บริษัทไทย

บริษัทที่มีการลงทุนใน โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน

บริษัทที่มีการลงทุนใน
โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure Business)

รู้จัก Infrastructure Company 

โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นโครงการที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทที่ลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และ/หรือ ต่างประเทศ สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เร็วขึ้น เพื่อจะได้นำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในกิจการ และเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อผลตอบแทนที่เหมาะสม

Infrastructure Company
บริษัทที่ลงทุนในโครงการสาธรณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure) คือ บริษัทที่ลงทุนในสิ่งก่อสร้างหรือระบบที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่
  • ระบบผลิตและจ่ายพลังงานไฟฟ้า
  • ระบบการประปา ระบบการบริหารจัดการน้ำ ระบบการส่งน้ำ หรือ การชลประทาน
  • ระบบขนส่งภาคพื้นดินเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและแก้ไขปัญหาการจราจร
  • ท่าเรือ สนามบิน
  • ระบบสื่อสาร โทรคมนาคม
  • ระบบควบคุมและป้องกันมลภาวะ
  • ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ รวมถึง ระบบเตือนภัย และระบบการจัดการ เพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติ
  • พลังงานทางเลือก
Infrastructure Company
บริษัทที่ลงทุนในโครงการสาธรณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure) คือ บริษัทที่ลงทุนในสิ่งก่อสร้างหรือระบบที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่
  • ระบบผลิตและจ่ายพลังงานไฟฟ้า
  • ระบบการประปา ระบบการบริหารจัดการน้ำ ระบบการส่งน้ำ หรือ การชลประทาน
  • ระบบขนส่งภาคพื้นดินเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและแก้ไขปัญหาการจราจร
  • ท่าเรือ สนามบิน
  • ระบบสื่อสาร โทรคมนาคม
  • ระบบควบคุมและป้องกันมลภาวะ
  • ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ รวมถึง ระบบเตือนภัย และระบบการจัดการ เพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติ
  • พลังงานทางเลือก
ลักษณะของ 
Infrastructure Company
ที่จะเข้าจดทะเบียนใน SET
  • คุณสมบัติเช่นเดียวกับกรณีบริษัททั่วไป
  • มีการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคต ได้แก่
    • ได้รับสัมปทานหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานทางการโดยมีอายุ
    • ได้รับสัมปทานหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานทางการโดยมีอายุ ≥  20 ปี และมีอายุคงเหลือ ≥  15 ปี นับแต่วันที่ ตลท. ได้รับหลักฐานที่ถูกต้อง หรือ
    • มีสัญญาขายสินค้าหรือให้บริการกับหน่วยงานทางการโดยมีอายุสัญญาคงเหลือ ≥ 15 ปี นับแต่วันที่ตลท. ได้รับหลักฐานที่ถูกต้อง
  • คุณสมบัติเช่นเดียวกับกรณีบริษัททั่วไป
  • มีการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคต ได้แก่
               - ได้รับสัมปทานหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานทางการโดยมีอายุ ≥  20 ปี และมีอายุคงเหลือ ≥  15 ปี นับแต่วันที่ ตลท. ได้รับหลักฐานที่ถูกต้อง หรือ
               - มีสัญญาขายสินค้าหรือให้บริการกับหน่วยงานทางการโดยมีอายุสัญญาคงเหลือ ≥ 15 ปี นับแต่วันที่ ตลท. ได้รับหลักฐานที่ถูกต้อง
Group 16318
  • จัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้
    (Feasibility Study)
  • ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระเกี่ยวกับเทคโนโลยี
    (Technology Feasibility)
  • ความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายอิสระ
    (เฉพาะกรณีที่ธุรกิจหลักอยู่ต่างประเทศ) 
Group 16319
  • ไม่ต้องมี 3 ปี
    (กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย)
  • มี ≥ 1 ปี
    (กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อต่างประเทศ)
Group 16318
  • จัดทำรายงาานการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
  • ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระเกี่ยวกับเทคโนโลยี (Technology Feasibility)
  • ความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายอิสระ (เฉพาะกรณีที่ธุรกิจหลักอยู่ต่างประเทศ) 
Group 16319
  • ไม่ต้องมี 3 ปี (กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย)
  • มี ≥ 1 ปี (กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อต่างประเทศ)

รูปแบบบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน Infrastructure Company 

Group 16316
Group 16315
Group 16316
Group 16315
ตารางเปรียบเทียบการเข้าจดทะเบียนของ Infrastructure Company

 บริษัทที่ลงทุนในโครงการ
สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(Infrastructure Company)
บริษัทที่ประกอบธุรกิจทั่วไป
(Operating Company)

Holding Company
ที่มีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ลงทุนใน
โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ลักษณะธุรกิจมีการดำเนินธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน
เป็นของตนเอง
มีการดำเนินธุรกิจหลักเป็นของตนเอง เช่น ผลิตและจำหน่าย / ให้บริการ / ซื้อมาขายไป เป็นต้นไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง ลงทุนโดยการถือหุ้นบริษัทอื่นเป็นหลัก
รูปแบบรายได้รายได้ค่าขายและบริการรายได้ค่าขายและบริการเงินปันผลรับ
การเข้าจดทะเบียนSET / maiSET / maiSET / mai
เกณฑ์การ
เข้าจดทะเบียน

SET 
  • ยกเว้นผลประกอบการ
  • ยกเว้น track record แล้วแต่กรณี
  • เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
  • เกณฑ์มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Cap. Test) - เฉพาะ SET
mai
  • เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
  • เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
  • เกณฑ์มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Cap. Test)
mai
  • เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
ผู้ยื่นคำขอ
เข้าจดทะเบียน
Infrastructure CompanyOperating CompanyHolding Company
การพิจารณา
คุณสมบัติ
(เชิงคุณภาพและ
เชิงตัวเลข)

Infrastructure CompanyOperating CompanyHolding Company และ บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก
คุณสมบัติของบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักต้องพิจารณาตามเกณฑ์ Infrastructure company
การบริหารงาน

Infrastructure CompanyOperating CompanyHolding Company
Holding Company มีอำนาจควบคุมในการ
บริหารจัดการบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักตามสัดส่วนการถือหุ้น
การห้ามขายหุ้นใน
เวลาที่กำหนด
(Silent period)


SET
  • Strategic shareholder ถือหุ้นรวม 55% ของทุนชำระแล้ว (หลัง IPO)
  • ถูกห้ามขายหุ้น 3 ปี หลังเข้าจดทะเบียน หรือมีรายได้เชิงพาณิชย์ (แล้วแต่กรณี)
  • ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูก ห้ามขาย เมื่อครบ 1 ปี หลังเข้าจด ทะเบียนหรือมีรายได้เชิงพาณิชย์ และ เมื่อครบกำหนดทุกๆ 6 เดือน สามารถทยอยขายได้ 20% ของหุ้นที่ถูกสั่งห้ามขาย
ตามเกณฑ์ปกติ
  • Strategic shareholder (55% ของทุนชำระแล้ว หลัง IPO) ถูกห้ามขายภายใน 1 ปี
  • ทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบ 6 เดือนหลังเข้าจดทะเบียน
SET
  • ตามเกณฑ์ Infrastructure Company
mai 
  • ตามเกณฑ์ปกติ
การดำรงสถานะ


ตามเกณฑ์ปกติ

ตามเกณฑ์ปกติ
เช่น การดำรงสัดส่วนการถือหุ้น
ของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) เป็นต้น
ตามเกณฑ์ปกติ
Holding Company
  • ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment company)
  • มีอำนาจควบคุมในการบริหารจัดการบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ต้องถือหุ้นในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียนโดยอาจเปลี่ยนบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักได้ เมื่อพ้น 3 ปีนับแต่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก
  • เป็นบริษัทย่อยและไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน
  • มีการประกอบธุรกิจหลักเป็นของตนเอง
โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นโครงการที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทลักษณะดังกล่าว สามารถเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เร็วขึ้น 
"สาธารณูปโภคพื้นฐาน"   หมายถึง กิจการดังต่อไปนี้ 
  1. ระบบขนส่งทางราง หรือทางท่อ
  2. ไฟฟ้า
  3. ประปา 
  4. ถนนทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน
  5. ท่าอากาศยานหรือสนามบิน
  6. ท่าเรือน้ำลึก
  7. โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  8. พลังงานทางเลือก
  9. ระบบบริหารจัดการน้ำ หรือการชลประทาน
  10. ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการ เพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วย
  11. ระบบจัดการของเสีย
  12. กิจการที่มีลักษณะเป็นกิจการโครงสร้างพื้นฐานตาม 1 ถึง 11 หลายกิจการ (multi-infrastructure) ประกอบกันโดยกิจการที่ประกอบกันเหล่านั้นเข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ 
    1. มีความเชื่อมโยง ส่งเสริม หรือก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน หรือต่อชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน 
    2. ก่อให้เกิดหรือจะก่อให้เกิดรายได้เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้รวมของกิจการทั้งหมดที่ประกอบกันนั้น
Group 16481 ประโยชน์สำหรับบริษัทที่มีการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  1. บริษัทสามารถระดมทุนได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอให้มีผลประกอบการ 2-3 ปี หรือมีกำไร เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ลงทุนกับกิจการ
  2. ลดความเสี่ยงด้านการเงินของบริษัท สร้างความน่าเชื่อถือในการบริหารจัดการกิจการโครงสร้างพื้นฐาน
  3. เป็นการสนับสนุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  4. เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อผลตอบแทนในอนาคต
Group 16481 หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย(SET) เเละตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)
ในการพิจารณารับหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของหุ้นสามัญและคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอดังนี้
  • มีมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายและต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท
 
 เรื่องตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) 
 สถานะบริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ 
 ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
≥ 300 ล้านบาท≥ 50 ล้านบาท 
 ฐานะการเงินและสภาพคล่อง
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥  300 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 50 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
 
 กระจายการถือหุ้นรายย่อย /1
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥  1,000 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น
    -    ถือหุ้นรวมกัน ≥  25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ ≥  20% หากทุนชำระแล้ว ≥  3,000 ล้านบาท)
    -    แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 
    1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥  300 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น
    -    ถือหุ้นรวมกัน ≥  25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ ≥  20% หากทุนชำระแล้ว  ≥  3,000 ล้านบาท)
    -    แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
 
 การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
 
  
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 
    - เสนอขาย ≥  15% ของทุนชำระแล้ว (หากทุนชำระ แล้ว ≥ 500 ล้านบาท ต้องเสนอขาย ≥ 10% หรือมูลค่าหุ้นสามัญตาม par ≥ 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 
    - เสนอขาย ≥  15% ของทุนชำระแล้ว 
 
 การลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานมีมูลค่าลงทุนในโครงการรวม ≥ 10,000 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนดังนี้
  • กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยต้องมีรายได้เชิงพาณิชย์ก่อนยื่นคำขอ และกรณีมีหลายโครงการในลักษณะเดียวกันต้องมีรายได้เชิงพาณิชย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการทั้งหมดก่อนยื่นคำขอ
  • กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อต่างประเทศ ต้องมีการดำเนินงานภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ และมีผลการดำเนินงานและมีรายได้เชิงพาณิชย์ ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
มีมูลค่าลงทุนในโครงการรวม ≥ 2,000 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
  • ลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเท่านั้น
  • มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
    1. มีการดำเนินงานภายใต้การจัดของกรรมการเเละผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง≥1ปี ก่อนยื่นคำขอ
    2. มีผลการดำเนินงานและมีรายได้เชิงพาณิชย์ ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ 
 
 ลักษณะโครงการ
(มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง)
เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคตและมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขดังนี้
  • ได้รับสัมปทานหรือได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการจากหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีอายุสัมปทานหรือได้รับอนุญาต ≥ 20 ปี และยังคงมีอายุสัมปทานหรือระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตเหลืออยู่ ≥ 15 ปี
  • มีสัญญาขายสินค้าหรือให้บริการกับหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยสัญญาดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคตและมีอายุสัญญาคงเหลือ ≥ 15 ปี
 
 แหล่งสนับสนุนทางการเงินมีแหล่งสนับสนุนทางการเงินที่ชัดเจนและเพียงพอในการดำเนินงาน 
 การจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
ให้จัดทำ Feasibility Study เพื่อการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในโครงการ สาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะลงทุน
  • กำหนดอายุ Feasibility Study ให้ไม่เกิน 3 ปี หากเกิน 3 ปี ให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมยื่นคำขอให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า Feasibility Study ของโครงการยังคงเป็นไปตามเอกสารดังกล่าว 
 
 ความเห็นของที่ปรึกษากฎหมาย
(Legal Due Diligence)
กรณีโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานมีการประกอบธุรกิจหลักอยู่ในต่างประเทศ ให้มีการตรวจสอบทางกฎหมายของประเทศที่จะลงทุน (Legal Due Diligence) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย
  • กำหนดอายุ Legal Due Diligence ให้ไม่เกิน 1 ปี
 
 ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี 
(Technological Feasibility)
ให้จัดทำ Technological Feasibility เฉพาะในกรณีที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยใช้ในประเทศไทยมาก่อน หรือเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ โดยอธิบายถึงความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ในประเทศไทยหรือพื้นที่ที่ทำโครงการ (ถ้ามี)
  • กำหนดอายุ Technological Feasibility ให้ไม่เกิน 1 ปี
 
 การบริหารงาน
  • มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    1. ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /2
    2. ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าผืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์หรือการตัดสินใจของ
    ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2
  • มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้จัดการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
 
 การกำกับดูแลกิจการ
และการควบคุมภายใน
  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2 และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2
 
 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2 
 ลักษณะการประกอบธุรกิจไม่มีการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการกองทุน (Investment Company) ตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /2 /3 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 
 งบการเงินและผู้สอบบัญชี
  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
 
 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 นายทะเบียนแต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ 
 การห้ามขายหุ้น(Silent Period)
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขายหลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุก 6 เดือน ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย 
 Opportunity Dayบริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้ 

หมายเหตุ :

/1 ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ
  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม

/2 ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล) 
/3 Investment Company ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน หมายถึง การลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างดังนี้ เป็นมูลค่ารวมกันเกินกว่า 40% ของสินทรัพย์รวมตามงบการเงินหรืองบการเงินรวมงวดล่าสุด 

  • (1) การลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้ออกโดยบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท หรือการลงทุนในหุ้นที่ไม่มีผลให้บริษัทที่ออกหุ้นดังกล่าวเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท เว้นแต่เป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนธุรกิจของบริษัทหรือการลงทุนในบริษัทในเครือที่อยู่ภายใต้บริษัทใหญ่เดียวกัน หรือการลงทุนในบริษัทเครือข่ายที่แสดงได้ว่ามีนโยบายหรือทิศทางในการร่วมมือหรือสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างกัน
  • (2) การลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุน หรือดอกผล แต่ไม่รวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนรวมตราสารหนี้
  •  
  • การคำนวณสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวให้นับรวมมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทย่อยที่มิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน และการลงทุนของบริษัทในหุ้นที่ออกโดยบริษัทร่วมที่มีการลงทุนตามข้างต้นและมิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินด้วย
 
 เรื่องตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) 
 สถานะบริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ 
 ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
≥ 100 ล้านบาท≥ 50 ล้านบาท 
 ฐานะการเงินและสภาพคล่อง
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥  800 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 100 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
 
 กระจายการถือหุ้นรายย่อย/1
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥  1,000 ราย
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥  300 ราย
 
  
  • อัตราส่วนการถือหุ้น ดังนี้
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 30% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว < 300 ล้านบาท
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 25% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 300 ล้านบาท แต่ < 3,000 ล้านบาท
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 20% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 3,000 ล้านบาท
    • แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
 
 การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขายตามเงื่อนไข ดังนี้
    • เสนอขาย ≥ 20% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว < 300 ล้านบาท
    • เสนอขาย ≥ 15% ของทุนชำระแล้ว หรือมูลค่าหุ้นตาม par ≥ 60 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากรณีทุนชำระแล้ว ≥ 300 ล้านบาท แต่ < 500 ล้านบาท
    • เสนอขาย ≥ 10% ของทุนชำระแล้ว หรือมูลค่าหุ้นตาม par ≥ 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากรณีทุนชำระแล้ว ≥ 500 ล้านบาท
 
 การลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานมีมูลค่าลงทุนในโครงการรวม ≥ 10,000 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนดังนี้
  • กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยต้องมีรายได้เชิงพาณิชย์ก่อนยื่นคำขอ และกรณีมีหลายโครงการในลักษณะเดียวกันต้องมีรายได้เชิงพาณิชย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการทั้งหมดก่อนยื่นคำขอ
  • กรณีลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อต่างประเทศ ต้องมีการดำเนินงานภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ มีผลการดำเนินงานและมีรายได้เชิงพาณิชย์ ≥   1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
มีมูลค่าลงทุนในโครงการรวม ≥ 2,000 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
  • ลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเท่านั้น
  • มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
    1. มีการดำเนินงานภายใต้การจัดของกรรมการเเละผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง≥1ปี ก่อนยื่นคำขอ
    2. มีผลการดำเนินงานและมีรายได้เชิงพาณิชย์ ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ 
 
 ลักษณะโครงการ
(มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง)
เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคตและมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขดังนี้
  • ได้รับสัมปทานหรือได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการจากหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีอายุสัมปทานหรือได้รับอนุญาต ≥ 20 ปี และยังคงมีอายุสัมปทานหรือระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตเหลืออยู่ ≥ 15 ปี
  • มีสัญญาขายสินค้าหรือให้บริการกับหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยสัญญาดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคตและมีอายุสัญญาคงเหลือ ≥ 15 ปี
 
 แหล่งสนับสนุนทางการเงินมีแหล่งสนับสนุนทางการเงินที่ชัดเจนและเพียงพอในการดำเนินงาน 
 การจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
ให้จัดทำ Feasibility Study เพื่อการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในโครงการ สาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะลงทุน
  • กำหนดอายุ Feasibility Study ให้ไม่เกิน 3 ปี หากเกิน 3 ปี ให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมยื่นคำขอให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า Feasibility Study ของโครงการยังคงเป็นไปตามเอกสารดังกล่าว 
 
 ความเห็นของที่ปรึกษากฎหมาย
(Legal Due Diligence)
กรณีโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานมีการประกอบธุรกิจหลักอยู่ในต่างประเทศ ให้มีการตรวจสอบทางกฎหมายของประเทศที่จะลงทุน (Legal Due Diligence) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย
  • กำหนดอายุ Legal Due Diligence ให้ไม่เกิน 1 ปี
 
 ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี 
(Technological Feasibility)
ให้จัดทำ Technological Feasibility เฉพาะในกรณีที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยใช้ในประเทศไทยมาก่อน หรือเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ โดยอธิบายถึงความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ในประเทศไทยหรือพื้นที่ที่ทำโครงการ (ถ้ามี)
  • กำหนดอายุ Technological Feasibility ให้ไม่เกิน 1 ปี
 
 การบริหารงาน
  • มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    1. ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /2
    2. ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าผืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์หรือการตัดสินใจของ
    ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /2
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2
  • มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้จัดการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
 
 การกำกับดูแลกิจการ
และการควบคุมภายใน
  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2 และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2
 
 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2 
 ลักษณะการประกอบธุรกิจ ไม่มีการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการกองทุน (Investment Company) ตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน /2 /3 
 งบการเงินและผู้สอบบัญชี
  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/2
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
 
 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
 นายทะเบียนแต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ 
 การห้ามขายหุ้น(Silent Period)
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขายหลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุก 6 เดือน ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย 
 Opportunity Dayบริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้ 

หมายเหตุ :

/1 ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ
  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม

/2 ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล) 

/3 Investment Company ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน หมายถึง การลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างดังนี้ เป็นมูลค่ารวมกันเกินกว่า 40% ของสินทรัพย์รวมตามงบการเงินหรืองบการเงินรวมงวดล่าสุด 

  • (1) การลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้ออกโดยบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท หรือการลงทุนในหุ้นที่ไม่มีผลให้บริษัทที่ออกหุ้นดังกล่าวเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัท เว้นแต่เป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนธุรกิจของบริษัทหรือการลงทุนในบริษัทในเครือที่อยู่ภายใต้บริษัทใหญ่เดียวกัน หรือการลงทุนในบริษัทเครือข่ายที่แสดงได้ว่ามีนโยบายหรือทิศทางในการร่วมมือหรือสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างกัน
  • (2) การลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุน หรือดอกผล แต่ไม่รวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนรวมตราสารหนี้
  •  
  • การคำนวณสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวให้นับรวมมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทย่อยที่มิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน และการลงทุนของบริษัทในหุ้นที่ออกโดยบริษัทร่วมที่มีการลงทุนตามข้างต้นและมิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินด้วย
ขั้นตอนการพิจารณารับหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
img_Listing_step
img_Listing_step_mb
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)  
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ.17/2551 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) 
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
  • FAQ แนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์  tagname1