บริษัทไทย

บริษัทไทยที่ประกอบธุรกิจทั่วไป

รายละเอียด

เกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
ในการพิจารณารับหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของหุ้นสามัญและคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอ
  • มีมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายและต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท
เรื่องตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
สถานะบริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
≥ 100 ล้านบาท≥  50  ล้านบาท
ฐานะการเงินและสภาพคล่อง
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 800 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 100 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
ผลการดำเนินงานเกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน ≥ 125 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ ≥ 75 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
เกณฑ์กำไร(Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 2 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน ≥ 40 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ ≥ 25 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
 เกณฑ์ Market Cap/1
กระจายการถือหุ้นรายย่อย/2
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 1,000 ราย
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 300 ราย
 
  • อัตราส่วนการถือหุ้น ดังนี้
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 30% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว < 300 ล้านบาท
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 25% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 300 ล้านบาท แต่ < 3,000 ล้านบาท
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 20% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 3,000 ล้านบาท
    • แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขายตามเงื่อนไข ดังนี้
    • เสนอขาย ≥ 20% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว < 300 ล้านบาท
    • เสนอขาย ≥15% ของทุนชำระแล้ว หรือมูลค่าหุ้นตาม par ≥ 60 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 300 ล้านบาท แต่ < 500 ล้านบาท
    • เสนอขาย ≥ 10% ของทุนชำระแล้ว หรือมูลค่าหุ้นตาม par ≥ 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 500 ล้านบาท
การบริหารงาน
  • มีกรรมการผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    - ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /3
    - ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น
    และผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /3
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /3
  • มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้จัดการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน
  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3 และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบคุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /3
ลักษณะการประกอบธุรกิจไม่มีการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการกองทุน (Investment Company) ตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /3/4
งบการเงินและผู้สอบบัญชี
  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /3
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายทะเบียนแต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
การห้ามขายหุ้น (Silent Period)เกณฑ์กำไร (Profit Test)
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตน ซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขายเมื่อครบกำหนด 6 เดือน


เกณฑ์ Market Cap/1
ข้อกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ Market Cap Test
Opportunity Dayเกณฑ์กำไร (Profit Test)
บริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้

เกณฑ์ Market Cap/1
ข้อกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ Market Cap Test

หมายเหตุ
/1 โปรดศึกษาตารางสรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนสำหรับบริษัทที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่กำหนด (Market Capitalization Test)
    Market Capitalization คำนวณจาก
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายใน 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายหลัง 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาที่เป็นธรรม ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นผู้กำหนด
/2 ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ
  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม
/3 ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)
/4 Investment Company ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน หมายถึง การลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างดังนี้ เป็นมูลค่ารวมกันเกินกว่า 40% ของสินทรัพย์รวมตามงบการเงินหรืองบการเงินรวมงวดล่าสุด
  • (1) การลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้ออกโดยบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท หรือการลงทุนในหุ้นที่ไม่มีผลให้บริษัทที่ออกหุ้นดังกล่าวเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท เว้นแต่เป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนธุรกิจของบริษัทหรือการลงทุนในบริษัทในเครือที่อยู่ภายใต้บริษัทใหญ่เดียวกัน หรือการลงทุนในบริษัทเครือข่ายที่แสดงได้ว่ามีนโยบายหรือทิศทางในการร่วมมือหรือสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างกัน
  • (2) การลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุน หรือดอกผล แต่ไม่รวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนรวมตราสารหนี้
  •  
  • การคำนวณสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวให้นับรวมมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทย่อยที่มิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน และการลงทุนของบริษัทในหุ้นที่ออกโดยบริษัทร่วมที่มีการลงทุนตามข้างต้นและมิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินด้วย
กรณีที่บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว สามารถนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยได้ โดยเรียก วิธีการนี้ว่า Spin off เป็นกระบวนการนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัทจดทะเบียน (บริษัทแม่) แยกออกมาเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (Initial Public Offering: IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งภายหลังจากการนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม เข้าจดทะเบียนแล้ว บริษัทแม่ต้องยังมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดำรงสถานะในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สรุปหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนสำหรับบริษัทที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่กำหนด (Market Capitalization Test)
 
หลักเกณฑ์SET
(สำหรับบริษัทไทย และบริษัทต่างประเทศ ที่มีการสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย)
mai
(สำหรับบริษัทไทย)
ประเภทอุตสาหกรรม10 อุตสาหกรรมที่กำหนด (รายชื่อตามประกาศคณะกรรมการฯ)
Market Cap.≥ 7,500 ล้านบาท≥ 2,000 ล้านบาท
รายได้จากการดำเนินงาน (Track Record)≥ 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ≥ 2 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
รายได้จากการดำเนินงานปีล่าสุด
  • มีรายได้จากการดำเนินงานรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท (ยกเว้นสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในกลุ่ม A1-A22 และเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์แล้ว) และ
  • มีรายได้จากการดำเนินงานในอุตสาหกรรมที่กำหนดที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    1. เกินกว่า 50% ของรายได้จากการดำเนินงานรวม หรือ
    2. ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และมี Growth Rate 20% จากปีก่อนหน้า
  • มีรายได้จากการดำเนินงานรวมไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท (ยกเว้นสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในกลุ่ม A1-A22 และเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์แล้ว) และ
  • มีรายได้จากการดำเนินงานในอุตสาหกรรมที่กำหนดที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    1. เกินกว่า 50% ของรายได้จากการดำเนินงานรวม หรือ
    2. ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท และมี Growth Rate 20% จากปีก่อนหน้า
Silent Period3 ปี (ทยอยขายได้ 20% ของจำนวนหุ้นที่ถูกห้ามขายเมื่อครบ 1 ปี และทุก ๆ 6 เดือนหลังจากนั้น)
วัตถุประสงค์การระดมทุนนำเงินที่ได้จาก IPO มากกว่า 50% ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมที่กำหนดที่บริษัทมีการดำเนินงานจนมีรายได้เชิงพาณิชย์แล้ว โดยจะนำไปใช้พัฒนา ต่อยอด หรือเสริมศักยภาพธุรกิจ เพื่อให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นธุรกิจหลักของบริษัทต่อไป หรือในกรณีที่ยังไม่ได้เป็นธุรกิจหลัก บริษัทจะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นธุรกิจหลักของบริษัทตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแบบ filing
การเปิดเผยข้อมูลโดยบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์และที่ปรึกษาทางการเงิน
  • กำหนดหน้าที่เปิดเผยข้อมูลในแบบ filing
    • วัตถุประสงค์การระดมทุน
    • ความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานใน 12 เดือนข้างหน้า
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่กำหนด (แบบ Self-assessment) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมที่กำหนดเป็นหรือมีนโยบายที่จะให้เป็นธุรกิจหลักของบริษัทภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • กำหนดหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายหลังเข้าจดทะเบียน
    • ความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียน โดยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในวันเดียวกับวันครบกำหนดส่งงบการเงินเป็นระยะเวลา 4 ไตรมาสติดต่อกันนับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
    • สัดส่วนรายได้จากการดำเนินงานในอุตสาหกรรมที่กำหนดและรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่ได้เปิดเผยไว้ในแบบ filing โดยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในวันเดียวกับวันครบกำหนดส่งงบการเงินแต่ละไตรมาส และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไปจนกว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวจะเป็นธุรกิจหลักของบริษัท
    • จัด Opportunity day ปีละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน

สำหรับคุณสมบัติบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก (Operating Company) ของบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(1) กรณีผู้ยื่นคำขออาศัยคุณสมบัติตามเกณฑ์กำไร (Profit Test): Operating Company ที่เป็นบริษัทย่อยจะต้องก่อให้เกิดกำไรหลัก
(2) กรณีผู้ยื่นคำขออาศัยคุณสมบัติตามเกณฑ์มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Capitalization Test): Operating Company ที่เป็นบริษัทย่อยจะต้องมีผลการดำเนินงานที่แสดงได้ว่า Holding Company มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
(3) กรณีผู้ยื่นคำขออาศัยคุณสมบัติเรื่องการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน: Operating Company ที่เป็นบริษัทย่อยจะต้องมีการ ลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
ทั้งนี้ คุณสมบัติอื่นๆ ของผู้ยื่นคำขอ เช่น การกระจายการถือหุ้นรายย่อย และการบริหารงาน เป็นต้น ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน


2 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในกลุ่มกิจการ A1-A2  ซึ่งใช้สนับสนุนการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่กำหนด โดยบริษัทสามารถตรวจสอบได้ที่ www.set.or.th ในหัวข้อ “กฎเกณฑ์และการกำกับ” “เกณฑ์ที่เกี่ยวกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์” และ “Simplified Regulations”

ขั้นตอนการพิจารณารับหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เเละตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

img_Listing_step

ขั้นตอนการพิจารณารับหุ้นสามัญ
เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย
(SET)
เเละตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

img_Listing_step_mb

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)  
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ.17/2551 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) 
ถาม-ตอบ
  • Q&A เกณฑ์รับหลักทรัพย์  tagname1
  • FAQ แนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์  tagname1

แนวทางการให้สัมภาษณ์ผู้บริหาร

มาตรการกำกับการซื้อขาย