วางแผนเรื่องเงิน

หนี้สิน

“อยากหลุดพ้นจากหนี้สิน ต้องเริ่มอย่างไร?”
“อยากจัดการภาระที่ต้องจ่ายหนี้แต่ละเดือนให้ลดลง มีวิธีการใดบ้าง?”
หากวันนี้... เรากำลังถูกภาระหนี้สินรุมเร้า ทำให้สุขภาพทางการเงินกระท่อนกระแท่น เช่น เงินเดือนออกมา 25,000 บาท แต่ต้องกันเงินไว้จ่ายหนี้บัตรเครดิต ผ่อนรถ สินเชื่อส่วนบุคคล เบ็ดเสร็จแล้วเดือนละ 20,000 บาท เลิกคิดไปได้เลยที่จะเหลือไว้ออม เพราะยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้เงินแค่ 5,000 บาท เผลอ ๆ ใช้ได้ไม่ถึงครึ่งเดือนก็เกลี้ยงกระเป๋า จนต้องไปกู้ยืมเงินมาเสริมสภาพคล่องเพื่อใช้ให้ชนเดือน

นี่เป็นสัญญาณร้ายที่กระพริบเตือนว่า สุขภาพทางการเงินของเราอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่เต็มที ฉะนั้น สิ่งที่ควรลงมือทำในวันนี้คือ จัดการกับต้นเหตุอย่างจริงจังเสียที หลายคนอาจจะรู้สึกว่า... การปลดหนี้นั้นยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา แต่เชื่อเถอะว่าไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ ค่อย ๆ ปลดเปลื้องไปทีละนิด จะได้สัมผัสความรู้สึกว่าการยกภูเขาออกจากอกนั้นเป็นอย่างไร

 ใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองทำตาม
“4 Steps หมดหนี้ มีออม”
1 ตั้งสติ หยุดก่อหนี้เพิ่ม
ถ้าในแต่ละเดือนต้องจ่ายหนี้เดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่เงินเดือนแค่ 25,000 บาท นั่นเท่ากับว่าสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ “ประกาศเป็นศัตรูกับหนี้ทุกประเภท” เช่น “อยากได้มือถือรุ่นใหม่ใจจะขาด ถ้าผ่อนรายเดือนก็มีหนี้เพิ่มอีกแค่เดือนละ 2,000 บาทเท่านั้นเอง” อย่าคิดก่อหนี้เด็ดขาด... ถ้ามัวแต่คิดแบบนี้เราก็จะก้าวไม่พ้นจากกับดักแห่งหนี้แน่นอน

หนทางที่จะปลดเปลื้องหนี้ได้ ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า ไม่ว่าหนี้หน้าไหนก็อย่าได้ไปข้องแวะด้วย จะเป็นหนี้นอกระบบหรือในระบบ จะก้อนเล็กหรือใหญ่ก็ช่าง รวมถึงหยุดกู้เงินก้อนนั้น มาโปะหนี้ก้อนนี้ เพราะมีแต่จะทำให้หนี้ยิ่งเพิ่ม ซึ่งถ้าผ่านด่านแรกนี้ไปได้ ประตูสู่อิสรภาพทางการเงินก็เปิดรอแล้ว

นอกจากนี้ “ควรสรุปหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่” เพื่อให้รู้ว่าเรามีหนี้ทั้งหมดเท่าไหร่? แต่ละเดือน
ต้องชำระหนี้เท่าไหร่? หนี้ก้อนไหนเสียดอกเบี้ยเยอะสุด? จะได้จัดลำดับความสำคัญ
เพื่อวางแผนชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
static8_1
ตั้งสติ หยุดก่อหนี้เพิ่ม _d
ตั้งสติ หยุดก่อหนี้เพิ่ม _m
icon link static 1
เทคนิครวมหนี้ แก้ปัญหาหนี้ให้อยู่หมัด
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
6 วิธีหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้
อ่านบทความเพิ่มเติม next
2 วางแผนชำระหนี้อย่างฉลาด
หยุดสร้างหนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้อง “รัดเข็มขัด” รู้จักใช้จ่ายให้เป็น ควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รีดค่าใช้จ่ายที่เป็นไขมันส่วนเกินออกให้มากที่สุด เรียกว่าในพจนานุกรมของเราต้องมีแต่คำว่า “ประหยัด” และ “มัธยัสถ์” พร้อมลบคำว่า “ฟุ้งเฟ้อ” และ “ไม่จำเป็น” ออกไปโดยเร็ว

“การเปลี่ยนนิสัยใช้จ่าย” เป็นเรื่องใกล้ตัวสุด และเราสามารถควบคุมได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง  ดังนั้น ในช่วงจัดการหนี้ ควร “ลด ละ เลิก” พฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแบบเดิม ๆ ซะ เชื่อสิว่าช่วยได้เยอะทีเดียว

จากนั้น ก็ได้เวลามุ่งมั่นกำจัดหนี้ก้อนเก่าอย่างตั้งใจจริง ถ้าเป็นหนี้ก้อนใหญ่ เราอาจต้องตั้งสติให้มั่นหาวิธีปลดหนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น ถ้าเป็นหนี้นอกระบบก็อาจต้องหาทางกู้จากสถาบันการเงินในระบบเพื่อนำเงินไปปลดหนี้ก้อนนี้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้น้อยลง จากนั้นค่อยมาผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน ซึ่งคำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยให้พ้นจากการเป็นหนี้ได้
static8_2
static8_3
นำเงินไปชำระหนี้ “ตามลำดับความสำคัญ”  
โดยอาจ “ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุดก่อน” เช่น หนี้นอกระบบ หนี้บัตรเครดิต เพื่อลดภาระที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนให้น้อยลง หรือ “ชำระหนี้ที่ยอดค้างชำระเหลือน้อยก่อน” เพื่อลดจำนวนเจ้าหนี้ให้น้อยลง ช่วยสร้างกำลังใจในการปลดหนี้ และ “ห้ามหนีหนี้” อย่างเด็ดขาด 
static8_4
พยายามหาเงินเพิ่ม เพื่อไป “ชำระหนี้เพิ่ม” 
โดยเริ่มจาก “การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น” เพื่อให้มีเงินเหลือไปชำระหนี้ได้มากขึ้น หรือลอง “หางานเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อเพิ่มเงินสภาพคล่องในแต่ละเดือนและจะได้มีเงินโปะหนี้เพิ่ม หรือวิธีสุดท้าย “ขายทรัพย์สินออกไปเพื่อชำระหนี้” เพื่อหยุดภาระดอกเบี้ยก้อนโต แล้วค่อยวางแผนซื้อทรัพย์สินใหม่เมื่อปลดหนี้ได้แล้วและมีความพร้อมทางการเงินมากขึ้น
static8_5
รีไฟแนนซ์ (Refinance) หาแหล่งเงินก้อนใหม่ ไป “ปิดหนี้ก้อนเก่า”  
เช่น หากเรากำลังผ่อนบ้าน ก็ควรศึกษาเงื่อนไขการรีไฟแนนซ์ของธนาคารต่าง ๆ เพื่อลดภาระหนี้ ก่อนหมดช่วงโปรโมชันลดอัตราดอกเบี้ยหรือก่อนเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) และนำมาเทียบกับเงื่อนไขของธนาคารที่เราใช้อยู่ แต่ก็ต้องไม่ลืมคำนวณค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการรีไฟแนนซ์ เพื่อประเมินให้รอบคอบว่าคุ้มค่าหรือไม่
icon link static 1
จำเป็นไหมต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก ๆ 3 ปี
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
เทคนิคการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต
อ่านบทความเพิ่มเติม next
3 หาที่ปรึกษา
อย่าเก็บปัญหาทั้งหมดไว้คนเดียว ต้องพูดคุยกับคนในครอบครัว รวมทั้งปรึกษาผู้มีประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกฎหมาย เพื่อหาทางรับมือกับปัญหาและเตรียมแนวทางแก้ไข เช่น คลินิกแก้หนี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้แทนเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบการทางการเงินทุกรายของลูกหนี้อย่างครบวงจร 
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกแก้หนี้
4 เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ 
จริง ๆ แล้ว ระหว่างปรึกษาเรื่องวางแผนชำระหนี้ เราอาจมีหนทางเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เพื่อขอลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือน ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือขอข้อเสนอพิเศษอื่น ๆ โดยมี 2 กระบวนการหลักที่เรานำไปปรับใช้ได้
1.    เจรจาประนอมหนี้
เพื่อให้ภาระที่ต้องจ่ายต่อเดือนลดลง เช่น ขอลดยอดหนี้ลงบางส่วน ขอขยายเวลาการชำระหนี้ 1 – 2 ปี  ขอลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละงวด เป็นต้น
2.    แฮร์คัต (Hair-cut) 
เพื่อขอตัดหนี้หรือลดหนี้ โดยแลกกับการจ่ายคืนหนี้ครั้งเดียวเป็นก้อนให้ทันทีแล้วจบกันไป 
ทางที่ดี... ก่อนที่จะตัดสินใจเจรจาประนอมหนี้หรือทำแฮร์คัต เราต้องเรียนรู้รายละเอียดและข้อควรระวังต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้สิ่งที่คิดว่าเป็นการได้เปรียบกลับกลายมาเป็นการเอาเชือกมารัดคอเราเองในภายหลัง
static8_6
icon link static 1
เจรจาประนอมหนี้… ทางออกดี ๆ ที่ลูกหนี้ควรรู้ 
อ่านบทความเพิ่มเติม next
การมีหนี้สินไม่ใช่ตราบาปในชีวิต หากรู้จักวิธีสร้างเกราะป้องกันหนี้สินด้วยวัคซีนสร้างภูมิด้านบริหารจัดการให้เป็น เริ่มต้นเรียนรู้และเลือกใช้ประโยชน์จากการสร้างหนี้สินที่ดี เพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงโดยไม่มีหนี้สินเกินตัว

ความรู้แนะนำ 
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง