ค้นหาชื่อย่อ
/ Factsheet
SET App
Settrade App
ข้อมูลการซื้อขาย
ภาพรวมข้อมูลการซื้อขาย
ดูภาพรวม
ผลิตภัณฑ์
หุ้น
ETF
DR
DRx
DW
TFEX
ดัชนี
SET Index
FTSE SET Index
FTSE ASEAN Index
ดัชนีผลตอบแทนรวม (TRI)
ปฏิทินหลักทรัพย์
ข้อมูลและสถิติ
สรุปภาพรวมตลาด
ราคาหลักทรัพย์
สิบอันดับหลักทรัพย์
สรุปมูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน
สรุปมูลค่าการซื้อขาย 5 วันทำการล่าสุด
ข้อมูล NVDR
ธุรกรรมขายชอร์ต
Program Trading Value
สถิติสำคัญตลาดหลักทรัพย์
ข่าวและการแจ้งเตือน
ข่าวหลักทรัพย์
Market Alerts
หลักทรัพย์ที่หยุดพักการซื้อขายชั่วคราว
หลักทรัพย์ที่ Trigger Dynamic Price Band
หลักทรัพย์ที่ซื้อด้วย Cash Balance
หลักทรัพย์ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย
ความเห็นผู้สอบบัญชี
หลักทรัพย์เตรียมเข้า IPO
การนำเสนอข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน
Opportunity Day
C-Sign Public Presentation
SET Digital Roadshow
รายชื่อบริษัทจดทะเบียน/หลักทรัพย์
ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์
ดาวน์โหลดรายชื่อบจ.ในตลาดหลักทรัพย์
ดาวน์โหลดรายชื่อบจ.ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
รายชื่อหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ตได้
รายชื่อหลักทรัพย์กรณีต่างๆ
SET ESG Ratings และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
วิธีการซื้อขาย
รายชื่อบริษัทสมาชิก
ภาษี
การคุ้มครองผู้ลงทุน
บริการผู้ลงทุน
รายชื่อบริษัท/หลักทรัพย์
ผู้ออกหลักทรัพย์
ภาพรวมผู้ออกหลักทรัพย์
ดูภาพรวม
การออกตราสารทุน
การเข้าจดทะเบียน
การจดทะเบียนหุ้นสามัญ
การจดทะเบียน REIT
การจดทะเบียน IFF
การจดทะเบียน IFT
บริการสำหรับบริษัทเข้าจดทะเบียน
Case Study - การเข้าจดทะเบียน
ข้อมูล IPO
หลักทรัพย์เตรียม IPO
หลักทรัพย์ IPO ล่าสุด
First Trading Day
IPO Performance
ค้นหาหลักทรัพย์จดทะเบียน
การเป็นบริษัทจดทะเบียน
เกณฑ์เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน (Simplified Regulations)
การออกเครื่องมือทางการเงิน
การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
บริการสำหรับบริษัทจดทะเบียน
คู่มือการเป็นบริษัทจดทะเบียน (Listed Company Journey)
รายชื่อบริษัทจดทะเบียน/หลักทรัพย์
ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์
ดาวน์โหลดรายชื่อบจ.ในตลาดหลักทรัพย์
ดาวน์โหลดรายชื่อบจ.ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
รายชื่อหลักทรัพย์ที่ขายชอร์ตได้
รายชื่อหลักทรัพย์กรณีต่างๆ
ห้องเรียนบริษัทจดทะเบียน
การออกตราสารอื่น
ETF
DR/DRx
DW
Thailand Focus
SET Awards
Opportunity Day
กฎเกณฑ์และการกำกับ
ภาพรวมเกณฑ์และการกำกับ
ดูภาพรวม
เกณฑ์และการกำกับ
เกณฑ์บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
เกณฑ์บริษัทสมาชิก
เกณฑ์การซื้อขาย
เกณฑ์สำนักหักบัญชี
เกณฑ์ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
เกณฑ์นายทะเบียนหลักทรัพย์
เกณฑ์ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ค้นหาเกณฑ์
กฎเกณฑ์
หนังสือเวียน
แบบฟอร์ม/คู่มือ
เกณฑ์ที่ถูกยกเลิก
Market Alert
การบังคับใช้
การรับฟังความคิดเห็น
ค่าสถิติงานกำกับ
กฎเกณฑ์ใหม่
บริการ
ภาพรวมบริการ
ดูภาพรวม
บริการเชื่อมต่อและข้อมูล
บริการเชื่อมต่อ
บริการข้อมูลหลักทรัพย์
บริการซื้อขาย
บริการ Front Office และ Internet Trading
บริการ Derivatives Back Office
บริการ Fund Integrated Service
บริการหลังการซื้อขาย
บริการสำนักหักบัญชี
บริการรับฝากหลักทรัพย์
บริการนายทะเบียนหลักทรัพย์
บริการสำหรับนักลงทุน
บริการเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน
FundConnext
Onboarding
e-Meeting Platform
e-Stamp Duty
Payment for Capital Market
บริการสำหรับบริษัทจดทะเบียน
บริการสำหรับสมาชิก
การรับสมาชิก
การต่อเชื่อมระบบส่งคำสั่งซื้อขาย
บริการสำหรับนักลงทุนสถาบัน
Direct Market Access (DMA)
Algorithmic Trading
บริษัทผู้พัฒนาระบบ (ISV)
ความรู้และวิจัย
ภาพรวมความรู้
ดูภาพรวม
ความรู้
วางแผนเรื่องเงิน
มือใหม่เริ่มลงทุน
เส้นทางวิชาชีพตลาดทุน
Startup & SME
ผู้ประกอบการเพื่อสังคม
ความรู้บริษัทจดทะเบียน
สถาบันวิทยาการตลาดทุน
ห้องสมุดมารวย
INVESTORY พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน
SET e-Learning
SET Book
SET ESG Academy
SET Fin Quizz
ภาพรวมวิจัย (SET Research)
ดูภาพรวม
วิจัย
ภาวะตลาดหลักทรัพย์
บทความและงานวิจัย
ฐานข้อมูลตลาดทุน
กิจกรรม
ทุนวิจัย
ค้นหาวิจัย
รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
สรุปภาวะตลาดหลักทรัพย์
เกี่ยวกับ ตลท.
ภาพรวมเกี่ยวกับ ตลท.
ดูภาพรวม
ภาพรวมองค์กร
ความเป็นมาและบทบาท
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
คณะกรรมการ
โครงสร้างองค์กรและคณะผู้บริหาร
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
รายงานประจำปีและงบการเงิน
แจ้งเบาะแส / ร้องเรียน / เสนอแนะ
ร่วมงานกับเรา
กลุ่ม ตลท.
บริษัทและโครงสร้างการถือหุ้น
TFEX
TCH
TSD
settrade
Thai NVDR
TDX
DAP
FiNNET
LiVE
ติดต่อเรา
ตลาดหลักทรัพย์กับความยั่งยืน
ภาพรวม
การกำกับดูแลความยั่งยืน
การพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน
การสร้างโอกาสร่วมกับพนักงาน
การขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน
การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปฏิทิน & กิจกรรม
ปฏิทินวันหยุด
ปฏิทินกิจกรรม
Media Center
จับปลอมหลอกลงทุน
หน้าหลัก
ความรู้และวิจัย
ความรู้
วางแผนเรื่องเงิน
...
วางแผนเตรียมทำงาน
วางแผนเรื่องเงิน
เตรียมทำงาน
หน้าแรก
โครงการ
คลังความรู้
เครื่องมือ
SET Fin Quizz
Happy Money พี่เลี้ยงการเงิน
Happy Money @ Workplace
Happy Money @ School & Campus
Happy Money, Happy Young Old
Happy Money, Happy Jobbers
หน้าหลักคลังความรู้
คลังความรู้ทั้งหมด
แพ็กเกจความรู้
โปรแกรมคำนวณ
Happy Money App
“เงินเดือนก้อนแรก บริหารจัดการอย่างไรดี?"
“เพิ่งเริ่มทำงาน รายได้ยังไม่มาก จะเริ่มเก็บเงินได้อย่างไร?”
“เงินเดือนเท่าไหร่ ถึงจะต้องวางแผนภาษี?”
ในที่สุด...
วันที่ก้าวพ้นสภาพพี่ใหญ่ในรั้วมหาวิทยาลัยออกมาเป็นน้องเล็กในชีวิตจริงก็มาถึงแล้ว ชีวิตนับจากนี้เราจะต้องเป็นคนขีดเส้นทางเดินของเราเอง เพราะไม่เพียงแต่สารพัดความรับผิดชอบเท่านั้นที่รออยู่ แต่ยังมี “ความท้าทาย” ใหม่ ๆ และ “หลุมพรางทางการเงิน” อันแสนเย้ายวน รออยู่ในทุก ๆ ย่างก้าว ที่เราจะต้อง
“รู้ทันและจัดการให้เป็น”
แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะชีวิตจะกลายเป็นเรื่องง่าย โดยเฉพาะเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ
ถ้าทำตาม
“4 Steps เริ่มต้นวางแผนดี ชีวิตไม่ติดลบ”
ใช้เงินเดือนก้อนแรกให้คุ้มค่าที่สุด
เมื่อได้ “งานในฝัน” แล้ว สิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อไป คือ ต้องเริ่ม “ติดอาวุธ” ทางการเงิน ด้วยการจัดสรรปันส่วนเงินออมและค่าใช้จ่าย หรือเรียกว่า
การตั้งงบประมาณ
ว่าในเดือนนี้จะใช้จ่ายอะไรไม่เกินเท่าไหร่ เพื่อป้องกันไม่ให้รายได้ก้อนแรก และก้อนต่อ ๆ ไปหมดลงโดยไม่รู้ตัว จากนั้นก็แค่
ใช้จ่ายตามงบที่ตั้งไว้
และ
จดบัญชีรับจ่ายทุกวัน
ยิ่งถ้าเงินไม่พอใช้ การกลับมาย้อนดูนิสัยใช้เงินของตัวเองและบริหารจัดการเงินในเดือนต่อ ๆ ไปยิ่งง่ายขึ้น เช่น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น นำเงินออมที่มีอยู่มาชดเชยส่วนที่ขาด หรือทำงานเสริมเพิ่มรายได้
Tips
“ติดอาวุธทางการเงิน"
ด้วยการจัดสรรปันส่วนเงินออมและค่าใช้จ่าย
ในวัยเริ่มทำงาน ถ้าได้รู้จักอีกหนึ่งอาวุธการเงินสำคัญ คือ
งบดุลส่วนบุคคล
จะช่วยให้เส้นทางชีวิตต่อจากนี้เดินทางเข้าใกล้ความมั่งคั่งได้ง่ายขึ้น เพราะช่วยให้เราได้
สำรวจและบันทึกมูลค่าทรัพย์สินที่มีและยอดหนี้สินคงค้างทั้งหมดของชีวิตเรา
เมื่อนำทรัพย์สินหักลบด้วยหนี้สิน ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความมั่งคั่งที่แท้จริงของเรานั่นเอง จะเห็นว่า
ถ้าอยากรู้ว่า “รวย หรือ จน” แค่ไหน วัดเป็นตัวเงินได้ด้วยการทำงบดุล
ยิ่งเดี๋ยวนี้มีแอปพลิเคชันบริหารจัดการเงินมากมายให้เลือกใช้บนมือถือ ทำให้สะดวกขึ้นสุด ๆ เพราะเราสามารถตั้งเป้าหมายการออม ตั้งงบก่อนใช้จ่าย จดรับ-จ่าย หรือ แม้แต่บันทึกงบดุลได้ทุกที่ทุกเวลา
Happy Money App ตัวช่วยบริหารเงิน
ทำความรู้จัก Happy Money App
เด็กจบใหม่ ออมอย่างไร ถ้าเงินเดือน 15,000 บาท
อ่านบทความเพิ่มเติม
ใช้สวัสดิการใกล้ตัว ได้ประโยชน์กว่าที่คิด
ลองศึกษาและวางแผนใช้สวัสดิการใกล้ตัว ทั้งด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และด้านการเงิน ยิ่งเริ่มตั้งแต่เข้างาน วันแรกยิ่งดี เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มสิทธิ โดยเฉพาะสวัสดิการออมในที่ทำงาน ที่จะช่วยสร้างหลักประกันที่มั่นคงในชีวิตปัจจุบันและอนาคตได้ เช่น
จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
สิทธิประโยชน์เป็นหลักประกันพื้นฐาน 7 กรณีสำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ซึ่งจะมีเงื่อนไขการใช้สิทธิและสิทธิประโยชน์ ขึ้นอยู่กับ
ประเภทของผู้ประกันตนและระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนไข
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) ได้รับดวามคุ้มครอง 6 กรณี
ผู้ประกันตนนอกระบบ (มาตรา 40) ได้รับความคุ้มครอง 3 กรณี เมื่อสมัครทางเลือกที่ 1 ได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี เมื่อสมัครทางเลือกที่ 2 และได้รับความคุ้ม
ครอง 5 กรณี เมื่อสมัครทางเลือกที่ 3
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานประกันสังคม
สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD)
ได้แบ่งเงินไปลงทุนทุกเดือน แถมนายจ้างก็สมทบเงินลงทุนให้ด้วย มีข้อดีที่เจ๋งสุด ๆ ตรงที่จะช่วยสร้างวินัยลงทุนระยะยาว เพื่อให้มีเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ อีกทั้ง เงินสะสมนำไปใช้ลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้ แถมยังมีมืออาชีพช่วยบริหารจัดการกองทุน PVD ให้ ที่สำคัญคือ เราควรเลือกนโยบายการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
สมัครสหกรณ์ออมทรัพย์
แบ่งเงินออมก่อนใช้ทุกเดือน แถมดอกเบี้ยเงินฝากและ เงินปันผลจากหุ้นสหกรณ์ไม่ต้องเสียภาษี นอกจากนี้ ยังมีบริการเงินฝากดอกเบี้ยดี ๆ และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ๆ สำหรับสมาชิกอีกด้วย
แต่ไม่ว่าจะออมมาก ออมน้อย ขอแค่อย่าเบียดเบียนตัวเอง ออมตามกำลังดีที่สุด อย่างน้อยรวมทุกแหล่งเงินออมได้
10% ของรายได้ต่อเดือน
ก็ยังดี เพียงเท่านี้ เราก็จะมีตัวช่วยเก็บเงินช่วงแรก ๆ เพื่อที่จะใช้เวลาทำงานและพัฒนาทักษะตัวเองอย่างเต็มศักยภาพ
วันนี้คุณใช้สิทธิของมนุษย์เงินเดือนคุ้มแล้วหรือยัง
อ่านบทความเพิ่มเติม
ใช้เงินให้ถูกทาง ด้วยการวางแผนภาษี ประกัน และเกษียณ
รู้หรือไม่ว่า...
หากเป็นบุคคลธรรมดามีรายได้ 120,000 บาทต่อปี ก็ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการกับกรมสรรพากรแล้ว แต่อย่าเพิ่งตกใจไป ขอแค่เริ่มศึกษาขั้นตอนวางแผนภาษี เพราะเพียงแค่รู้หลักการ เราก็จะเสียภาษีได้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป
แถมยิ่งใช้สิทธิลดหย่อนภาษีมาก เงินได้สุทธิที่นำไปคำนวณภาษียิ่งลดลง ก็จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลงอีกด้วย
เริ่มต้นวางแผนภาษี
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กรมสรรพากร
พอทำงานผ่านไประยะหนึ่ง จะเริ่มเห็นว่า
การสร้างความมั่นคงให้ชีวิต
ในแต่ละด้านเป็นสิ่งจำเป็น
จึงควรแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาจัดการความเสี่ยงในชีวิตด้วย
การซื้อประกัน
ให้เหมาะสม เช่น ประกันชีวิตตลอดชีพ ที่มีสัญญาเพิ่มเติมเป็นประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ ซึ่งเราควรทำประกันตั้งแต่อายุน้อยและยังแข็งแรงอยู่ ก่อนจะสายเกินไป จนต้องเสียเงินออมก้อนใหญ่
ไปกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
เริ่มต้นวางแผนประกัน
นอกจากนี้ หากเริ่มวางแผนเกษียณได้เร็วก็ยิ่งดี
เพราะต้องเตรียมเก็บเงินก้อนใหญ่เป็นล้าน ๆ ไว้ใช้หลังเกษียณไปอีก 20 – 30 ปี อีกทั้ง
คนอายุน้อย มีระยะเวลาออมนาน จะช่วยให้เงินที่เราต้องนำมาออมต่อเดือนลดลง
ยิ่งถ้ารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้สูง ก็จะมีช่องทางและเทคนิคการออมการลงทุนให้เลือกมากมายอีกด้วย
เริ่มต้นวางแผนเกษียณ
ใช้เงินทำงาน ความมั่งคั่งจะทวีคูณ
การลงทุนลงแรงไปกับอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ อาจเป็นวิธีที่วัยเริ่มทำงานคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่การลงทุนเรื่องการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคุณวุฒิทางวิชาชีพ ปริญญาโท ปริญญาเอก หรือทักษะที่เป็น Soft Skills ต่าง ๆ ก็จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของเราให้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้เช่นกัน
บินไปเรียนภาษาที่ต่างประเทศโดยไม่ต้องลำบากพ่อแม่
อ่านบทความเพิ่มเติม
เก็บเงินเรียนต่อ ป.โท เองก็ได้ ง่ายนิดเดียว
อ่านบทความเพิ่มเติม
ที่สำคัญ เมื่ออุตส่าห์ทำงานอดออมจนมี
“เงินออมก้อนเล็ก ๆ” สักก้อน อย่าลืมคิดถึงเรื่องการลงทุนเพื่อสร้างรายได้และดอกผลในอนาคต
หรือถ้าเราต้องการเพิ่มเงินลงทุนให้มากขึ้น ก็เพียงแค่ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ค่าซื้อเสื้อผ้า ค่ากินข้าวสังสรรค์กับเพื่อน ๆ เราก็จะมีเงินเหลือไปลงทุนเพิ่มได้แน่นอน
ออมก่อนรวยกว่า
แค่เปลี่ยนจากค่าใช้จ่ายเป็นเงินลงทุน
ช่วยให้อนาคตทางการเงินสดใส มีเงินเป็นแสน เป็นล้าน ได้ไม่ยาก !!
แต่ขอย้ำว่า
การเริ่มต้นจริง ๆ ของการลงทุน ไม่ใช่มีแค่เงิน แต่ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจ
โดยต้องเข้าใจตัวเอง
เข้าใจความเสี่ยงของการลงทุน และเข้าใจสิ่งที่จะลงทุน
เพราะถ้าเริ่มจากความไม่เข้าใจ บอกได้เลยว่า การลงทุนในครั้งนี้อาจทำให้เงินที่อุตส่าห์อดออมมาตั้งนานหมดไปในเวลาไม่นานได้
“เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อาจเป็นเรื่องใหม่และท้าทาย เพราะเมื่อเริ่มทำงาน ก็ต้องเริ่มจัดการเงิน
การค่อย ๆ ศึกษาและเคลียร์ทีละขั้น ชีวิตเราก็เริ่มต้นได้สวย ๆ
”
ศึกษาวิธีสร้างรายได้
ความรู้แนะนำ
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง