Open2
ล่าสุด
903.63
+14.90
(+1.68%)
ล่าสุด
903.63
+14.90
(+1.68%)
07 ม.ค. 2568 15:25:10
มูลค่า (ล้านบาท)
20,726.37
ปริมาณ ('000 หุ้น)
835,451
ข้อมูลล่าสุด 07 ม.ค. 2568 15:25:10
ปริมาณ ('000 หุ้น)
835,451
มูลค่า (ล้านบาท)
20,726.37
“วางแผนมรดกไปทำไม? จำเป็นด้วยเหรอ?”
“จริง ๆ ก็ไม่ได้มีสินทรัพย์มากมายเท่าไหร่ ต้องวางแผนมรดกด้วยเหรอ?”
หลังจากที่เราได้สร้างและสะสมความมั่งคั่งของตนเองมาระดับหนึ่ง ก็ถึงเวลาคิดและถามตัวเองว่าตอนนี้เรามีทรัพย์สินอะไรบ้าง? แต่ละอย่างมีมูลค่าเท่าไหร่? หรือหากวันนี้เราเป็นอะไรไป ทายาทจะได้รับมรดกอย่างที่เราอยากยกให้หรือไม่? 
“การส่งมอบความมั่งคั่ง” (Wealth Distribution) จึงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ๆ ในการบริหารจัดการความมั่งคั่ง เพราะจะช่วยให้สิ่งที่เราสร้างสมและเก็บรักษามาตลอดชีวิตถูกจัดสรรให้แก่คนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือแม้กระทั่งการแบ่งปันให้กับผู้อื่นตามที่เราต้องการ โดยหัวใจหลักของการส่งมอบความมั่งคั่งก็คือ “การวางแผนมรดก” ที่จะช่วยส่งผ่านความมั่งคั่งร่ำรวยจากรุ่นสู่รุ่น แถมยังช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าทรัพย์สมบัติทั้งหมดจะถูกสืบทอดไปตามเจตนารมณ์ของเรา
static19_1
“3 Steps วางแผนมรดกฉบับมือใหม่
img_content19-2
logo-no-1สำรวจทรัพย์สมบัติในปัจจุบัน 
พูดถึง “การวางแผนมรดก” หลายคนคงส่ายหน้าหนี ไม่เคยคิดที่จะวางแผนมรดกเลยสักครั้ง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของคนรวย คิดว่าตัวเองมีทรัพย์สินไม่มากนักจะทำไปทำไมให้เสียเวลา หรือไม่ก็คิดว่าเป็นการแช่งตัวเอง ความคิดเหล่านี้ถือเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ลองปรับทัศนคติเสียใหม่.... ไม่ใช่แค่คนรวยที่มีทรัพย์สมบัติเงินทองมาก ๆ เท่านั้นที่ต้องทำ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุก ๆ คน ไม่ว่าจะมีเงินมากหรือน้อยก็ไม่ควรมองข้าม

ดังนั้น หากใครยังมึน ๆ งง ๆ ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ลองเริ่มจากการติดตามทรัพย์สินและหนี้สินของเราที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ให้มารวมอยู่แหล่งเดียวกัน โดยการใช้ “งบดุลส่วนบุคคล” จดบันทึกไว้ว่าตนเองมีทรัพย์สินและหนี้สินอะไร? เป็นจำนวนเท่าไหร่?
อยู่ที่ไหน? เพื่อให้เป็นระบบระเบียบและสะดวกตอนทำพินัยกรรมมากยิ่งขึ้น
ที่ต้องกล่าวถึงหนี้สิน เพราะหนี้สินก็อยู่ในข่ายที่จะเป็นมรดกตกทอดถึงทายาทได้เช่นเดียวกับทรัพย์สิน ดังนั้น เราจึงควรระบุไว้ด้วยว่า... เรามีหนี้สินอยู่ที่ไหน? รวมเป็นเงินเท่าไหร่? เพื่อจะได้นำเงินในกองมรดกมาชำระหนี้สินให้เรียบร้อยก่อนแบ่งสรรปันส่วนกัน หากสามารถระบุชื่อรายการอย่างละเอียด ก็จะช่วยให้กลับมาติดตามได้ง่ายขึ้นอีก เช่น เงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร A  เงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร B เงินกองทุน XYZ ฯลฯ
img_content19-2
ตัวอย่าง งบดุลส่วนบุคคล
img_content19-example-1
img_content19-example-2
logo-no-1ทำพินัยกรรม 
“พินัยกรรม” ถือเป็นคำสั่งเสียครั้งสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่า ทรัพย์สินจะถูกส่งต่อหรือถ่ายโอนไปยังบุคคลที่เราต้องการมอบให้อย่างแน่นอนและครบถ้วน ซึ่งตามกฎหมายเราสามารถระบุให้ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้รับมรดกก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติสนิท หรือสายเลือดเดียวกันเสมอไป เพียงแต่ทำพินัยกรรมโดยระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้อย่างครบถ้วน ก็ทำให้การจัดสรรทรัพย์สินของเราเป็นไปอย่างสมบูรณ์ได้

ข้อมูลหลัก ๆ ที่ต้องระบุในพินัยกรรมประกอบไปด้วย... ข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ นามสกุล อายุ ฯลฯ) รายการทรัพย์สินต่าง ๆ (ที่ดิน บ้าน ใบหุ้น เงินฝาก ฯลฯ) กรมธรรม์ประกัน (ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ฯลฯ) รายชื่อผู้รับมรดก ผู้จัดการมรดก จำนวนทรัพย์สินที่ต้องการจัดสรรให้แต่ละคน ลายมือชื่อ และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม
icon link static 1
เขียนพินัยกรรมอย่างไร... ถูกใจ ถูกกฎหมาย
อ่านบทความเพิ่มเติม next
static19_3
เมื่อทำพินัยกรรมแล้ว... เราควรปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในพินัยกรรมให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา อย่างน้อยก็ทุกๆ 3 – 5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าพินัยกรรมของเราจะถูกนำไปปฏิบัติตามเจตนารมย์ของเรา ณ ขณะนั้น ๆ มีหลายคนที่ทำพินัยกรรมเสร็จแล้วเก็บซ่อนไว้อย่างดี ไม่เคยหยิบมา Update เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น มีทรัพย์สินเพิ่ม มีลูกเพิ่ม หรือหย่าร้าง ฯลฯ

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ลืมไม่ได้เด็ดขาด คือ เราควรบอกให้คู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ทราบว่าพินัยกรรมฉบับล่าสุดของเราจัดทำขึ้นเมื่อใด และเก็บไว้ที่ไหน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับรหัสตู้เซฟ หรือกุญแจตู้ที่เก็บเอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต สมุดเงินฝาก ใบหุ้น โฉนดที่ดิน ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถนำพินัยกรรมและเอกสารต่าง ๆ ของเรามาดำเนินการต่อไปได้

กรณีที่เราจากไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้ หรือมีพินัยกรรมแต่หาไม่พบ ทรัพย์สินของเราจะถูกจัดสรรให้แก่คู่สมรสและทายาทโดยธรรม ตามลำดับและสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
static19_4
Education Professional IP - vector circle checkผู้สืบสันดาน
Education Professional IP - vector circle checkบิดา มารดา
Education Professional IP - vector circle checkพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 
Education Professional IP - vector circle checkพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 
Education Professional IP - vector circle checkปู่ ย่า ตา ยาย 
Education Professional IP - vector circle checkลุง ป้า น้า อา 
static19_4
logo-no-1วางแผนภาษีมรดก
ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก คือ ผู้รับมรดกที่ได้มรดกสุทธิหลังหักภาระติดพันต่าง ๆ แล้ว เช่น ภาระจำนอง ฯลฯ จากเจ้ามรดกแต่ละรายในคราวเดียวหรือหลายคราว ให้เสียภาษีเฉพาะมูลค่ามรดกสุทธิส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราภาษีร้อยละ 10

แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานก็ให้เสียภาษีในอัตราภาษีร้อยละ 5 ไม่คำนึงถึงจำนวนครั้ง หรือ จำนวนหน่วยของทรัพย์มรดกที่ได้รับ โดยทรัพย์มรดกที่ต้องเสียภาษีต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียน ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ เงินฝาก ยานพาหนะ และทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น หากจัดการวางแผนมอบมรดกได้ดี อาจช่วยให้เราไม่ต้องเสียภาษีมรดกมากเกินไป
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสรรพากร
icon link static 1
วางแผนภาษีมรดกอย่างไร... อุ่นใจทั้งครอบครัว
อ่านบทความเพิ่มเติม next
static19_5
การสนใจวางแผนมรดกให้ลูกหลานตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งที่ดี เราควรศึกษาวิธีการจัดทำพินัยกรรมหรือปรึกษานักกฎหมายเพื่อให้พินัยกรรมของเรามีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย ซึ่งที่จริงแล้ว... การส่งมอบความมั่งคั่งไม่ได้เป็นเรื่องของการส่งต่อทรัพย์สินให้แก่ทายาทเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง “การแบ่งปันให้ผู้อื่น” ทั้งในยามปกติ เช่น การบริจาคให้มูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล ผู้ที่มีน้อยหรือด้อยโอกาสกว่า และคราวจำเป็นเมื่อมีภัยพิบัติขึ้น เช่น แผ่นดินไหว ไฟไหม้ น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งการแบ่งปันเหล่านี้... นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นยามเดือดร้อน และช่วยให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้ว ยังสุขใจทั้งผู้ให้ อิ่มใจทั้งผู้รับด้วย
static19_5

ความรู้แนะนำ
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง 

My Quote

กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่ท่าน รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  นโยบายการใช้คุกกี้