เส้นทางวิชาชีพตลาดทุน

วาณิชธนากร (IB)

educationIB - pic 01

วาณิชธนากร

(Investment Banker)

วาณิชธนากร หรือที่ปรึกษาทางการเงิน คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ระดมเงินทุนให้คำแนะนำลูกค้า​
ในการหาเงินทุนในตลาดทุน ซื้อขายหลักทรัพย์ บริหารการควบรวมและซื้อขายกิจการ ​
รวมถึงให้คำปรึกษาในธุรกรรมข้างต้นและธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่น เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทำรายงานวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการ
เงินการประเมินมูลค่าหุ้น / กิจการ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การปรับโครงสร้างบริษัทการปรับโครงสร้างการถือหุ้น การปรับโครงสร้าง หนี้ และการปรับโครงสร้างทุน เป็นต้น​

คุณลักษณะของ IB ประกอบด้วย


Education Professional IC - circheckมีความรู้ทางด้านการเงินและบัญชี วิเคราะห์งบการเงิน ประเมินมูลค่า
หลักทรัพย์ ​และการใช้เครื่องมือในการสร้างแบบจำลองทางการเงิน
Education Professional IC - circheckมีทักษะในการเขียนและการนำเสนอที่ดี
Education Professional IC - circheckมีความละเอียดรอบคอบ เข้าใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน
มีความอดทน​ต่อแรงกดดันในสภาวะต่างๆ ได้ดี
Education Professional IC - circheckมีจรรยาบรรณในการทำงานและมีความเป็นอิสระในการให้ความเห็น​
เพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมของทั้งลูกค้าของผู้ลงทุน ​
และของตลาดทุนโดยรวม

คุณสมบัติของวาณิชธนากร


educationIB - icn 01

จบการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
(ไม่จำกัดสาขา)

educationIB - icn 02

มีประสบการณ์
ไม่น้อยกว่า 2 ปี

educationIB - icn 03

ผ่านหลักสูตรทดสอบ
FA License

list-icnหลักสูตรทดสอบFA License

ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) เป็นผู้จัดอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินและเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการวัดผลเพื่อประเมินความรู้ของผู้ที่จะประกอบวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งมีเนื้อหาหลักสูตร ดังนี้

รายละเอียดหลักสูตรที่ปรึกษาด้านหลักสูตรการเงิน (FA License)
คำอธิบายเป็นหลักสูตรที่ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย จัดทำขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐาน ของผู้ประกอบวิชาชีพ
ที่ปรึกษาทาง การเงินในตลาดทุนไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
การอบรมชมรมวาณิชธนกิจจัดอบรมเพื่อให้ผู้ที่จะเตรียมตัวสอบทราบและเข้าใจถึงหลักการ กฎ ระเบียบ และความรู้พื้นฐานในสาขา วิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน สามารถนำหลักการและความรู้พื้นฐาน
มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีศึกษาต่างๆ (Case Studies)
* ไม่บังคับอบรม
กรอบเนื้อหาความรู้หมวดวิชาความรู้หลัก ได้แก่
  • วิชา FA 103/1 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ - ตราสารทุน
  • วิชา FA 103/2 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้
  • วิชา FA 105 การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
  • วิชา FA 106 การเปิดเผยสารสนเทศ
หมวดวิชาความรู้ทั่วไป ได้แก่
  • วิชา FA 100/1 จรรยาบรรณและความรู้ด้านต่างๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน
  • วิชา FA 100/2 แนวทางการทำ Due Diligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน
  • วิชา FA 101 ความรู้ทางด้านการบัญชีสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน
  • วิชา FA 102 ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
  • วิชา FA 104 การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
  • วิชา FA 107 การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ลักษณะข้อสอบเป็นแบบอัตนัย
เกณฑ์การทดสอบผ่านสมัครทดสอบทั้งหลักสูตร 4,066 บาท
ค่าธรรมเนียมการสอบได้คะแนนรวมตั้งแต่ร้อยละ 60 หรือ 156 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 260 คะแนนของการสอบทุกวิชา และได้คะแนนรวม ตั้งแต่ร้อยละ 50 หรือ 80 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 160 คะแนนของหมวดวิชาความรู้หลัก
สถาบันที่ดูแลการจัดทดสอบwww.asco.or.th 
list-icn ผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน

จะต้องเข้ารับการอบรมเพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ (Refresher Course) รวม 12 ชั่วโมง ภายในช่วงระยะเวลาทุก ๆ 2 ปี ​
ทั้งนี้ชมรมวาณิชธนกิจจะประชาสัมพันธ์การจัดอบรมเป็นคราว ๆ ไป ซึ่งอาจนับรวมถึง

  1. การอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินที่ชมรมวาณิชธนกิจจัดขึ้นตามปกติในวิชา FA 100/1-107 หากชมรมวาณิชธนกิจพิจารณาแล้วเห็นว่า   ​
    เนื้อหาของการอบรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากคราวก่อนค่อนข้างมาก
  2. การอบรมใด ๆ ที่ชมรมวาณิชธนกิจ และ / หรือสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยจัดขึ้นและมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ของที่ปรึกษาการเงิน
  3. การอบรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงินที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์จัดขึ้น ซึ่งได้รับอนุมัติ​
    ให้นับเป็นชั่วโมงการอบรม Refresher Course