วางแผนเรื่องเงิน

ภาษี

“เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน”
“อยากวางแผนภาษี แต่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร?”
“การวางแผนภาษี” คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน ในฐานะพลเมืองดีและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป รวมถึงไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มหรือเสียเบี้ยปรับโดยใช่เหตุ และยิ่งถ้าเราวางแผนภาษีได้เป็นอย่างดี เงินที่ประหยัดได้นี้ ก็สามารถนำไปต่อยอดให้ออกดอกออกผล สร้างเงินกลับมาให้เราได้อีกต่อหนึ่งด้วย
icon link static 1
เรื่องภาษีที่ต้องรู้
อ่านบทความเพิ่มเติม next
ดังนั้น การวางแผนภาษีที่ดีจึงควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจรายละเอียดเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และรู้จักใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่า
statis-content09-01-edit01 1
4 Steps วางแผนภาษี มีเงินเพิ่ม
1 รู้ประเภทและค่าใช้จ่าย... ของเงินได้พึงประเมิน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือเป็นภาษีทางตรงที่บุคคลธรรมดาอย่างเราต้องเสีย โดยโครงสร้างในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคำนวณดังนี้
Group 18134
เมื่ออัตราภาษีต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด การวางแผนภาษีจึงเป็นการวิเคราะห์ “เงินได้สุทธิ” เพื่อวางแผนจัดสรรเงินค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาค ตามที่กฎหมายสนับสนุนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะยิ่งใช้สิทธิลดหย่อนภาษีมาก เงินได้สุทธิที่นำไปคำนวณภาษียิ่งลดลง ก็ทำให้เสียภาษีน้อยลงนั่นเอง

รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีมีอยู่ 8 ประเภท โดยแบ่งตามอาชีพและต้นทุนในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็นธรรมในการคำนวณและจ่ายภาษีมากที่สุด แต่ก็มีหลายกรณีที่เงินได้ของบุคคลอาจถูกจัดว่าเป็นเงินได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะสัญญาการจ้างงานหรือข้อตกลงทางธุรกิจ เราจึงควรทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการจำแนกประเภทของเงินได้ เพื่อให้เกิดการหักค่าใช้จ่ายอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กรมสรรพากร
วางแผนเรื่องเงิน (ประเภทเงินได้-หักค่าใช้จ่าย)
* อ้างอิงพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 
ที่มา : กรมสรรพากร
2 รู้ค่าลดหย่อน เพื่อลดภาษี
การวางแผนเรื่องค่าลดหย่อนได้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้รายได้สุทธิลดลงและเสียภาษีน้อยลง โดยสิทธิลดหย่อนแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
Group 17864
สิทธิลดหย่อนขั้นพื้นฐานของชีวิต 
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าดูแลพ่อแม่และบุตร เป็นต้น
Group 17865
สิทธิลดหย่อนเพื่อการออมและลงทุน 
เพื่อช่วยประหยัดภาษีและวางแผนเกษียณไปด้วยผ่านกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) และประกันชีวิต เป็นต้น
Group 17859
สิทธิลดหย่อนเพื่อการบริจาคเงินให้องค์กรการกุศลหรือสนับสนุนการศึกษา
นอกจากนี้ ภาครัฐอาจมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากการใช้จ่าย การออมและการลงทุนในแต่ละปี เราจึงควรติดตามข่าวสารสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้พลาดใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมตามกำลังหรือให้เหมาะสมกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
icon link static 1
เทคนิควางแผนภาษี ให้มีเงินเหลือเก็บ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ต้องไม่พลาดใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
เทคนิคประหยัดภาษีง่าย ๆ สไตล์ฟรีแลนซ์
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระทั้งหลาย อย่าลืมวางแผนภาษีให้ลงตัว
อ่านบทความเพิ่มเติม next
3 รู้วิธีคำนวณภาษี
หลังจากที่นำรายได้ทั้งปี มาหักค่าใช้จ่ายตามประเภทรายได้ และหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้ว จากนั้นเราจะนำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีในอัตราก้าวหน้า ดังนี้
Group 18044
Group 18120
หมายเหตุ : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาข้างต้นบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี 2560 เป็นต้นไป (อ้างอิงพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 600)
วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้มีรายได้ประเภทเงินเดือนเป็นหลัก แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้ประเภทอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย ต้องคำนวณอีกวิธีหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบกัน โดยการนำรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน หรือที่เรียกกันว่า “รายได้พึงประเมิน” มาคูณด้วยอัตราภาษี 0.5% หากวิธีใดมีจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายสูงกว่า ให้เสียภาษีด้วยวิธีนั้น ซึ่งโดยทั่วไปวิธีแรกจะมีจำนวนที่มากกว่า
ถ้าเข้าใจหลักการคำนวณภาษีแล้ว เราสามารถทดลองวางแผนภาษีของตัวเองได้ง่าย ๆ ผ่านโปรแกรมวางแผนประหยัดภาษี เริ่มด้วยการกรอกรายละเอียดเงินได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ก็จะรู้คร่าว ๆ แล้วว่า เราควรวางแผนออมและลงทุนเพิ่มอย่างไรเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่า แถมยังช่วยให้เราวางแผนออมสม่ำเสมอในระยะยาวได้อย่างดีเลยทีเดียว
go to calculator
โปรแกรมวางแผนประหยัดภาษี
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณ next
statis-content09-03 1
4 รู้ช่องทางยื่นภาษี
เมื่อลองคำนวณแล้วพบว่าอาจได้รับเงินคืนภาษี เราก็ต้องกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนและลงลายมือชื่อผู้ขอคืนอย่างชัดเจน ที่สำคัญก่อนยื่นแบบแสดงรายการอย่าลืมตรวจทานรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมทั้งเตรียมเอกสารที่ต้องแนบเป็นหลักฐานให้เรียบร้อยก่อน

ทางที่ดี... ควรรีบยื่นแบบแสดงรายการตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม ซึ่งจะทำให้ได้เงินคืนภาษีเร็ว เพราะเป็นช่วงที่คนยื่นน้อย แต่ถ้าไม่มีเงินคืนภาษี จะยื่นเร็วหรือช้าก็ไม่มีผลอะไร ที่แน่ ๆ คือ อย่าถ่วงเวลาจนเลยช่วงยื่นแบบแสดงรายการ (เดือนมีนาคม) เข้าล่ะ ถ้าเกินกว่านั้น แทนที่เราจะประหยัด กลับต้องจ่ายค่าปรับถึง 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเชียวนะ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเราสามารถยื่นแบบแสดงรายการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความรวดเร็ว ในการยื่นภาษีได้อีกทางหนึ่ง

ชีวิตคนวัยทำงานกับภาษีเป็นของคู่กัน จะดีกว่ามั้ย ถ้ารู้จักวางแผนภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เลิกพลาดเรื่องภาษีได้ง่าย ๆ ตั้งแต่วันนี้ แล้วจะรู้ว่า แค่นี้ก็ช่วยลดค่าใช้จ่าย แถมเพิ่มเงินออมได้สบาย ๆ เลยทีเดียว

ความรู้แนะนำ 
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง