เส้นทางวิชาชีพตลาดทุน

หลักสูตร IC

แหล่งความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุนพัฒนาความรู้และทักษะที่สำคัญ
เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณภาพของตลาดทุนไทย เป็นแหล่งความรู้
เตรียมความพร้อมสู่เส้นทางวิชาชีพผู้แนะนำการลงทุน

หลักสูตร IC
เตรียมความพร้อมสู่เส้นทางวิชาชีพผู้แนะนำการลงทุน
รู้จัก...
ผู้แนะนำการลงทุน หรือ IC เป็นผู้ที่ให้ข้อมูล และคำแนะนำการลงทุนที่มีคุณภาพ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนให้กับผู้ลงทุนในการสร้างความมั่งคั่ง
และมั่นคงในชีวิต
Plain Products

ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน

ตราสารทุน

  • หุ้น
  • warrants
  • derivative warrants (DW)
  • REIT
  • infrastructure fund
  • infrastructure trust
กองทุนรวม

  • กองทุนรวมตลาดเงิน (MMF)
  • กองทุนรวมตราสารหนี้
  • กองทุนรวมผสม
  • กองทุนรวมหุ้น
  • กองทุนรวม ETF
  • กองทุนรวมทองคำ/น้ำมัน (track spot)
  • GMS fund
ตราสารหนี้

  • straight bond
  • callable bond
  • puttable bond
  • convertible bond
  • securitization
  • ตราสารศุกูก (Sukuk)
  • ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ
Complex Products

ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน

Module 1


Module 2


list-icnกองทุนรวมที่มีความซับซ้อน
-HYB fund
-กองทุนรวม complex return
-Hedge fund
-กองทุนรวมทองคำ/น้ำมัน ที่ไม่ได้ track spot
-กองทุนรวมที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน (exotic derivatives)
list-icnสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
-Futures
-Options
-Swap
list-icnตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อน

-Hybrid bond
-ตราสาร Basel III
-Structured notes
-Perpetual bond
-Unrated bond
-Non-investment grade bond
หลักสูตรทดสอบ

หลักสูตรที่ 1

Plain Products : Full Paper (P1)

หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป

หลักสูตรที่ 2

Complex Products : Bond and Mutual Fund (P2)

ความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน : ตราสารหนี้และกองทุนรวม

หลักสูตรที่ 3

Complex Products : Derivatives (P3)

ความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน : สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

การก้าวสู่เส้นทาง ผู้แนะนำการลงทุน

สำรวจตัวเองในด้านความรู้ ทักษะ อุปนิสัย ความชอบ ความถนัด เพื่อดูว่าการเป็น IC จะเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเป็น IC อาทิเช่น วุฒิการศึกษา คุณสมบัติ รายได้ ความมั่นคง โอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน ฯลฯ

ผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ ควรศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวสอบใบอนุญาต ดังนี้

3.1

ศึกษาประกาศและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับใบอนุญาต ติดต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. ฝ่ายกำกับและพัฒนาการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน

โทร. 02-033-9999, e-mail: insec@sec.or.th

3.2

ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรทดสอบใบอนุญาตทั้งในเรื่องเนื้อหาที่จะออกสอบ จำนวนข้อสอบ เวลาที่สอบเกณฑ์การผ่านการสอบ และค่าธรรมเนียม เป็นต้น

ติดต่อ ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย tsi_licensing@set.or.th

3.3

เตรียมตัวสอบโดยการอ่านหนังสือสอบด้วยตนเอง ศึกษาหนังสือหรือเอกสารประกอบการสอบที่เกี่ยวข้อง

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.set.or.th/th/education-research/education/professional/overview
และ สามารถสั่งซื้อหนังสือได้ที่ www.set.or.th/setbook

3.4

สมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรเตรียมตัวสอบใบอนุญาต ติดต่อ สถาบันฝึกอบรมที่เปิดสอน

  • สถาบันฝึกอบรม สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ATI)
    www.ati-asco.org
  • สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)
    www.aimc.or.th

หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน มี 2 แห่ง คือ

  • สถาบันฝึกอบรม สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ATI)
    www.ati-asco.org
  • สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)
    www.aimc.or.th

ผู้สอบผ่านแล้ว สามารถยื่นเอกสารขอเป็นผู้แนะนำการลงทุน (ขอความเห็นชอบและพิจารณาคุณสมบัติ) ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • กรอกแบบคำขอที่ สำนักงาน ก.ล.ต. www.sec.or.th (กรอกข้อมูลผ่านระบบ ORAP)
  • ยื่นแบบคำขอ เอกสารประกอบ และชำระค่าธรรมเนียม 2,140 บาท (รวม VAT)
  • สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณา (ภายใน 5 วันทำการ)
  • สำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลผ่านทาง website

ติดต่อ สำนักงาน ก.ล.ต. ฝ่ายกำกับและพัฒนาการขายผลิตภัณฑ์การลงทุน โทร. 02-033-9999, e-mail: inva@sec.or.th

2022-04-20_133808

สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาต สามารถประกอบวิชาชีพในตลาดทุนได้หลากหลายประเภทบริษัท อาทิ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย เป็นต้น

ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน มีอายุการให้ความเห็นชอบ 2 ปี ผู้แนะนำการลงทุนต้องดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อต่ออายุใบอนุญาต

7.1

เข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรม หรือศึกษาเพิ่มเติม (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เพื่อต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งถือเป็นการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ 2 ปี ดังนี้

1. การเข้ารับการอบรม 15 ชม. / 2 ปี
  • ความรู้ด้านกฎระเบียบ จรรยาบรรณ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ชม.
  • ความรู้ด้าน ESG 3 ชม.
  • ความรู้ด้านอื่นๆ 9 ชม.
2.เป็นวิทยากร / อาจารย์ในหลักสูตรที่ สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบ 15 ชม.
3.สอบผ่าน CISA หรือ CFA ที่ระดับสูง

ติดต่อ

1. หลักสูตรภายในบริษัท (In-house Training)
2.  สถาบันฝึกอบรมประเภท Public เช่น สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
     สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ฯลฯ

7.2

ขั้นตอนการต่ออายุใบอนุญาต

  • กรอกแบบคำขอต่ออายุฯ ที่ สำนักงาน ก.ล.ต. www.sec.or.th (กรอกข้อมูลผ่านระบบ ORAP)
  • พิมพ์แบบคำขอ และ ใบแจ้งค่าธรรมเนียม
  • ชำระค่าธรรมเนียมคำขอต่ออายุ 1,070 บาท (รวม VAT) ทั้งนี้ ระบบการต่ออายุใบอนุญาต สำนักงาน ก.ล.ต. จะเปิดให้กรอกข้อมูลได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. – 15 ธ.ค. ของทุกปี

ในธุรกิจการเงินการลงทุนเป็นธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ จึงต้องเป็นผู้ที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา ดังนั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้รู้ จะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพนี้ประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก

primary02

สรุปโครงสร้าง IC Licenseไฟล์เอกสาร
Infographic สรุปโครงสร้าง IC Licenseread file
Infographic ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการใช้ผลสอบตามหลักสูตรโครงสร้างเก่าเพื่อขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนread file
Infographic ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนread file

สมัครสอบ

เลือกสมัครสอบหลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน
กับศูนย์ทดสอบที่ได้รับอนุญาต

สถาบันฝึกอบรม
สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ATI) 
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
(AIMC)