให้บริษัทมีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนและกระตุ้นให้เร่งดำเนินการเพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ ตลาดหลักทรัพย์จะดำเนินการ ดังนี้ ช่วงที่ 1 ช่วงดำเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป - มีระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการแล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้
ช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย- มีระยะเวลา 1 ปี
| |||||||||||
การพิจารณาคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย |
| |||||||||||
การดำเนินการบริษัทจดทะเบียนเพื่อกลับมาซื้อขาย |
| |||||||||||
การประกาศกลับมาซื้อขาย | ตลาดหลักทรัพย์จะเผยแพร่ข้อมูลการกลับมาซื้อขายล่วงหน้า 7 วันทำการก่อนที่หลักทรัพย์ของบริษัทจะเริ่มซื้อขาย ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการจัดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศให้หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ | |||||||||||
การเพิกถอน | หากบริษัทไม่สามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนหมดไปได้หรือไม่มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาสั่งเพิกถอน โดยจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 7 วันทำการก่อนเพิกถอน โดยยังคงเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance |
หมายเหตุ * โปรดดูรายละเอียดการขึ้นและปลดเครื่องหมาย C ในหัวข้อ "การขึ้นเครื่องหมาย C"
หมายเหตุ: เมื่อหลักทรัพย์ถูก SP ครบ 3 เดือน จะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 1 เดือน พร้อมขึ้น NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance
|
|
|
ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศว่าหลักทรัพย์ของบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนและขึ้นเครื่องหมาย NC (Non-Compliance) นับแต่วันครบกำหนด 6 เดือนหลังครบกำหนดส่งงบการเงิน จนกว่าบริษัทจะส่งงบการเงินและดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เพื่อสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อบริษัทไม่นำส่งงบการเงินตามกำหนดเวลา โดย เมื่อหลักทรัพย์ถูก SP ครบ 3 เดือน อาจเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 1 เดือน พร้อมขึ้นเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance
ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศว่าหลักทรัพย์ของบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนและขึ้นเครื่องหมาย NC (Non-Compliance) และ SP (Suspension) เพื่อสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ นับแต่วันครบกำหนด 6 เดือนหลังวันที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน โดยจะขึ้น NC จนกว่าบริษัทจะส่งงบการเงินฉบับแก้ไขและดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ