วางแผนเรื่องเงิน

ซื้อทรัพย์สิน

“อยากมีชีวิตมั่นคง” 
“มีบ้านมีรถเป็นของตัวเอง เริ่มต้นยังไงดี?” 
เมื่อถึงวัยสร้างความมั่นคงให้ชีวิต ก็มักคิดถึงการซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ซึ่งบ้านและรถยนต์อาจเป็นเป้าหมายแรก ๆ  ที่จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่ ๆ  ถ้าเริ่มวางแผนการเงินอย่างรอบคอบเพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น 

หากจะว่ากันไป... ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถซื้อบ้านด้วยเงินสดก้อนโตได้อย่างสบาย ๆ  จึงมีคนจำนวนมากที่ต้องประหยัดอดออมเพื่อเก็บเงินดาวน์บ้าน และพึ่งเงินกู้จากสถาบันการเงินที่ต้องมีระยะเวลาผ่อนชำระไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่ยาวนาน 10 - 30 ปีเลยทีเดียว 

ดังนั้น... เราควรรู้จักการเป็นหนี้ให้ถูกวิธี
“3 Steps เตรียมความพร้อม ก่อนใช้สินเชื่อซื้อทรัพย์สิน”
static7_1
1 หยุดคิดสักนิด ก่อนคิดเป็นหนี้
ลองถามตัวเองก่อนว่าพร้อมที่จะรับภาระจากการมีบ้าน มีรถ มีของใช้แพง ๆ แล้วหรือยัง ทั้งภาระการผ่อนชำระที่ยาวนาน และภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าดูแลรักษา ค่าประกัน ค่าตกแต่ง ฯลฯ  

“กู้วันนี้... ดอกเบี้ย 0% นาน 15 เดือน” หรือ “ต้องการเงินสดด่วน เราช่วยได้” สารพัดสารพันสิ่งล่อใจที่พร้อมจะดึงให้เราก้าวสู่วงจรแห่งหนี้ มารู้ตัวอีกทีก็หลวมตัวกู้ไปเสียแล้ว หากไม่อยากให้หนี้สร้างปัญหาให้ในอนาคต ลองหยุดคิดและใช้ Checklist ถามตัวเองก่อนก่อหนี้ ดังนี้
static7_m
Group 17870
ถ้าคำตอบของใครเป็นข้อ A ทั้งหมด แสดงว่าการก่อหนี้ครั้งนี้... มีเหตุผลมากเพียงพอ และไม่น่าจะมีปัญหาทางการเงินในอนาคต 
icon link static 1
รู้เท่าทัน ดอกเบี้ยเงินกู้ 
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
เครดิตบูโร... ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
อ่านบทความเพิ่มเติม next
2 รู้ก่อนกู้ซื้อทรัพย์สิน 
ในยุคที่ “หนี้” กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่ “การมีหนี้” จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรงอีกต่อไป หากรู้จักควบคุมหนี้ให้พอเหมาะพอดี เพราะ “หนี้” ไม่ต่างอะไรกับไขมันในเส้นเลือด หากปล่อยให้มีมากเกินไป ย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ทางการเงิน) ของตัวเราเอง ลองมาดูกันว่า... ในแต่ละเดือน เราควรชำระหนี้ประมาณเท่าไหร่จะได้ไม่เป็นภาระมากจนเกินไป 
Group 7871 หนี้บัตรเครดิต พยายามควบคุมการรูดบัตรและการชำระหนี้อื่น ๆ อย่างสินเชื่อส่วนบุคคลหรือผ่อนสินค้า ไม่ให้เกิน 10% - 20% ของรายได้ต่อเดือน 
Group 7871 หนี้ผ่อนบ้าน เงินผ่อนบ้านในแต่ละเดือนไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน แต่ถ้าไม่มีภาระหนี้สินอื่น ๆ ก็สามารถเพิ่มเป็น 35 - 45% ได้ เพราะยิ่งผ่อนมาก ก็ยิ่งประหยัดดอกเบี้ยได้มาก และหนี้ก็ยิ่งหมดเร็วเท่านั้น 
Group 7871 หนี้ผ่อนรถ เงินผ่อนรถในแต่ละเดือน ควรอยู่ราว ๆ 20% ของรายได้ต่อเดือน หากมากกว่านี้อาจหนักเกินไป 
Group 7871 หนี้สินรวม ไม่ว่าจะกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ เป็นหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สายพันธุ์ไหนก็ตาม ไม่ควรให้เงินที่ต้องจ่ายหนี้ทั้งหมดเกินกว่า 35 - 45% ของรายได้ต่อเดือน 
บัตรเครดิต
ปัจจุบันการใช้บัตรเครดิตสำหรับจับจ่ายใช้สอยแทนเงินสด เป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว เพราะมีช่วงปลอดดอกเบี้ยกว่า 45 – 55 วัน แต่สิ่งสำคัญคือ ไม่ควรใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้ามากเกินไปจนเป็นภาระและกลายเป็นต้องจ่ายขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ เพราะมีข้อควรระวังสุด ๆ คือ วิธีคิดดอกเบี้ยของบัตรเครดิต
แม้บัตรเครดิตจะคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก แต่ในกรณีที่เราผิดนัดชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวน ก็จะมีการคิดดอกเบี้ยแบบรายวันตั้งแต่วันแรกที่รูดซื้อของชิ้นนั้น ๆ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้หนี้บัตรเครดิตก่อให้เกิดปัญหาการเงินในอนาคต ควรจ่ายตรงเวลา และจ่ายเต็มจำนวน จึงจะดีที่สุด 
static7_2
icon link static 1
บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล เลือกยังไงให้เหมาะสม
อ่านบทความเพิ่มเติม next
บ้านเพื่ออยู่อาศัย
มักจะเป็นเป้าหมายชีวิตที่สำคัญสำหรับพวกเรา เพราะเมื่อไหร่ที่ผ่อนหมด และได้เป็นเจ้าของบ้านอย่างแท้จริงแล้ว ความมั่นคงก็จะเกิดขึ้นกับเราและครอบครัว ดังนั้น การเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านหลังแรกจึงเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่เราต้องไตร่ตรองและวางแผนอย่างรัดกุม 
static7_5
ซื้อบ้านอย่างไรให้มีความสุข
static7_6
เทคนิคกู้ธนาคาร ทำแบบนี้ที่ไหนก็ให้ผ่าน
อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแบบลดต้นลดดอก ดังนั้น ภาระหนี้บ้านระยะยาวก็สามารถหมดได้ไวขึ้น หากเราเลือกจ่ายเงินดาวน์เยอะ ๆ เมื่อทำสัญญากู้ และวางแผนโปะเงินงวดเพิ่ม เมื่อมีกำลังจ่ายมากขึ้น
icon link static 1
โปรแกรมคำนวณคิดเงินผ่อนก่อนซื้อบ้าน
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณ next
static7_7
รถยนต์
เป็นความฝันลำดับต้น ๆ ของหนุ่มสาวสมัยนี้ แต่การจะเดินตามความฝันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะติดที่หลายคนไม่ได้มีเงินถุงเงินถัง แถมกระเป๋าสตางค์ก็ยังไม่หนาเท่าไหร่กว่าจะถอยรถออกมาใช้ได้ อาจต้องใช้เวลาเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมปัจจัย (สตางค์) อยู่นานสองนาน
เอาเป็นว่าก่อนตัดสินใจจะซื้อรถสักคัน ลองชั่งน้ำหนักดูก่อนว่า “แค่อยากได้” หรือ “จำเป็นต้องใช้” ถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่าพร้อมแล้วที่จะเป็นเจ้าของรถจริง ๆ หากตกลงปลงใจจะซื้อรถแน่แล้ว... ก็ต้อง “ศึกษาหาข้อมูล” เกี่ยวกับรถในด้านต่าง ๆ ให้ดี พิจารณาอย่างถ้วนถี่เพื่อเลือกซื้อรถให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเราจริง ๆ 
icon link static 1
ก่อนซื้อรถ ต้องรู้อะไรบ้าง?
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
ค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับรถยนต์คันใหม่
อ่านบทความเพิ่มเติม next
และเมื่อเราต้องพึ่งเงินกู้จากไฟแนนซ์ ข้อคิดอีกอย่างหนึ่งสำหรับการเป็นหนี้คือ ไม่ควรเลือกระยะเวลากู้ที่นานเกินไป ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกผ่อนระยะสั้นเข้าไว้ เช่น ผ่อนภายใน 1 - 2 ปี จะช่วยลดดอกเบี้ยลงได้มาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถเป็นแบบคงที่ (Flat Rate) คือ คิดรวมดอกเบี้ยกับเงินต้นเข้าด้วยกัน แล้วค่อยแบ่งออกเป็นรายงวด นั่นหมายถึงว่า ยิ่งเราเลือกระยะเวลาการกู้แบบผ่อนจ่ายนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งแบกภาระดอกเบี้ยหนักขึ้นเท่านั้น
icon link static 1
โปรแกรมคำนวณคิดเงินผ่อนก่อนซื้อรถ
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณ next
3 กู้แล้วต้องจัดการหนี้ ให้หมดไว
ทางที่ดี...ถ้ายังไม่เป็นหนี้ ก็อย่าพยายามสร้างหนี้ แต่เมื่อหลวมตัวเป็นหนี้ไปแล้ว ก็พยายาม ควบคุมหนี้ทุกประเภทอย่าให้เกิน 35 - 45% ของรายได้ต่อเดือน และเมื่อมีความสามารถในการผ่อนชำระมากขึ้น ควรรีบวางแผนปลดหนี้ให้หมดโดยเร็วที่สุด ซึ่งมีวิธีการและเทคนิคอีกมากมายที่เราสามารถเรียนรู้ได้ เพื่อให้การก่อหนี้แต่ละครั้งของเรานั้น นำมาแต่เรื่องดี ๆ ไม่เป็นหนี้พอกพูนให้กลุ้มใจอีกต่อไป
static7_8
โดยสรุป “การมีหนี้” ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้คนเราไม่ร่ำรวย เพราะในโลกนี้มีทั้งหนี้ที่สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับสุขภาพทางการเงิน (หนี้ดี) เช่น หนี้ซื้อบ้านเพื่อความมั่นคงของครอบครัว หนี้ซื้อรถเพื่อใช้ประกอบอาชีพ และหนี้ที่ไม่สร้างสรรค์ แถมบั่นทอนสุขภาพทางการเงิน (หนี้ไม่ดี) แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า... เราเลือกสร้างหนี้ประเภทไหนให้กับชีวิตของเราต่างหาก

ความรู้แนะนำ 
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง