เจรจาประนอมหนี้… ทางออกดี ๆ ที่ลูกหนี้ควรรู้

โดย SET
37-debt-settlement-a-viable-option-for-borrowers
Highlight
  • การประนอมหนี้ เป็นอีกหนึ่งในทางออกหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ตามข้อตกลงเดิมได้ โดยเป็นการเจรจาข้อตกลงเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ เช่น ลดหย่อน ผ่อนผัน หรือเปลี่ยนข้อตกลง

  • การประนอมหนี้ เหมาะกับลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ไม่เยอะ และมั่นใจว่าจะผ่อนไหวจนหมดเท่านั้น

หากคุณเป็นคนหนึ่ง... ที่ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ตามข้อตกลงเดิมได้ แต่ก็ไม่ต้องการปล่อยให้เส้นทางการเงินของคุณถูกต้อนเข้าสู่มุมอับ จากหนี้แสนกลายเป็นหนี้ล้าน ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล หรือวัน ๆ ไม่ได้ทำงานเพราะต้องคอยหลบเจ้าหนี้ ลองมองหาช่องทาง เจรจาประนอมหนี้ คงดีกว่าปล่อยให้กลายเป็นหนี้เสีย

 

หลักในการเจรจาประนอมหนี้มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการเงินแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน แต่ที่คนส่วนใหญ่ใช้กันบ่อย ๆ ได้แก่

 

  • ขอลดยอดหนี้ลงบางส่วน
  • ขอขยายเวลาการชำระหนี้ 1 – 2 ปี
  • ขอลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละงวด
  • ขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติที่ไม่ผิดนัด
  • ขอหยุดดอกเบี้ยและไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างที่ผ่อนชำระ
  • ขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับกรณีผิดนัดชำระ
  • ขอโอนหลักประกันเพื่อชำระหนี้

ฯลฯ

การเจรจาประนอมหนี้จะเหมาะสำหรับ “ลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ไม่เยอะ และมั่นใจว่าจะผ่อนไหวจนหมดเท่านั้น” เพราะเจ้าหนี้จะระงับหนี้เดิม แต่จะงอกสัญญาหนี้ฉบับใหม่มาให้ ซึ่งยอดหนี้จะเท่าเดิม แต่จะรวมดอกเบี้ยที่ค้างชำระของเก่า ค่าธรรมเนียมจิปาถะ และดอกเบี้ยปรับโครงสร้างหนี้อีกประมาณ 10% - 15%

 

ส่วนข้อสรุปในการเจรจาจะออกมาในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งเงื่อนไข ระยะเวลา เทคนิคการต่อรอง ชื่อเสียงหรือเครดิตของคุณ ตลอดจนการแสดงออกถึงความจริงใจและตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้หมดด้วย


สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้เทคนิคบริหารจัดการหนี้ ให้มีเงินเหลือใช้ และสามารถเก็บออมเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตได้

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “WMD1101 : หมดหนี้มีออม” ฟรี!!! >> คลิกที่นี่



บทความที่เกี่ยวข้อง