การออมเงิน การเก็บเงิน เป็นเป้าหมายทางการเงินที่หลายคนมักหยิบยกไปตั้งเป็นปณิธานในช่วงปีใหม่ (New Year’s Resolution) เพื่อให้ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ เช่น การท่องเที่ยว, การซื้อของที่อยากได้ หรือแม้กระทั่งได้ทำงานอดิเรกที่ชอบ
แต่บางคนอาจกำลังเจอปัญหาที่ทำให้การออมเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือกำลังรู้สึกถึงความน่าเบื่อและความยากกับการต้องออมเงินที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง บทความนี้จะเผยเคล็ดลับการออมเงินที่ทำให้คุณสนุกขึ้นและทำได้ในระยะยาว
วิธีออมเงินให้ได้ผลจริง ควรมีการวางแผนและใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ทำได้ง่าย ๆ ด้วย 3 เคล็ดลับต่อไปนี้
การตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนช่วยให้มีทิศทางที่แน่นอนด้วยหลัก SMART เปรียบเสมือนจุดหมายของการเดินทาง มีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว อาจจัดทำ Vision Board เพื่อให้เราเห็นภาพตัวเองในวันที่บรรลุเป้าหมายนั้นแล้ว โดยเลือกภาพที่มีองค์ประกอบตามเป้าหมายที่ต้องการและจัดวางในที่ที่มองเห็นได้บ่อย ๆ
นอกจากนั้น ให้หมั่นติดตามการออมเงินเป็นระยะ เพื่อเช็กสถานะความคืบหน้าของการออมในแต่ละเป้าหมาย และเมื่อออมเงินได้ตามเป้าหมาย อย่าลืมให้รางวัลกับตัวเอง เช่น เมื่อออมเงินได้ 3 เดือนติดกัน ได้ดูซีรีส์ 1 เรื่อง (มูลค่าของของรางวัลไม่ควรสูงเกินไป จนกระทบกับเงินออมหรือสร้างหนี้สิน)
เพื่อป้องกันการหลุดโฟกัสจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อเจอสิ่งล่อตาล่อใจ สามารถใช้กฎ 50/30/20 เป็นแนวทางในการเก็บเงินได้ รายละเอียดดังนี้
อย่างไรก็ตาม สัดส่วนข้างต้นอาจมีการปรับให้เหมาะกับสถานการณ์การเงินของแต่ละบุคคลได้ อาจเริ่มจากการออมเงิน 10% ของเงินได้ เพื่อเริ่มสร้างนิสัย การออม
ทั้งนี้ ควรศึกษาเทคนิคการจัดสรรเงินในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การทำงบประมาณแบบเริ่มจากศูนย์ (Zero-Based Budgeting), การตั้งค่าการตัดเงินออมอัตโนมัติ เป็นต้น
เมื่อพูดถึงการเก็บเงิน หลายคนอาจนึกถึงเพียงการฝากเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์และบัญชีฝากประจำ แต่ความจริงแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทอื่น ๆ (เช่น กองทุนรวม, หุ้น, ตราสารหนี้) ที่เราสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับเป้าหมายทางการเงิน, ระยะเวลาในการออม และความเสี่ยงที่ยอมรับได้
การออมเงินจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป หากใช้หลัก “Gamification” หรือการนำหลักการหรือกลไกของการเล่นเกมมาปรับใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการออมเงิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ มาสร้างเป็น “Money Saving Challenge” ของตัวเองกันเถอะ!
เหมาะกับมือใหม่มากที่สุด เพราะเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมในแต่ละช่วงเวลา วิธีการง่าย ไม่ซับซ้อน เช่น เก็บเงิน 50 บาททุกวัน, เก็บเงิน 1,000 บาททุกสัปดาห์, เก็บเงิน 5,000 บาททุกเดือน เป็นต้น ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนเงินได้ตามความสามารถและสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง
เหมาะกับผู้ที่ต้องการสร้างแรงจูงใจและเพิ่มความสนุกในกับการออมเงินในแต่ละวัน ทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 : กำหนดจำนวนเงินออมให้ตรงกับวันที่นั้น ๆ เช่น วันที่ 1 เก็บเงิน 1 บาท, วันที่ 2 เก็บเงิน 2 บาท และทำต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้มีเงินออมทั้งหมด 5,738 บาทต่อปี
รูปแบบที่ 2 : ทำเป็นตารางการออมเงินจากวันที่ 1 - วันที่ 365 วิธีนี้จะทำให้มีเงินออมทั้งหมด 66,795 บาทต่อปี
เหมาะกับผู้ที่ถนัดใช้เงินสด, ผู้ที่ได้รับเงินสดในชีวิตประจำวัน โดยเลือกธนบัตรที่ชื่นชอบหรือมักพบในชีวิตประจำวัน เช่น การเก็บแบงก์ 50 ช่วยเพิ่มความสนุกในการออมด้วยการลุ้นว่าวันนี้จะมีแบงก์ 50 ผ่านมือบ้างไหม อาจตั้งเป้าหมายเพิ่มว่าต้องสะสมให้ได้กี่ใบ เช่น สะสมแบงก์ 50 บาท จำนวน 100 ใบ ซึ่งจะสามารถเก็บเงินได้ 5,000 บาท
เหมาะกับคนที่ชอบชอปปิงและมักหาดีลส่วนลดอยู่เสมอ โดยทุกครั้งที่ซื้อของและได้ส่วนลด ให้นำจำนวนเงินที่ประหยัดได้จากส่วนลดนั้นมาเก็บออม เช่น ซื้อของราคาปกติ 1,000 บาท ได้รับส่วนลด 30% ทำให้จ่ายเงินจริง 700 บาท ดังนั้น ให้เก็บเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ประหยัดได้ นั่นคือ 300 บาท นอกจากจะช่วยสร้างแรงจูงใจในการออมเงินแล้ว ยังสร้างแรงจูงใจให้หาดีลส่วนลดมากขึ้น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
เหมาะกับผู้ที่ชอบเสี่ยงดวง โดยกำหนดการออมเงินจากเลขท้าย 2 ตัว แล้วนำตัวเลขนั้นมาเป็นจำนวนเงินที่ต้องออม เช่น เลขท้าย 2 ตัวออก 50 ให้ออมเงิน 50 บาท และสำหรับผู้ที่มีกำลังออมมากกว่า เพื่อเพิ่มความท้าทาย สามารถออมเงินเพิ่มด้วยการคูณ เช่น คูณ 100 ทำให้ออมเงินเป็น 5,000 บาท
ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่เกี่ยวกับการออมเงินมากมาย ช่วยให้การบันทึกและติดตามการออมเงินง่ายขึ้น เช่น แอป Happy Money ที่มีฟีเจอร์การตั้งงบ ประมาณ (Budget) และการติดตามรายได้, ค่าใช้จ่าย, การออมและการลงทุน
การออมเงินเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสำคัญ ควรตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน, ใช้กฎ 50/30/20 ในการจัดสรรเงิน และเลือกเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังสามารถทำให้การออมเงินสนุกขึ้นได้ โดยใช้หลัก “Gamification” เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเก็บเงิน
บทความที่เกี่ยวข้อง