แม้ว่าการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน แต่อย่างไรก็ตามทุกคนก็อยากจะเสียภาษีอย่างถูกกฎหมายให้น้อยที่สุด วิธีที่คนส่วนใหญ่ใช้กันมากสำหรับการประหยัดภาษี ก็คือ การใช้สิทธิค่าลดหย่อน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ RMF ประกันชีวิต หรือล่าสุดก็คือ การซื้อสินค้าบริการในโครงการ Easy E-Receipt ที่ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 50,000 บาท ซึ่งหมดเขตไปแล้วเมื่อ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา
อีกกลยุทธ์หนึ่งที่มีประสิทธิผลมากในการประหยัดภาษี แต่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงกันมากเท่าไหร่ ก็คือ การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กล่าวคือ มีเงินได้บางประเภทที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว โดยผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้ เราเรียกเงินประเภทนี้ว่า Final Tax หรือ ภาษีสุดท้าย
โดยทั่วไปเมื่อเรามีเงินได้ มักจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ จะได้เสียภาษีน้อยลงตอนยื่นแบบภาษีเงินได้ และยังเป็นวิธีที่สรรพากรใช้ในการได้มาซึ่งข้อมูลเงินได้นั่นเอง ดังนั้น การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้หมายความว่าเราเสียภาษีถูกต้องเรียบร้อยแล้ว แต่หมายถึง เรายังต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณและยื่นภาษีทั้งหมด หากมีภาษีที่จะต้องเสียเท่าไหร่ เราก็หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เสียไปแล้วออกนั่นเอง
แต่สำหรับเงินได้ประเภทภาษีสุดท้าย เมื่อเราเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว เราสามารถเลือกได้ว่าจะเอาเงินได้นั้นมารวมคำนวณเงินได้ปลายปีเพื่อเสียภาษีหรือไม่ ถ้าเอามารวมแล้ว เราต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เราก็ไม่ควรเอามารวม แต่ถ้ารวมแล้ว เราเสียภาษีลดน้อยลง หรือขอคืนภาษีได้มากขึ้น เราก็ควรเอามารวม เราคงอยากรู้แล้วนะว่า เงินได้ประเภทภาษีสุดท้ายมีอะไรบ้าง
เงินได้ประเภทภาษีสุดท้าย หลักๆ มี 3 ประเภท และมีอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
แต่ก็มีเงินได้บางอย่างที่ไม่ใช่เงินได้ประเภทภาษีสุดท้าย แต่สรรพากรก็ให้สิทธิผู้มีเงินได้ในการเลือกวิธีเสียภาษีได้ อย่างเช่น
(1) ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษี
(2) สามีและภริยาจะตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดย
(ก) ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ หรือ
(ข) จะแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมิให้ถือเอาเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้
แต่ถ้ามีภาษีค้างชำระ สามีและภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้น
แล้วอย่างนี้ เราควรเลือกเอาเงินได้ที่กล่าวมาแล้วมารวมคำนวณเงินได้ปลายปีเพื่อเสียภาษีหรือไม่ เราก็สามารถตัดสินใจได้ โดยลองกรอกข้อมูลเงินได้ดังกล่าวในโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เทียบระหว่างรวมกับไม่รวมคำนวณ หรือ กรณีสามีภรรยา เทียบระหว่างยื่นรวมกับยื่นแยก อย่างไหนเสียภาษีน้อยกว่าก็เลือกอย่างนั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง