กองทุนที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฝ่ายละเท่า ๆ กัน โดยเงินสมทบที่ได้มาจะถูกนำไปจัดตั้งเป็นกองทุนและจ่ายเป็นผลประโยชน์ทดแทนหรือให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง
สําหรับเงินสมทบกรณีชราภาพ ลูกจ้างหรือผู้ประกันตนจะได้รับเงินคืนใน 2 กรณี คือ
1. กรณีบำนาญชราภาพ
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ |
ประโยชน์ทดแทน |
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
|
- กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- กรณีจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1 เพิ่มขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
|
2. กรณีบำเหน็จชราภาพ
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ |
ประโยชน์ทดแทน |
- จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
|
- กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
- กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
- กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
|
ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่