“ออกจากงานประจำ ไปเป็นฟรีแลนซ์ดีมั้ยนะ มีอิสระกว่าตั้งเยอะ”
“เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของฟรีแลนซ์มีแต่ความไม่แน่นอน ไม่รู้จะจัดการยังไงดี”
พูดถึงอาชีพฟรีเเลนซ์ คงเป็นงานในฝันของคนหลาย ๆ คน เพราะฟรีเเลนซ์มีอิสระในการเลือกงานและเวลาที่ทำได้ แต่ด้วยความเป็นอิสระในการเลือก ก็ทำให้ต้องแลกกับหลาย ๆ อย่างมาเช่นกัน เมื่อเทียบกับงานประจำที่ถึงเเม้จะหยุดทำงานก็ยังได้เงินเดือน สวัสดิการหลายอย่าง เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ตรวจสุขภาพ ฯลฯ ก็เบิกได้ แต่เมื่อออกมาทำฟรีเเลนซ์ พอหยุดทำงาน เงินก็หยุดไปพรัอมกัน สวัสดิการที่เคยได้รับก็หายไปเช่นกัน
หากวางแผนจะลาออกจากงานมาทำอาชีพฟรีเเลนซ์แน่นอนแล้ว คุณควรศึกษา “4 เรื่องต้องรู้ ก่อนออกจากงาน"
โดยจะต้องเเจ้งสำนักงานจัดหางานภายใน 30 วัน นับจากวันที่ว่างงาน โดยถ้าคุณลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา จะได้รับเงินชดเชยในอัตราร้อยละ 30 ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน (ฐานเงินเดือนขั้นต่ำ 1,650 บาท - สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) (ศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขได้ที่ สำนักงานประกันสังคม)
โดยเปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อรับความคุ้มครองต่อใน 6 สิทธิ ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ซึ่งจะต้องยื่นสมัครภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันออกจากงาน และต้องส่งเงินสมทบต่อเองในอัตรา 432 บาทต่อเดือน แต่ถ้าไม่ได้สมัครประกันตนเองต่อ คุณก็ยังสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ได้เช่นกัน
โดยศึกษาเงื่อนไขและเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดเรื่องอายุงานว่า ครบกำหนดที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของนายจ้างเมื่อใดและได้รับในอัตราเท่าใด เช่น อายุงานไม่เกิน 5 ปี เมื่อลาออกจะได้เงินสมทบของนายจ้างร้อยละ 50 แต่หากอายุงานเกิน 5 ปี จะได้รับเงินสมทบเต็มจำนวน เป็นต้น ดังนั้น เกณฑ์ในการได้รับเงินสมทบของนายจ้าง ก็อาจมีผลต่อการตัดสินใจออกจากงานในช่วงเวลานั้นได้
เพราะเมื่อคุณนำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ต้องนำเงินสมทบส่วนของนายจ้างและเงินผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนทั้งหมด ไปรวมกับเงินได้เพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย แต่ถ้าไม่อยากเสียภาษี คุณควรทำเรื่องโอนเงินกองทุนฯ ทั้งหมดไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) พร้อมถือต่อเป็นเวลา 5 ปีเต็ม และเมื่ออายุครบ 55 ปี ขึ้นไป ก็จะสามารถนำเงินออกมาได้โดยที่ไม่ได้ต้องเสียภาษีเลยทั้งจำนวน
นอกจากนี้ พอออกจากงานประจำมาเป็นฟรีแลนซ์แล้ว ยังมีอีก “4 ข้อต้องคิด วางแผนเรื่องเงิน”
เนื่องจากคุณมีรายได้ไม่แน่นอน แต่ค่าใช้จ่ายหลายอย่างยังคงต้องใช้อยู่ แถมยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพิ่มขึ้นมา ดังนั้น การแยกเรื่องเงินส่วนตัวและธุรกิจออกจากกัน และวางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือน จะช่วยลดปัญหาการขาดสภาพคล่องและลดความซับซ้อนเรื่องเงินในอนาคต
เพราะอาชีพอิสระบางช่วงเวลาอาจจะไม่มีงานเลยก็เป็นได้ ถ้าปกติเตรียมเงินสำรองไว้ 3 - 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ก็ควรเตรียมเพิ่มไปอีกตามความเหมาะสม และอาจจะต้องเตรียมเงินสภาพคล่องเผื่อสำหรับหมุนเวียนในธุรกิจอีกก้อนหนึ่งด้วย
แม้ว่าฟรีแลนซ์จะไม่มีเครื่องมือออมเงินที่เป็นภาคบังคับ และไม่มีนายจ้างช่วยออมเพิ่มให้ แต่คุณก็สามารถเลือกออมผ่านกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญ ที่นอกจากจะเป็นการลงทุนระยะยาวแล้วยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
เพื่อให้คุณมีทางเลือกในการรักษาพยาบาลมากขึ้น รวมทั้งเพื่อช่วยลดมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงต่างๆ เพราะการหวังพึ่งสวัสดิการจากรัฐเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่การวางแผนที่ดีนัก
ว่าที่ฟรีแลนซ์ทุกคนควรศึกษาสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ควรจะได้รับให้ดี และเตรียมเรื่องเงินให้พร้อม เพื่อให้สามารถมีอิสระทั้งการใช้ชีวิต การทำงาน และเวลาให้ครอบครัว ตลอดจนมีอิสรภาพทางการเงินไปพร้อมกันด้วย
สำหรับผู้ที่มีแผนว่าจะเลือกเส้นทางอาชีพเป็นฟรีแลนซ์ มาเริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงิน เพื่อเตรียมพร้อมเรื่องเงินอย่างเป็นระบบให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ด้วย e-Learning หลักสูตร “เงินทองต้องวางแผน” ได้ฟรี!!! >>> คลิกที่นี่
บทความที่เกี่ยวข้อง