Intermission
ล่าสุด
1,356.17
-5.60
(-0.41%)
ล่าสุด
1,356.17
-5.60
(-0.41%)
23 ม.ค. 2568 12:43:54
มูลค่า (ล้านบาท)
16,406.00
ปริมาณ ('000 หุ้น)
3,601,122
ข้อมูลล่าสุด 23 ม.ค. 2568 12:43:54
ปริมาณ ('000 หุ้น)
3,601,122
มูลค่า (ล้านบาท)
16,406.00

5 ประโยชน์การส่งต่อมรดก ด้วยประกันชีวิต

โดย จตุรพร ระวิงทอง AFPT™ Assistant Wealth Manager ธนาคารทิสโก้
TSI_Article_FL_104_5 ประโยชน์การส่งต่อมรดก ด้วยประกันชีวิต_Thumbnail
Highlight

ประกันชีวิต นอกจากจะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงแล้ว ยังสามารถช่วยวางแผนมรดกได้อีกด้วย ซึ่งการส่งมอบมรดกด้วยการทำประกันชีวิต จะกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการส่งมอบให้กับคนที่เรารัก พร้อมทั้งระบุชื่อผู้รับประโยชน์และสัดส่วนการรับเงินไว้ในกรมธรรม์ได้ตามต้องการ เพียงเท่านี้ก็สามารถลดความกังวลและเพิ่มความสบายใจให้ทั้งตัวเองและคนที่เรารัก

จากความเสี่ยงในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านสุขภาพที่เกิดจากมลภาวะทางอากาศ โรคร้ายแรง หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้ทุกเวลา ซึ่งการป้องกันที่น่าสนใจ คือ การวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อส่งต่อมรดก โดยการวางแผนเรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่สามารถวางแผนได้ทุกช่วงวัยเพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินที่มีอยู่จะถูกส่งมอบให้กับคนที่เรารักตามความต้องการและถูกต้องตามกฎหมาย

การส่งต่อมรดก สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การยกให้ การแบ่งปันทรัพย์มรดก เป็นต้น แต่หนึ่งในวิธีการส่งต่อมรดกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ การส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิต ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้

1. เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษีมรดก
ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กำหนดว่า “มรดก” หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย จากบทนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ถือเป็นมรดกของผู้ตาย เนื่องจากไม่ถือเป็นทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย แต่เป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังจากผู้เอาประกันเสียชีวิตแล้ว
 
2. สามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความประสงค์
ผู้เอาประกันสามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความต้องการ โดยผู้รับประโยชน์สามารถเป็นบุคคลใดก็ได้ เช่น ทายาท คู่สมรส บุพการี พี่น้อง หรือองค์กรการกุศล เป็นต้น
 
3. เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกได้
เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต สิทธิในการรับเงินประกันชีวิตจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ เจ้าหนี้ของผู้เอาประกันจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตจากผู้รับประโยชน์ได้

4. จัดการเงินได้อย่างรวดเร็ว
การเรียกร้องเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแจ้งบริษัทประกันชีวิตให้ทราบภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบถึงการเสียชีวิตของผู้เอาประกัน ซึ่งต่างกับคำสั่งศาลในคดีมรดก โดยพินัยกรรมจะใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน และคดีมรดกโดยธรรม จะใช้เวลาประมาณ 3 - 6 เดือน
 
5. ค่าเบี้ยนำไปลดหย่อนภาษีได้
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง
 
สำหรับเทคนิคเลือกประกันชีวิตเพื่อส่งต่อมรดก ส่วนใหญ่นิยมเลือก ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เนื่องจากประโยชน์ของแบบประกัน มีดังนี้

  • จำนวนเงินเอาประกัน แบบประกันตลอดชีพเป็นแบบประกันที่ให้ทุนประกันภัยสูง แต่เบี้ยประกันภัยต่ำ เมื่อเทียบเบี้ยประกันต่อทุนจึงมีความคุ้มค่าสูง

  • ระยะเวลาการเอาประกัน แบบประกันตลอดชีพมีความคุ้มครองชีวิตระยะยาวจนสิ้นอายุขัย หรือ จนครบกำหนดอายุ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้ครอบครัวมีหลักประกันระยะยาว ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนครบกำหนดอายุสัญญา ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิต

  • เบี้ยประกัน ค่าเบี้ยประกันของประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะคงที่ตลอดอายุสัญญา ทำให้ผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเบี้ยประกันที่อาจสูงขึ้นในอนาคต

  • มีความยืดหยุ่นสูง เลือกแบบประกันโดยผู้เอาประกันสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ตามความต้องการ และสามารถเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ได้

การส่งต่อมรดกด้วยประกันชีวิตถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการวางแผนส่งต่อมรดกให้กับคนที่เรารัก หากเกิดอะไรขึ้นกับตนเองโดยไม่คาดคิด เงินก็จะถูกส่งต่อและสามารถนำไปใช้ได้ โดยเงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตยังได้รับการยกเว้นภาษีมรดก และสามารถกำหนดผู้รับประโยชน์ได้ตามความต้องการ เพียงเท่านี้ก็สามารถลดความกังวลและเพิ่มความสบายใจให้ทั้งตัวเองและคนที่เรารักได้


สำหรับผู้ที่สนใจอยากทำประกัน แต่ไม่รู้ว่าจะต้องวางแผนจัดสรรเงินอย่างไร เพื่อจะสามารถชำระเบี้ยประกันได้ตลอดสัญญา มาเริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงิน เตรียมพร้อมเรื่องเงินอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ด้วย e-Learning หลักสูตร “เงินทองต้องวางแผน” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่



บทความที่เกี่ยวข้อง 

My Quote

กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่ท่าน รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  นโยบายการใช้คุกกี้