TSR: Transferable Subscription Rights
ใบแสดงสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
ประโยชน์ของ TSR
สามารถระดมทุนได้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยการกำหนดราคาแปลงสิทธิ TSR เพื่อซื้อหุ้นสามัญได้สูงกว่าราคาเพิ่มทุน RO ทั่วๆไป | |
ขยายฐานผู้ถือหุ้น |
มีทางเลือกเพิ่มขึ้น คือ สามารถเลือกที่จะใช้สิทธิจองซื้อหุ้น หรือขายสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ในกรณีมีข้อติดขัดไม่สามารถจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ | |
เพิ่มสภาพคล่องให้กับหลักทรัพย์นั้นๆ |
การซื้อขาย TSR
ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
การซื้อขาย TSR ให้ใช้ชื่อของหลักทรัพย์ที่ออก TSR ตามด้วย “-T#” เช่น XXX-T1 | |
TSR สามารถซื้อขายผ่านระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ | |
ราคา Ceiling – Floor + board lot + tick size เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด | |
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมาย SP กับ TSR 2 วันทำการก่อนวันเริ่มจองซื้อและชำระเงินค่าหุ้นสามัญ เพื่อกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น TSR ที่ต้องการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ | |
เครื่องหมาย XT บนหุ้น เพื่อแสดงว่าเป็นราคาที่ไม่รวมสิทธิในการได้รับ TSR นั้น |
ขั้นตอนดำเนินการที่สำคัญ
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
|
|
|
TSR มีอายุเท่าไหร่ |
เนื่องจาก TSR ที่บริษัทออกจะมีอายุสั้นเพียง 2 เดือน และซื้อขายใน ตลท. ได้ ≥ 7 วันทำการ ดังนั้นบริษัทควรนำ TSR เข้าระบบไร้ใบหุ้น (Scripless System) เพื่อให้โอนเปลี่ยนมือได้อย่างรวดเร็ว |
TSR นับอายุกันอย่างไร |
อายุของ TSR จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ออก TSR (Issue Date) ซึ่งก็คือวันที่ ผู้ถือหุ้นได้รับ TSR เข้าบัญชีพร้อมเริ่มซื้อขายได้ จนถึงวันใช้สิทธิ TSR (Exercise Date) ซึ่งจะต้องมีระยะเวลารวมทั้งหมดไม่เกิน 2 เดือน |