อาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่มากขึ้น ก็คือ อาชีพฟรีแลนซ์ (Freelance) เหตุผลสำคัญที่ทำให้อาชีพฟรีแลนซ์ได้รับความนิยม น่าจะเป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามาทดแทนตำแหน่งงานต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ความมั่นคงของการเป็นมนุษย์เงินเดือนลดน้อยลง ขณะเดียวกันด้วยภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แรงงานบางส่วนจึงหารายได้เสริมด้วยการรับงานฟรีแลนซ์
ฟรีแลนซ์ (freelance หรือ feelancer) ตามข้อมูลในวิกิพีเดีย คือ ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ ที่ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงาน หรือองค์กร หรือบริษัทใด ๆ พนักงานฟรีแลนซ์จะต้องจัดตารางเวลาการทำงานของตนเอง การรับเงินจากนายจ้าง ก็จะเป็นลักษณะใดก็แล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความพึงพอใจของทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง
ในปัจจุบัน พนักงานบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้รักอิสระ หันมารับจ้างเป็นฟรีแลนซ์มากกว่า 20% เนื่องจากความชอบส่วนตัวในการใช้ชีวิต หรือลักษณะการทำงานของผู้จ้าง ซึ่งการทำงานของผู้จ้างจะแตกต่างกันไป
เมื่อฟรีแลนซ์มีรายได้ ฟรีแลนซ์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในฐานะฟรีแลนซ์ด้วยเช่นกัน ส่วนจะเสียภาษีอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าเงินได้ของฟรีแลนซ์เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด โดยนอกจากต้องพิจารณาถึงลักษณะของงานที่ทำแล้ว ยังต้องพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ของฟรีแลนซ์ประกอบกันด้วย
ลักษณะการหารายได้ของฟรีแลนซ์ที่มักจะสับสน ก็คือ ระหว่างเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 และ 8 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินประเภท “รับจ้างทำงานให้” ทั้งคู่ โดยประเด็นการพิจารณาว่าเงินได้ของตนเองจะอยู่ประเภทไหน สรุปในตารางนี้
เนื่องจากวิธีการคำนวณภาษีเงินได้ที่สรรพากรกำหนด คือ
เงินได้ (ต่อปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
การมีเงินได้ประเภท 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ทำให้เงินได้สุทธิต่ำกว่าการมีเงินได้ประเภท 40(2)
ฟรีแลนซ์มีเงินได้ 1 ล้านบาท
การจะเปลี่ยนประเภทเงินได้จาก 40(2) เป็น 40(8) ฟรีแลนซ์ต้องมีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ได้ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจและสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการ ตามข้อ 2.1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545 ดังนี้
“(ก) ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ
(ข) ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีอาคารสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง หรือเช่าจากบุคคลอื่น โดยมีหลักฐาน เช่น หลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าสำนักงาน และ
(ค) มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน และ
(ง) มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีหลักฐานตามสัญญาจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และหลักฐานการแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง ในกรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่มีภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่ง จะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการยื่นรายการเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานตามแบบ ภ.ง.ด.1 ก.
(จ) มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ เช่น ค่ารับรอง หรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ในการติดต่องานกับลูกค้า
นอกจากการเปลี่ยนประเภทเงินได้จาก 40(2) มาเป็น 40(8) อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ประหยัดภาษี ก็คือ การเพิ่มค่าลดหย่อน
“ค่าลดหย่อนภาษี” คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ประโยชน์ของค่าลดหย่อน คือ ทำให้เงินได้สุทธิลดน้อยลง (ตามสูตรวิธีการคำนวณภาษีเงินได้ของสรรพากร)
ด้วยการเพิ่มค่าลดหย่อน จะทำให้ฟรีแลนซ์สามารถประหยัดภาษีเงินได้ไม่น้อย อย่างเช่น หากอัตราภาษีเงินได้สูงสุดของฟรีแลนซ์ในปี 2567 นี้ อยู่ที่อัตรา 30% ฟรีแลนซ์สามารถประหยัดภาษีด้วยการเพิ่มค่าลดหย่อนง่ายๆ ดังนี้
การเป็นฟรีแลนซ์ เราสามารถใช้ศักยภาพของเราในการสร้างรายได้ได้อย่างไม่จำกัด แต่หากเราไม่ระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่าย เราก็อาจประสบปัญหาทางการเงินได้ ภาษีเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญตัวหนึ่ง หากเราบริหารภาษีได้ดีมากเท่าไร การเพิ่มความมั่งคั่งก็มีโอกาสเป็นจริงมากขึ้นเท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง