มาเขียนเรื่องเกษียณอายุตอนต้นปี ก็อาจช้าไปนิด เพราะบริษัทส่วนใหญ่มักจะเกษียณอายุตอนสิ้นปีปฏิทิน ส่วนข้าราชการจะเกษียณวันที่ 1 ตุลาคม แต่เรื่องที่อยากคุยวันนี้อาจไม่เกี่ยวกับการเกษียณอายุของข้าราชการ แต่เป็นเรื่องของลูกจ้าง กับ นายจ้างเกี่ยวกับเรื่องเกษียณอายุ
ตามกฎหมาย การเกษียณอายุการทำงานถูกกำหนดไว้ตามมาตรา 118/1 ความว่า
“การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง”
“การเกษียณอายุ” หมายความว่า กำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน เนื่องจากลูกจ้างมีอายุเกินกว่าที่นายจ้างจะจ้างไว้ทำงานหรือมากเกินกว่าที่ลูกจ้างจะรับทำงานนั้นต่อไป ซึ่งการเกษียณอายุอาจเกิดจากกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดขึ้นไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหรือในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ได้ หรืออาจเกิดจากกรณีที่นายจ้างได้กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือประกาศของนายจ้างเกี่ยวกับการทำงานก็ได้
การเกษียณอายุหรือการที่ลูกจ้างออกจากงานเนื่องจากมีอายุครบตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ จึงถือว่าเป็น “การเลิกจ้าง” นายจ้างจึงมีหน้าที่ ต้องจ่าย “ค่าชดเชย” ให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 118 วรรคหนึ่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 กำหนดว่า
“ค่าชดเชย” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง”
เมื่อพิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องข้างต้น “ค่าชดเชย” เป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด แต่ถ้าลูกจ้างลาออกจากงาน ทิ้งงาน หรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด โดยพฤติการณ์ที่ถือเป็นการเลิกจ้าง มี 2 กรณี คือ
เมื่อการเกษียณอายุ ถือว่าเป็น “การเลิกจ้าง” เมื่อถือว่าเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างจึงมีหน้าที่ ต้องจ่าย “ค่าชดเชย” ให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามอัตราที่มาตรา 118 วรรคหนึ่งกำหนดไว้แล้วแต่กรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ดังนี้
กรณีอายุงานไม่ถึง 5 ปี
กรณีอายุงานเกิน 5 ปีขึ้นไป
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกษียณอายุเท่ากับเลิกจ้างจึงได้รับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ภาระทางภาษีของเงินชดเชยกรณีเกษียณกลับแตกต่างจากกรณีเลิกจ้าง ดังนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง