หากเอ่ยถึงความใฝ่ฝันทางด้านการเงินของคนวัยเกษียณ หนีไม่พ้นการนำเงินก้อนสุดท้ายไปลงทุนเพื่อสร้างรายได้ แล้วนำมาใช้จ่ายอย่างสบายใจและไม่ต้องกังวลว่าเงินจะหมดก่อนวันสุดท้ายของชีวิต ที่สำคัญค่าใช้จ่ายจะมาจากผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุนโดยที่ไม่แตะเงินต้นเลยแม้แต่บาทเดียว ซึ่งการที่จะทำให้ฝันเป็นจริงได้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ คือ ลงทุนแล้วได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าการวางแผนการเงินก่อนวันเกษียณ
ตัวอย่าง
นายเกษียณสุข อยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 20,000 บาท (ปีละ 240,000 บาท) อยากทราบว่าต้องมีเงินเก็บเพื่อเกษียณจำนวนเท่าใด ถ้าคิดว่าจะสามารถหาผลตอบแทนจากการลงทุนหลังเกษียณได้ 6% ต่อปี
โดยส่วนใหญ่จะคำนวณด้วยการนำจำนวนเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณต่อปีหารด้วยอัตราผลตอบแทน ดังนั้น จากตัวอย่าง นายเกษียณสุขต้องมีเงินเก็บเพื่อเกษียณ 4,000,000 บาท (240,000 หาร 6%) อย่างไรก็ตาม วิธีคำนวณดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
D คือ จำนวนเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณต่อปี
i คือ ผลตอบแทนการลงทุนหลังเกษียณ
g คือ อัตราเงินเฟ้อต่อปี
ดังนั้น หากเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเป็น 3% ต่อปี และแทนค่าตัวแปรอื่น เท่ากับ D = 240,000 บาท i = 6% และ g = 3%
จะเห็นได้ว่า เมื่อปรับปรุงเงื่อนไขให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ด้วยการเพิ่มปัจจัยเงินเฟ้อ จะทำให้จำนวนเงินเก็บเพื่อเกษียณเปลี่ยนไป ในกรณีนี้ นายเกษียณสุขต้องเก็บเงินเพื่อเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณเป็นจำนวน 8,480,000 บาท มากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า ทำให้เป้าหมายทางการเงินเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การวางแผนและเตรียมตัวเกษียณไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ตัวอย่าง
นางสาวสุขใจ ตั้งใจเกษียณอายุภายในปีนี้ และคาดว่าจะมีเงินเก็บเพื่อเกษียณประมาณ 8,450,000 บาท อยากทราบว่าควรถอนเงินออกมาเพื่อใช้จ่ายในปีแรกเป็นจำนวนเท่าใด หากคาดว่าจะนำเงินเก็บดังกล่าวไปลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ต่อปี และประเมินอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2.5% ต่อปี
ดังนั้น นางสาวสุขใจ ควรถอนเงินออกมาเพื่อใช้จ่ายในปีแรกเป็นจำนวน 121,875 บาท และถอนเงินเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 2.5% เช่น ปีที่ 2 ควรถอนเงินจำนวน 124,921.87 บาท (121,875 x 1.025)
การวางแผนการเงินเพื่อให้มีใช้จ่ายอย่างสบายใจหลังเกษียณ นอกจากต้องเริ่มต้นเก็บเงินอย่างเป็นขั้นตอนและมีวินัยตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าเงินในอนาคตด้วย โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ เพราะไม่ว่าจะประเมินค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณไว้เดือนละเท่าไหร่ แต่ทั้งหมดเป็นเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้เผื่อใจไว้สำหรับเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้มูลค่าของเงินลดลง
สำหรับใครที่สนใจ เรียนรู้เทคนิคการเพิ่มเงินออม และวิธีการสะสมความมั่งคั่งในระยะยาวเพื่อเป้าหมายเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่
หรือสนใจ เรียนรู้เทคนิคและวิธีการบริหารจัดการเงินหลังเกษียณ เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนการเงินหลังเกษียณ สไตล์วัยเก๋า” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่
บทความที่เกี่ยวข้อง